Quantcast
Channel: moddum –มติชนออนไลน์
Viewing all 1000 articles
Browse latest View live

รัฐพุทธมหายาน เก่าสุด อยู่ลุ่มน้ำมูล ในไทย ต้นแบบนครธม ในกัมพูชา

$
0
0

พระโพธิสัตว์สำริด (และประติมากรรมสำริดอีกจำนวนหนึ่ง) พบที่ปราสาทปลายบัด บนภูปลายบัด อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์

เนื่องเพราะดินแดนแถบนั้น นับถือพุทธศาสนามหายาน ตั้งแต่ยุคแรกรับพุทธศาสนาราวหลัง พ.ศ. 1000

บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูล เริ่มตั้งแต่ลำตะคอง (นครราชาสีมา) ถึงลำปลายมาศ (บุรีรัมย์) รวมพื้นที่แถบทิวเขาพนมดงรัก ได้แก่ ภูพนมรุ้ง, ภูอังคาร, ภูปลายบัด

ล้วนนับถือพุทธแบบผสมผสานระหว่างมหายานกับเถรวาท (หีนยาน) ในวัฒนธรรมทวารวดี แบบเดียวกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1000

ต่อไปข้างหน้า ราวหลัง พ.ศ. 1500 บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูลจะมีศูนย์กลางสำคัญ นับถือมหายานอยู่ที่เมืองพิมาย [เป็นต้นแบบให้พระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 สร้างปราสาทบายน ที่นครธม เนื่องในพุทธศาสนามหายาน]

ปราสาทพิมาย จะเป็นต้นแบบให้พระปรางค์ในรัฐละโว้, รัฐอโยธยา, และรัฐอยุธยา เช่น พระปรางค์วัดมหาธาตุ อยุธยา

พุทธมหายาน เมืองพิมาย เก่าสุดในลุ่มน้ำมูล

เมืองพิมาย มีปราสาทพิมายเป็นพุทธสถานฝ่ายมหายานเก่าแก่ที่สุดในอีสาน [เก่าแก่กว่ามหายานที่ปราสาทบายน เมืองนครธมในกัมพูชา และปรางค์สามยอดเมืองละโว้ (จ. ลพบุรี)]

หลักฐานทางโบราณคดีทั้งเทวรูปโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งพบที่บ้านโตนด (อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา) ก็ดี รวมทั้งปราสาทพิมายที่สร้างเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานก็ดี ล้วนแสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในบริเวณนี้ให้ความสำคัญกับพุทธศาสนามหายาน

บริเวณ นี้คือเขตแดนที่เรียกว่ามูลเทศะ มีเมืองสำคัญเรียกว่าภีมปุระ ซึ่งต่อมาก็คือ วิมายปุระ [หรือเมืองพิมาย] ตามหลักฐานจารึกโบราณในสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร

บริเวณ เมืองพิมายตามลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล (เช่น ลำห้วยแถลง, ลำนางรอง, และลำปลายมาศ) ไปจนถึงเขตเขาพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์ พบชุมชนโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบหลายแห่งเป็นระยะๆ ไป บางแห่งมีพัฒนาการมาตั้งแต่ราว พ.ศ. 1-500 แล้วเติบโตเป็นบ้านเมืองในสมัยทวารวดี ราวหลัง พ.ศ. 1000 เช่น บ้านเมืองฝ้าย, บ้านผไทรินทร์, บ้านกงรถ เป็นต้น

ชุมชนโบราณ เหล่านี้มักพบศาสนสถาน, พระพุทธรูป, พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ในพุทธศาสนามหายาน ในสมัยทวารวดีมีทั้งหินและสำริด ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบ้านเมืองจากเขตพิมายไปถึงเขต พนมรุ้ง อันเป็นเส้นทางโบราณที่จะผ่านช่องเขาในทิวเขาพนมดงรัก ลงสู่เมืองพระนครบริเวณที่ราบต่ำในกัมพูชา

(ซ้าย) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด ที่ The Metropolitan Museum of Art นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (กลาง) ป้ายจัดแสดงระบุชัดเจนว่ามาจากปราสาทเขาปลายบัด จ. บุรีรัมย์ (ถ่ายโดย ดร. รังสิมา กุลพัฒน์ นักวิจัยประจำแคโรไลนา เอเชีย เซ็นเตอร์ มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา) (ขวา) เศียรพระโพธิสัตว์ หล่อด้วยสำริด (สัญลักษณ์ที่ผมหายไป) เกล้าผมทรงชฎามงกุฎ มีพระมัสสุ (หนวด) อายุราว พ.ศ. 1200 ฝีมือช่างเขมรแบบไพรกเม็ง (จัดอยู่ในกลุ่ม "ประติมากรรมแบบประโคนชัย") พบที่บ้านโตนด อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา (จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)
(ซ้าย) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด ที่ The Metropolitan Museum of Art นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (กลาง) ป้ายจัดแสดงระบุชัดเจนว่ามาจากปราสาทเขาปลายบัด จ. บุรีรัมย์ (ถ่ายโดย ดร. รังสิมา กุลพัฒน์ นักวิจัยประจำแคโรไลนา เอเชีย เซ็นเตอร์ มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา) (ขวา) เศียรพระโพธิสัตว์ หล่อด้วยสำริด (สัญลักษณ์ที่ผมหายไป) เกล้าผมทรงชฎามงกุฎ มีพระมัสสุ (หนวด) อายุราว พ.ศ. 1200 ฝีมือช่างเขมรแบบไพรกเม็ง (จัดอยู่ในกลุ่ม “ประติมากรรมแบบประโคนชัย”) พบที่บ้านโตนด อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา (จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

เขตภูเขาไฟบุรีรัมย์

จ. บุรีรัมย์ ตามทิวเขาพนมดงรัก บริเวณเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน มีภูเขาไฟลูกเล็กๆ ที่ดับแล้วหลายแห่ง ได้แก่ ภูพนมรุ้ง, ภูปลายบัด, ภูอังคาร ฯลฯ
บนยอดภูมีร่องรอยของศาสนสถานที่เป็นปราสาทขอมแทบทุกแห่ง ยกเว้นที่ ภูอังคารเป็นศาสนสถานมีเสมาหินสลักภาพเทวรูปปักรอบ เสมาหินทำขึ้นเนื่องในระบบความเชื่อที่มีมาก่อนการสร้างปราสาทบนภูพนมรุ้ง

ส่วนบนภูปลายบัดแม้จะมีปราสาทขอม แต่มีกรุบรรจุพระพุทธรูปกับเทวรูปสำริด ในคติมหายานแบบที่พบที่บ้านเมืองฝ้ายกับที่บ้านโตนดเป็นจำนวนมาก แต่มีผู้ลักลอบขนไปขายให้ชาวต่างประเทศเกือบหมด มีรอดพ้นและตามคืนได้แล้วรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจำนวนไม่มากนัก

บรรดาพระพุทธรูปและเทวรูปเหล่านี้ก็คือรูปเคารพของผู้คนในบ้านเมืองตั้งแต่เขตพิมายเรื่อยไปจนถึงเขตพนมรุ้ง ก่อนนับถือศาสนาฮินดูแบบเมืองพระนคร

ปราสาทปลายบัด 2 ยังมีร่องรอยหลุมขนาดใหญ่จากการลักลอบขุดเมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมา
ปราสาทปลายบัด 2 ยังมีร่องรอยหลุมขนาดใหญ่จากการลักลอบขุดเมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมา

พิมาย ลุ่มน้ำมูล แหล่งเดิมบรรพชน “ขอม”

หลัง พ.ศ. 1500 วัฒนธรรมขอม (เขมร) จากโตนเลสาบ กัมพูชา แผ่ถึงแอ่งโคราช เข้าสู่อีสานและโขง-ชี-มูล

ขณะเดียวกัน การค้าโลกขยายกว้างขึ้น เพราะจีนค้นพบเทคโนโลยนีก้าวหน้าทางการเดินเรือทะเลสมุทร ส่งผลให้บริเวณสองฝั่งโขง-ชี-มูล ที่มีทรัพยากรมั่งคั่งต่างเติบโตมีบ้านเมืองแพร่กระจายเต็มไปหมด

รวมถึงเมืองพิมาย ซึ่งตั้งอยู่ขอบทุ่งกุลาร้องไห้ แล้วมั่งคั่งขึ้นจากการค้าเกลือและเหล็ก

ต้นวงศ์กษัตริย์กัมพูชาอยู่ลุ่มน้ำมูล เพราะบริเวณต้นน้ำมูลตั้งแต่เขตปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง เป็นถิ่นเดิมหรือถิ่นบรรพชนเกี่ยวดองเป็น “เครือญาติ” ของกษัตริย์กัมพูชาที่สถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้นบริเวณโตนเลสาบ

ทำให้กษัตริย์อาณาจักรกัมพูชาขึ้นมาก่อสร้างปราสาทสำคัญๆ ไว้ในอีสานจำนวนมาก แต่ที่รับรู้ไปทั่วโลก คือปราสาทพระวิหารในกัมพูชา หันหน้าทางอีสาน และมีบันไดทางขึ้นลงยื่นยาวเข้ามาในไทยทาง จ. ศรีสะเกษ

รัฐเอกเทศในอีสาน

อีสานยุคดั้งเดิม ไม่ได้มีการเมืองการปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเป็นอาณาจักรเดียวกัน

แต่มีลักษณะเป็นรัฐเอกเทศหลายรัฐที่เกี่ยวดองเป็นเครือญาติ ซึ่งวิชาการสมัยใหม่เรียก มัณฑละ ดังนี้

1. บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูล มีมัณฑละศรีจนาศะ ตั้งแต่นครราชสีมาถึงบุรีรัมย์ นับถือพุทธมหายาน

[เกี่ยวกับมัณฑละศรีจนาศะ มีคำอธิบายอย่างละเอียดอยู่ในวารสารเมืองโบราณ (ปีที่ 42 ฉบับที่ 1) มกราคม-มีนาคม 2559]

2. บริเวณตอนปลายแม่น้ำมูล หรือจุดรวมโขง-ชี-มูล มีรัฐเจนละ ตั้งแต่อุบลราชธานีและปริมณฑล ได้แก่ สุรินทร์, ศรีสะเกษ, ยโสธร ฯลฯ

3. บริเวณลุ่มน้ำชี ตั้งแต่ชัยภูมิ, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์ ฯลฯ นับถือพุทธเถรวาท

4. บริเวณสองฝั่งโขงอีสานเหนือ มีรัฐศรีโคตรบูร มีเวียงจันเป็นศูนย์กลาง นับถือพุทธเถรวาท

The post รัฐพุทธมหายาน เก่าสุด อยู่ลุ่มน้ำมูล ในไทย ต้นแบบนครธม ในกัมพูชา appeared first on มติชนออนไลน์.


สุจิตต์ วงษ์เทศ : ลุ่มน้ำมูล แหล่งเดิมบรรพชนขอมกัมพูชา

$
0
0

ขอม ไม่ใช่ชื่อชนชาติเฉพาะ ฉะนั้นชนชาติขอมจึงไม่มีจริง แต่คนส่วนมากถูกครอบงำให้เชื่อว่ามีชนชาติขอมจริงๆ

ขอมเป็นชื่อทางวัฒนธรรม ใช้สมมุติเรียกคนบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธคติมหายาน แล้วใช้ภาษาเขมรสื่อสารในชีวิตประจำวัน กับใช้อักษรเขมรทางพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เรียกอักษรขอม

[เช่นเดียวกับคำว่า แขก ใช้สมมุติเรียกผู้นับถือศาสนาอิสลาม และคำว่า คริสเตียน, คริสตัง ใช้สมมุติเรียกผู้นับถือศาสนาคริสต์]

ศูนย์กลางขอมเก่าสุดน่าจะอยู่ที่รัฐละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาขยายลงไปอยู่ที่อโยธยาศรีรามเทพ (ต่อไปคือกรุงศรีอยุธยา) แล้วขยายไปอยู่กัมพูชา และอาจขึ้นถึงที่ราบสูงลุ่มน้ำมูล หรือไกลกว่านั้น

ด้วยเหตุนี้ใครก็ตามไม่ว่ามอญ เขมร มลายู ลาว จีน จาม หรือ ไทย ฯลฯ จะได้ชื่อว่าขอมทั้งนั้น ถ้านับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธคติมหายาน อยู่ในสังกัดรัฐละโว้-อโยธยา และรัฐกัมพูชา

แต่คนทั่วไปมักเข้าใจต่างกันเป็น 2 อย่างว่า “ขอมไม่ใช่เขมร” และ “ขอมคือเขมร” ขณะที่ชาวเขมรไม่เคยเรียกตัวเองว่าขอม จึงไม่รู้จักขอม ถ้ารู้ก็รู้จากไทยในสมัยหลังๆ

พิมาย ลุ่มน้ำมูล นับเป็นแหล่งเดิมบรรพชนขอมกัมพูชา

ต้นวงศ์กษัตริย์กัมพูชาอยู่ลุ่มน้ำมูล เพราะบริเวณต้นน้ำมูลตั้งแต่เขตปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง เป็นถิ่นเดิมหรือถิ่นบรรพชนเกี่ยวดองเป็นเครือญาติของกษัตริย์กัมพูชาที่สถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้นบริเวณโตนเลสาบ

ไม่ว่าขอมจะเป็นใครในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงยุคอยุธยาที่พระเจ้าแผ่นดินตรัสภาษาไทย ขอมเหล่านั้นก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นไทยตามอำนาจรัฐใหม่

ความรู้เหล่านี้ได้จากการศึกษางานวิจัยของจิตร ภูมิศักดิ์ และ อ. ศรีศักร วัลลิโภดม เพราะผมไม่เคยคิดอะไรได้เอง มีแต่สั่งสมจากนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ จนถึงนักวิชาการรุ่นปัจจุบัน

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : ลุ่มน้ำมูล แหล่งเดิมบรรพชนขอมกัมพูชา appeared first on มติชนออนไลน์.

มหกรรม ‘เพชรบุรี..ดีจัง’สื่อ-สร้าง-สาน เปิดพื้นที่เยาวชนต้นแบบ

$
0
0

ถึงวันนี้เล็กไม่ได้แล้วสำหรับงาน “เพชรบุรี..ดีจัง” ที่มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2554 ห้วงปีแรกหวังแค่ให้ “เพชรบุรี..ดีจัง” เป็นงานปลุกชุมชนสองริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีและบริเวณโดยรอบในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีให้ตื่นรู้ในแง่มุมรักษ์ถิ่นกำเนิด การอนุรักษ์ และเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่น

ปีต่อมาขยายวงออกไปเชิญชวนเยาวชนในพื้นที่สร้างสรรค์ทั้ง 8 อำเภอใน จ.เพชรบุรี รวมกว่า 20 กลุ่มให้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายและดำเนินกิจกรรมในแนวทาง “เพชรบุรี…ดีจัง” อย่างเป็นรูปธรรม

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายเยาวชนของจังหวัดต่างๆ ที่มีรูปแบบงานแนวทางเดียวกันนำกิจกรรมมาร่วมงาน “เพชรบุรี..ดีจัง” ในลักษณะเหย้า-เยือน

ผู้ใหญ่ใจดีที่ให้การสนับสนุนด้านทุนดำเนินงานคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพชรบุรี นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.), สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี, เทศบาลเมืองเพชรบุรี, สถาบันอาศรมศิลป์, วัดใหญ่สุวรรณาราม และสถานีตำรวจภูธรเมืองเพชรบุรี ด้วยดีเสมอมา

งาน “เพชรบุรี..ดีจัง” ในแต่ละปีมีชื่องานต่อท้ายเปลี่ยนกันไป เพื่อให้มีความหมายและสอดคล้องกับรูปแบบงาน

เพชรบุรี02

งานปีนี้ชื่อ “เพชรบุรี..ดีจัง ฯลฯ” ที่ต้องมีเครื่องหมาย “ไปยาลใหญ่” ต่อท้าย เนื่องจากกิจกรรมขยายตัวมากขึ้น หลากหลายขึ้น การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชนแตกแขนงไปจากเดิมมากมาย

งานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ “เพชรบุรี..ดีจัง! Forum” วันที่ 18 มีนาคม ทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดเย็นที่วัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นการชุมนุมพบปะของศิลปิน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ประวัติศาสตร์และงานศิลปะ โดยนายเอนก นาวิกมูล นักค้นคว้าข้อมูลประวัติศาสตร์และคณะ

มีนิทรรศการผลงานของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ใช้เมืองเพชรบุรีเป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ถ่ายทอดออกมาเป็นหุ่นจำลอง ภาพถ่าย ภาพเขียน เวอร์นาด็อก หนังสือ และผลงานรูปแบบอื่นๆ นิทรรศการชุด “พิศเมืองเพชร” ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดซุ้มกิจกรรมเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้เยาวชนและพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ร่วมงานได้มีกิจกรรมร่วมกัน ช่วงค่ำมีเวทีการแสดง อาทิ หุ่นเงาละครชุมชน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วงดนตรีทีเค แบนด์ นำโดย พี่จุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง การแสดงหนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี

สำหรับวันที่ 19-20 มีนาคม กิจกรรมมีขึ้นที่ใจกลางเมืองเพชรบุรี โดยใช้ชุมชนสองฝั่งแม่น้ำเพชร เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ในพื้นที่ ต.ท่าราบ และ ต.คลองกระแชง เป็นที่จัดงาน

ฝั่งท่าราบตลอดแนวริมน้ำย่านตรอกบ้านนารายณ์ไปจนจรดตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีกลิ่นอายชุมชนชาวจีนเก่า นำเสนอวิถีชีวิตชุมชนชาวจีน นิทรรศการภาพถ่ายเก่าเมืองเพชร สินค้า อาหาร และขนมโบราณย้อนยุค

ส่วนฝั่งคลองกระแชง ตลอดแนวถนนคลองกระแชงริมแม่น้ำและสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย มีกิจกรรมลานศิลปะ พื้นที่อ่านยกกำลังสุข กิจกรรมเท่าทันสื่อ ฯลฯ เชื่อมงานไปถึงบริเวณถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดมีกิจกรรม “เทศบาลปันยิ้ม อิ่มเอม ทั้งเมือง” โดยเทศบาลเมืองเพชรบุรี ในจวนผู้ว่าฯเปิด “เรือนกฤษณา” ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้เป็นสถานที่ประทับ เปลี่ยนพระอิริยาบถเมื่อคราวเสด็จฯเยือน จ.เพชรบุรี ในเรือนมีของเก่าทรงคุณค่ามากมาย ให้ผู้สนใจเข้าไปเที่ยวชม

เพชรบุรี03

นอกจากสองฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีแล้ว ตลอดแนวถนนดำเนินเกษม ฝั่งคลองกระแชง ตั้งแต่ลานน้ำพุข้างศาลากลางจังหวัดเพชรบุรีไปจนถึงหน้าวัดมหาธาตุวรวิหาร มีกิจกรรมน่าดูน่าชมตลอดแนวถนน อาทิ กิจกรรมชวนลูกทำของเล่น โดยเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 องค์กรท้องถิ่นใน จ.เพชรบุรี, กลุ่มกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กจากรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย, ศิลปหัตถกรรมจากเครือข่ายเยาวชนเพชรบุรี..ดีจัง จาก 8 อำเภอใน จ.เพชรบุรี ฯลฯ

กลางสี่แยกเพ็ชรนคร ถ.ดำเนินเกษม ตัด ถ.ชีสระอินทร์ และบนสะพานจอมเกล้า และลานสุนทรภู่ มีการแสดงของกลุ่มเยาวชนทั้งเวทีใหญ่และเวทีย่อย อาทิ หุ่นละครเล็ก โขน ของกลุ่มโรงโขนเพชรบุรี, ละครชาตรี ของกลุ่มละครชาตรีบ้านครูแอ๋ว, หนังตะลุง ของกลุ่มรากไทย, โขนรามเกียรติ์ ของกลุ่มโขนเด็กบ้านแหลม, ละครหุ่นคน ของกลุ่มละครหุ่นคนคณะแม่เพทาย, กลองยาวกะเหรี่ยง ของกลุ่มโผล่งเพชรตะนาวศรี, การแสดงวัฒนธรรมไทยทรงดำ ของกลุ่มรักษ์หนองปรงและกลุ่มรักษ์วัฒนธรรมบ้านเขากระจิว, ลิเกฮูลู ของกลุ่มจันทร์เสี้ยว ฯลฯ

นายจำลอง บัวสุวรรณ์ ผู้ประสานงานกิจกรรมเพชรบุรี..ดีจัง กล่าวว่า ตลอด 5 ปีของการจัดกิจกรรมได้เน้นย้ำให้เครือข่ายเยาวชนเป็นผู้วางแผนรูปแบบงาน ตนและคณะแค่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา กระทั่งวันนี้เยาวชนแต่ละกลุ่มเติบโตเป็นกำลังกล้าแข็ง สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมได้เอง คณะทำงานสามารถแยกกิจกรรมเยาวชนออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มต้นแบบ กับกลุ่มขยายผล โดยกลุ่มต้นแบบเริ่มตั้งแต่ปี 2554 ส่วนกลุ่มขยายผลนับเนื่องจากปี 2555 เป็นต้นมา

“เราสามารถขยายพื้นที่การเรียนรู้จากบ้านบ้านเดียว เป็นการเรียนรู้ไปทั้งชุมชน สังเกตได้ว่าชาวบ้านตื่นตัวมาร่วมกิจกรรมกับเด็กมากขึ้น มีผู้มาเที่ยวชมงานมากขึ้น งบประมาณในการจัดงานยังคงได้รับการสนับสนุนจาก สสส. และ อบจ.เพชรบุรี เป็น 2 องค์กรหลักที่ไว้วางใจและคอยช่วยสนับสนุนกิจกรรมเราด้วยดีตลอดมา เชื่อว่าเด็กเครือข่ายนี้จะเป็นสื่อ สร้าง สาน ให้แก่เยาวชนรุ่นต่อไปและเป็นแม่แบบสำคัญให้แก่เยาวชนในพื้นที่อื่นที่สนใจด้วย” นายจำลองกล่าว

ด้านนายสนิท ขาวสอาด ผู้ว่าฯเพชรบุรี ประธานเปิดงานเมื่อตอนเย็นวันที่ 19 มีนาคม ณ เวทีบนพื้นที่กลางสะพานจอมเกล้า กล่าวถึงงานนี้ว่า งานนี้เป็นงานเรียนรู้ของนักเรียนนอกโรงเรียน 3 วันของการจัดงานถือว่าเป็นห้วงเวลาที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของเยาวชนและผู้ปกครองเด็กที่มีโอกาสทำกิจกรรมดีๆ ร่วมกัน เครือข่ายเพชรบุรี..ดีจัง สามารถสานต่อกิจกรรมได้ต่อเนื่องกันถึง 5 ครั้ง และประสบความสำเร็จทุกปี ตนเป็นคนเพชรบุรีรู้สึกภาคภูมิใจกับกิจกรรมดีๆ ที่เกิดขึ้นในแผ่นดินเมืองเพชร

รศ.จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 5 ของ สสส. กล่าวว่า ติดตามงานนี้มาตั้งแต่ปี 2554 ปีนี้ก็มาเดินชมกิจกรรมทุกเส้นทางตลอดสองฝั่งแม่น้ำเพชร เห็นว่าวิถีชีวิตชุมชนและงานศิลปกรรมของที่นี่มีความเป็นเอกลักษณ์ แม้แต่ในแม่น้ำเพชรก็มีของดีอยู่จำนวนมาก เช่น ถ้วยโถโอชาม วัสดุโบราณอันมีคุณค่า ถูกงมนำขึ้นมาให้ชม ทั้งยังพบว่าวัด ชุมชน กลุ่มช่างเมืองเพชร สถาบันการศึกษา ให้ความร่วมมือกับงานนี้เป็นอย่างดี ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับทุกเครือข่ายเยาวชนของที่นี่ เขามีความภาคภูมิใจในวิถีของแผ่นดินบ้านเกิดที่พรั่งพร้อมด้วยของดีมากมาย จุดนี้เองทำให้ สสส.เกิดแรงบันดาลใจที่จะให้การสนับสนุนกิจกรรมของพวกเขาเพื่อจะได้พัฒนางานต่อไป

รูปแบบงานที่นี่สามารถเป็นโมเดลให้แก่กลุ่มเยาวชนในจังหวัดอื่นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ด้วย

“กิจกรรมเพชรบุรี..ดีจัง ในห้วงที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าความสุขเริ่มต้นได้จากคนในชุมชนนั่นเอง สสส.มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้ามาสนับสนุน เยาวชนที่นี่ขยันมาก มีความสามัคคีร่วมกันผลักดันสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นด้วยความคิดของพวกเขาเอง ผมมาทุกปี กิจกรรมปีนี้บอกได้เลยว่าผมประทับใจมาก” รศ.จุมพลกล่าว

“เพชรบุรี…ดีจัง” จะยังคงก้าวต่อไป โดยเยาวชน ของเยาวชน และเพื่อเยาวชน ในจังหวัดเพชรบุรี และเป็น “สื่อ สร้าง สาน” ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปยังจังหวัดอื่นอย่างไม่รู้จบ

The post มหกรรม ‘เพชรบุรี..ดีจัง’ สื่อ-สร้าง-สาน เปิดพื้นที่เยาวชนต้นแบบ appeared first on มติชนออนไลน์.

รู้อดีต รู้อนาคต

$
0
0

วันนี้สิ้นเดือนสาม พรุ่งนี้วันที่ 1 เมษายน อดีตก่อนพุทธศักราช 2484 หรือพุทธศักราช 2483 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยกเลิกวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช 2483 ซึ่งคือพุทธศักราช 2484

เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ของพุทธศักราช 2483 จึงไม่มี เป็นเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม พุทธศักราช 2484 แทน

อาจเป็นเรื่องยุ่งยากของผู้ที่เกิดในสามเดือนนั้น เพราะไม่มีพุทธศักราช 2483 ให้นับอายุในปีนั้น จึงต้องนับวันเกิดในเดือนเกิดนั้นให้ครบ 12 เดือนแทน

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติย่างเข้าวันที่สาม อย่าลืม “ประวัติศาสตร์ คืออนาคต” ของสำนักพิมพ์มติชน มีหนังสือที่บ่งชี้ว่าประวัติศาสตร์คืออนาคตอีกหลายเล่ม จัดพิมพ์ล่วงหน้าก่อนจะถึงสัปดาห์หนังสือปีนี้

จากอดีตที่กลายเป็นประวัติศาสตร์สำคัญบ่งชี้เหตุการณ์ปัจจุบัน เช่นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากวันนั้นถึงวันนี้ คือเหตุการณ์รัฐประหารอันนับเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมือง

รัฐประหาร พ.ศ.2490 จุดกำเนิดอำนาจนิยมของกองทัพ

สุชิน ตันติกุล เขียน ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คำนำเสนอ

รัฐประหาร พ.ศ.2490 นำโดย จอมพลผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการ มีกองทัพบกเป็นกำลังหลัก ทำให้คณะราษฎรหมดบทบาทในทางการเมืองตั้งแต่นั้นมา

หนังสือเล่มนี้เป็นการวิเคราะห์ที่มาที่ไปของการปฏิวัติครั้งนั้น ราคา 190 บาท

อีกเล่ม นัยว่าเพื่อแสดงเรื่องการนำของภาคลายพราง คือ  เสนาธิปไตย รัฐประหารกับการเมืองไทย

ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ผู้จับงานทหารมาตั้งแต่เริ่มเขียนเชิง “ยุทธบทความ” นานนับสิบปี บทความเล่มนี้บ่งบอกว่า เมื่อรั้วของชาติประกาศคืนความสุข ประเทศไทยถูกย้อมด้วยลายพรางอีกครั้ง ย่อมไม่ใช่สิ่งเลวร้าย (แต่) ไม่ใช่สิ่งดีงาม กลับเดิมพันด้วยค่าใช้จ่ายทางการเมือง และมูลค่าความชอบธรรม

ทำไมนักเขียนผู้จับตาวงการสีเขียวลายพรางมานานนับจึงว่าอย่างนั้น หยิบหนังสือสองเล่มนี้มาอ่าน จะได้รับคำตอบ (เล่มนี้ราคา 220 บาท)

หนังสือสองเล่ม เล่มหนึ่ง บันทึกประเทศไทย ปี 2558 นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบด้วยระเบียบของการบันทึกตามแบบฉบับการปฏิบัติหน้าที่หนังสือพิมพ์ ในรอบวันมีเหตุอะไรเกิดขึ้น บันทึกตั้งแต่เกิดเหตุกระทั่งจบเหตุ ว่าไปตามลำดับ อ่านง่าย ติดตามเหตุการณ์ตั้งแต้ต้นจนจบ หรือจนกว่าจะเหตุนั้นบรรเทาเบาบางลง

บันทึกประเทศไทย ปี 2558 เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องติดตามเหตุการณ์เพื่อนำไปวิเคราะห์เจาะลึกจากเหตุที่เกิดขึ้นนำไปสู่อนาคต ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และแวดวงเทคโนโลยีก้าวหน้า ราคา 400 บาท

อีกเล่มหนึ่ง ศาสตร์แห่งโหร 2559 หนังสือบ่งบอกอนาคตผ่านสายตาและการวิเคราะห์จากดวงดาวซึ่งบอกอนาคต การงาน การเงิน ความรัก สุขภาพ รับประกันคุณภาพสู่ปีที่ 35 ราคา 200 บาท

โหราจารย์ที่สำนักพิมพ์มติชนนำมาให้ทำนายทายทักอนาคต ล้วนแล้วแต่ผ่านการเคี่ยวกรำเหตุการณ์จากอดีตถึงปัจจุบัน จากการตรวจดูความเคลื่อนไหวของดวงดาวทั้งบนท้องฟ้าและบนจักรราศี มีอาทิ

โสรัจจะ นวลอยู่ หมอทรัพย์ สวนพลู พัฒนา พัฒนศิริ ศ. ดุสิต บุศรินทร์ ปัทมาคม ฟองสนาน จามรจันทร์ ธณัทอร กุลานุพงศ์ หมอขวัญ แม่นเว่อร์ และ อ.แป๊ะ-สรกฤช วัชรบูลย์ พงศ์ศุภนิมิต ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์กบฏฮวงจุ้ยแห่งประเทศไทย

อยากทราบว่าเมื่อ 365 วันที่ผ่านมาในปี 2558 เป็นอย่างไร มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น อ่าน บันทึกประเทศไทย ปี 2558 อยากรู้อนาคต 366 วันในปี 2559 อ่าน ศาสตร์แห่งโหร 2559 รู้อดีตรู้อนาคต

The post รู้อดีต รู้อนาคต appeared first on มติชนออนไลน์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ : พิมาย กับ พนมรุ้ง ลุ่มน้ำมูล แหล่งเดิมบรรพชน “ขอม”

$
0
0

หลัง พ.ศ. 1500 วัฒนธรรมขอม (เขมร) จากโตนเลสาบ กัมพูชา แผ่ถึงแอ่งโคราช เข้าสู่อีสานและโขง-ชี-มูล

ขณะเดียวกัน การค้าโลกขยายกว้างขึ้น เพราะจีนค้นพบเทคโนโลยนีก้าวหน้าทางการเดินเรือทะเลสมุทร ส่งผลให้บริเวณสองฝั่งโขง-ชี-มูล ที่มีทรัพยากรมั่งคั่ง ต่างเติบโตมีบ้านเมืองแพร่กระจายเต็มไปหมด
รวมถึงเมืองพิมายกับเมืองพนมรุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทุ่งกุลาร้องไห้ แล้วมั่งคั่งขึ้นจากการค้าเกลือและเหล็ก ก็เติบโตกว่าเดิม

ต้นวงศ์กษัตริย์กัมพูชาอยู่ลุ่มน้ำมูล เพราะบริเวณต้นน้ำมูลตั้งแต่เขตปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง เป็นถิ่นเดิมหรือถิ่นบรรพชนเกี่ยวดองเป็น “เครือญาติ” ของกษัตริย์กัมพูชาที่สถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้นบริเวณโตนเลสาบ (ทะเลสาบ) เช่น พระเจ้าสุริยวรรมันที่ 2 สร้างปราสาทนครวัด และพระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 สร้างปราสาทนครธม

ทำให้กษัตริย์อาณาจักรกัมพูชาแผ่ขยายขึ้นไปก่อสร้างปราสาทสำคัญๆ ไว้ในอีสานจำนวนมาก แต่ที่รับรู้ไปทั่วโลก คือปราสาทพระวิหารในกัมพูชา หันหน้าทางอีสาน และมีบันไดทางขึ้นลงยื่นยาวเข้ามาในไทยทาง จ. ศรีสะเกษ

พิมายกับพนมรุ้ง เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับเจ้านายรัฐสุโขทัยและรัฐอยุธยา ต่อมาทั้งสองเมืองยอมอ่อนน้อมต่อพระบรมราชาธิราชที่ 3 แห่งรัฐอยุธยา

ปราสาทพนมรุ้ง  จ. บุรีรัมย์
ปราสาทพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : พิมาย กับ พนมรุ้ง ลุ่มน้ำมูล แหล่งเดิมบรรพชน “ขอม” appeared first on มติชนออนไลน์.

สุดตระการตา ‘เหลืองอินเดีย’ สะพรั่ง ‘แม่ฟ้าหลวง’ คนแห่ชมคึกคัก

$
0
0

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม เฟซบุ๊ก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง MFU จังหวัดเชียงราย ได้เผยแพร่ภาพไม้ดอกบานสะพรั่งริมถนนคดโค้งภายในมหาวิทยาลัย โดยระบุว่าเป็นดอกเหลืองอินเดีย ซึ่งจะเบ่งบานให้เชยชมอยู่เพียง 3-4 วันเท่านั้น หลังจากนั้นจะร่วงโรยจนหมด ทำให้มีผู้เดินทางไปบันทึกความสดใสในห้วงเวลานี้อย่างมากมาย ทำเอาบรรยากาศบนถนนสายดังกล่าวของมหาวิทยาลัยสุดคึกคัก โดยมีผู้ระบุว่า ในปีนี้ดอกเหลืองอินเดียบานช้ากว่าปีที่แล้วเกือบ 1 เดือนเต็ม แต่นับว่าคุ้มค่ากับการรอคอย

ทั้งนี้ ได้มีการแจ้งเตือนผู้ที่จะแวะเวียนไปถ่ายภาพว่า ไม่ควรยืนกลางถนน เพราะกีดขวางเส้นทางสัญจร และจะเป็นอันตรายต่อตัวท่านเอง นอกจากนี้ อย่าเด็ดดอกไม้หรือเขย่าลำต้นให้ดอกร่วงหล่นเป็นฉากสวยๆ เพราะควรเก็บไว้ให้คนอื่นได้ชื่นชมบ้าง โดยคาดว่าดอกจะร่วงภายในวันเสาร์ที่ 2 เมษายนนี้

ข้อมูลจาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ระบุว่า ต้นเหลืองอินเดีย เป็นไม้ผลัดใบ สูง 5-20 เมตร ลำต้น เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบรูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบมน ใบอ่อนมีขนนุ่ม ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ ช่อละ 3-10 ดอก กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีน้ำตาลมีขน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปแตร ปลายแยก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 โคนก้านมีขน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน
มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกตอนเหนือ ถึงเวเนซูเอล่า ขยายพันธุ์ด้วยการตอน

และต่อไปนี้ คือภาพชุดสุดตระการตาที่แวะเวียนมาแจกความสดใสเพียงปีละครั้งเท่านั้น

 

 

เหลืองอินเดีย

เหลืองอินเดีย

เหลืองอินเดีย

เหลืองอินเดีย

เหลืองอินเดีย

เหลืองอินเดีย

เหลิองอินเดีย

เหลืองอินเดีย

 

ขอขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง MFU

The post สุดตระการตา ‘เหลืองอินเดีย’ สะพรั่ง ‘แม่ฟ้าหลวง’ คนแห่ชมคึกคัก appeared first on มติชนออนไลน์.

ฟ็อกกี้จ๋า พี่มาก่อน! ปืนฉีดน้ำรูปนกสุดเก๋ พร้อมกระบอกไม่ไผ่ ในสงกรานต์พม่า128 ปีมาแล้ว

$
0
0

สงกรานต์ปีนี้ ภาครัฐแนะให้ใช้ “ฟ็อกกี้” ในการเล่นสงกรานต์ แทนขัน สายยาง และถังน้ำบนรถกระบะ เพื่อประหยัดทรัพยากรน้ำในห้วงเวลาแห่งความแห้งแล้ง

“มติชน” จึงขอหยิบยกภาพเก่าของอุปกรณ์ประกอบประเพณีสงกรานต์ ที่ไม่ได้มีแต่ในสยามประเทศ หากแต่เป็นวัฒนธรรมร่วมในแดนอุษาคเนย์ ไม่ว่าจะเป็น ลาว กัมพูชา พม่า และอื่นๆอีกหลายแห่ง
ด้วยเหตุนี้ จึงมีการบันทึกถึงเรื่องราวของประเพณีดังกล่าวที่มีมานานนมเน

หนึ่งในนั้น คือ สงกรานต์ในพม่า ผู้เคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีผู้วาดภาพเทศกาลสงกรานต์ในกรุงมัณฑะเลย์ ตีพิมพ์ ในหน้า 13 ของ หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของอังกฤษ ชื่อว่า THE GRAPHIC ฉบับวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1888 หน้า 13 เมื่อ ค.ศ.1888 หรือ พ.ศ. 2431 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย

มีขนาด 14 X 10 นิ้ว แสดงภาพชาวต่างชาติขี่ม้า สันนิษฐานว่าเป็นทหารอังกฤษ ทำท่าปัดป้องสายน้ำจาก “กระบอกฉีด” ของเด็กและสตรีสวมชุดพื้นเมือง

สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือมติชน เห็นภาพนี้แล้วบอกว่า “ท่าทางฝรั่งขี่ม้าไม่สนุก แต่ผู้หญิงและเด็กสนุกมาก (ฮา)”

แล้วยังวิเคราะห์ต่อไปว่า กระบอกฉีดน้ำที่เห็นในรูปลายเส้นมี 2 แบบ

แบบหนึ่งเป็นกระบอกไผ่ทั่วไป

อีกแบบหนึ่งเป็นกระบอกน้ำเต้าสลักเป็นรูปนกหรือไก่

กระบอกไผ่ฉีดน้ำสงกรานต์มีลูกสูบดูดน้ำเข้ากระบอก (ใช้วิธีเดียวกับหลอดเข็มฉีดยา) แล้วอัดฉีดน้ำพุ่งไปที่เป้าหมาย จากนั้น รำลึกถึงวัยเยาว์ครั้งยังเป็นเด็กชายสุจิตต์ วิ่งเล่นอยู่ที่หมู่บ้านลาวพวน ในจังหวัดปราจีนบุรี

“พ่อ เป็นลาวพวน เคยทำกระบอกฉีดน้ำอย่างนี้ ให้เล่นสงกรานต์ในดงศรีมหาโพธิ์ อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี แล้วเชื่อมาตลอดว่าเป็นงานประดิษฐ์ของคนดงคนดอนบ้านนอกคอกนาเท่านั้น คนที่อื่นเจริญกว่าเขาไม่เล่นอย่างนี้หรอก เพิ่งรู้เมื่อเห็นรูปนี้ ว่ากระบอกฉีดน้ำจากไม้ไผ่แท้จริงเป็นงานสร้างสรรค์ร่วมกันของคนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์นับร้อยๆปีมาแล้ว” สุจิตต์กล่าว พร้อมตบท้ายว่า ภาพนี้ ยังทำให้คิดถึงคำอธิบายของครูบาอาจารย์ที่ว่า พฤติกรรมสาดน้ำอย่างก้าวร้าวรุนแรงเริ่มก่อนจากพม่า เพื่อแสดงออกทางการเมืองต่อต้านอังกฤษเจ้าอาณานิคม
“ไม่มั่นใจว่าความเข้าใจอย่างนี้จะเป็นไปได้ แต่คิดอย่างอื่นก็คิดไม่ออก จึงเอามาบอกเล่าสู่กัน” สุจิตต์กล่าว

สำหรับ นสพ. THE GRAPHIC ออกทุกวันเสาร์ พิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1869 (พ.ศ. 2412 ตรงกับสมัยต้น รัชกาลที่ 5) พิมพ์ต่อเนื่องมาจนปี 1932 (พ.ศ. 2475) รวม 3,266 ฉบับ ก่อตั้งโดย William Luson Thomas ศิลปินที่ประสบความสำเร็จในด้านภาพพิมพ์ (ที่มาภาพ : www.old-print.com)

The post ฟ็อกกี้จ๋า พี่มาก่อน! ปืนฉีดน้ำรูปนกสุดเก๋ พร้อมกระบอกไม่ไผ่ ในสงกรานต์พม่า128 ปีมาแล้ว appeared first on มติชนออนไลน์.

หาดูยาก ! สมุดข่อย ‘ขายทาส’ พร้อมภาพชุด ‘ทาสสยาม’

$
0
0

1 เมษายน พ.ศ.2448 หรือวันนี้เมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ออก “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ส่วนทาสสยามประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันไม่ให้คนที่เป็นไทแล้วกลับมาเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ก็ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว
จึงมักเรียกวันนี้เป็น “วันเลิกทาส”

อย่างไรก็ตาม กระบวนดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้น คือ เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ทรงออก “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย” โดยมีการแก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีเป็นทาสอีก
และหากย้อนกลับไปรัชสมัยก่อนหน้า คือรัชกาลที่ 4 ก็มีหลักฐานว่าทรงวิพากษ์วิจารณ์การมีทาสของประเทศที่เจริญแล้วในยุโรป เช่น อังกฤษ อย่างไม่ไว้หน้า

พระองค์ยังกล่าวว่า ทรงจำได้ว่านางแอนนา เลียวโนเวนส์ หรือ “แหม่มแอนนา” เคยพูดว่า “ทาสจะเป็นมลทินที่ยิ่งใหญ่ของชาติสยาม” (“that slavery shall be a great blot on the Siamese nation”) ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงปฏิเสธไปในตอนแรก

ทาสสยาม จากหนังสือ Anna and the King of Siam ของมาร์กาเรต แลนดอน ฉบับพิมพ์โดย The John day company, New York 1944 (ภาพประกอบโดย มาร์กาเร็ต เอเยอร์)
ทาสสยาม จากหนังสือ Anna and the King of Siam ของมาร์กาเรต แลนดอน ฉบับพิมพ์โดย The John day company, New York 1944 (ภาพประกอบโดย มาร์กาเร็ต เอเยอร์)

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ เคยกล่าวถึงประเด็นการเลิกทาสว่า การดำเนินการดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อให้สยามทันสมัยตามแบบฝรั่งตะวันตก อย่างช้าๆ จากต้นถึงปลายรัชกาล โดยไม่ได้เกิดความขัดแย้งรุนแรงแนว ‘สงครามกลางเมือง’ เหมือนบางประเทศในโลก เนื่องจากทาส ไม่ได้เป็นคนจำนวนมากของประเทศ จึงไม่ได้มีผลกระทบต่อ “นายทาส” มากนัก และที่สำคัญ คือ ทาสไม่ได้เป็นแรงงานสำคัญในการผลิต ข้าว ยางพารา หรือ ไม้สัก

ทาสสยาม สมัยรัชกาลที่ 5 จากหอสมุดดำรงราชานุภาพ
ทาสสยาม สมัยรัชกาลที่ 5 จากหอสมุดดำรงราชานุภาพ

 

หนังสือสารกรมธรรม์ ขุนนางผู้ใหญ่ นาม "หลวงภักดีสงคราม" และภรรยา "อำแดงคล้าย" ขายตัวเองเป็นทาสแก่ชาวจีนชื่อ "ทองจีน" และภรรยาชื่อ "นางนกแก้ว" คาดเป็น "ขุนนางตกยาก" เมืองนครราชสีมา ข้อความส่วนหนึ่งว่า "ตูข้าอ้ายหลวงภักดีสงคราม อีคล้ายผู้เมีย ทุกข์ยาก พร้อมใจกันทำหนังสือสารกรมธรรม์ขายตัวเองอยู่กับท่านจีนทองจีนผัว นางนกแก้วเมีย (แต่ต้น) เป็นเงินตราสองชั่งสิบสี่ตำลึง ตูข้าเข้าอยู่รับใช้สอยการงานต่างกิริยาดอกเบี้ยของท่าน ...."
หนังสือสารกรมธรรม์ ขุนนางผู้ใหญ่ นาม “หลวงภักดีสงคราม” และภรรยา “อำแดงคล้าย” ขายตัวเองเป็นทาสแก่ชาวจีนชื่อ “ทองจีน” และภรรยาชื่อ “นางนกแก้ว” คาดเป็น “ขุนนางตกยาก” เมืองนครราชสีมา ข้อความส่วนหนึ่งว่า “ตูข้าอ้ายหลวงภักดีสงคราม อีคล้ายผู้เมีย ทุกข์ยาก พร้อมใจกันทำหนังสือสารกรมธรรม์ขายตัวเองอยู่กับท่านจีนทองจีนผัว นางนกแก้วเมีย (แต่ต้น) เป็นเงินตราสองชั่งสิบสี่ตำลึง ตูข้าเข้าอยู่รับใช้สอยการงานต่างกิริยาดอกเบี้ยของท่าน ….”

จากวันนั้น ถึงวันนี้ แม้จะผ่านไปนานกว่า 100 ปี แต่เรื่องราวของทาส ยังถูกถ่ายทอดผ่านงานวรรณกรรมจำพวกนิยาย ซึ่งถูกนำไปผลิตซ้ำในรูปแบบละครโทรทัศน์มากมายหลายเรื่อง ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จนกลายเป็นภาพยนตร์ และละครย้อนยุคที่ถูกสร้างใหม่ ‘นับไม่ถ้วนเวอร์ชั่น’ คือ นางทาส เรื่องราวสุดเศร้าเคล้าน้ำตาของทาสสาวสวยนามว่า “อีเย็น” ที่ถูกพ่อแม่นำมาขายรับใช้ในเรือน “คุณหญิงแย้ม” ตั้งแต่เด็ก

 

(ซ้าย) นางทาษ พ.ศ. 2498 โดย ละโว้ภาพยนตร์ (ขวา) นางทาษ พ.ศ.2505
(ซ้าย) นางทาษ พ.ศ. 2498 โดย ละโว้ภาพยนตร์  กำกับโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก ที่ส่งเข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน เมื่อ พ.ศ. 2504 (ขวา) นางทาษ พ.ศ.2505

นางทาส เดิม สะกด “นางทาษ” เป็นเรื่องสั้นขนาดยาวของ “วรรณสิริ” นามปากกาของ หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ตีพิมพ์ครั้งแรกใน รวมเรื่องสั้นชุด “สร้อยนพเก้า” ครั้นได้รับความนิยมสูงยิ่ง จึงมีการสร้างเป็นภาพยนต์และละครโดยถูกแต่งเติมเสริมรายละเอียด จนกลายเป็น นางทาส เวอร์ชั่นปัจจุบัน โดยเป็นที่ “แจ้งเกิด” ดาราสาวหลายราย เช่น มนฤดี ยมาภัย และ กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง

นางทาส

แยม-มทิรา ละคร นางทาส พ.ศ. 2558
แยม-มทิรา ละคร นางทาส พ.ศ. 2558

อีกเรื่องที่ฮิตแบบตามมากติดๆ คือ “ลูกทาส” เรื่องราวของ แก้ว ทาสในเรือนของพระยาไชยากร ผู้พยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะพ้นสภาพการเป็นทาส กระทั่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และ ได้ครองคู่กับหญิงสาวสูงศักดิ์ที่หมายปอง

ลูกทาส ประพันธ์ โดย สุวัฒน์ วรดิลก ภายใต้นามปากกา รพีพร ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในหนังสือพิมพ์รายปักษ์ เดลิเมล์วันจันทร์

 

ลูกทาส เวอร์ชั่น พ.ศ. 2507
ลูกทาส เวอร์ชั่น พ.ศ. 2507

นอกจากนี้ ยังมีวรรณกรรมอีกมากมายที่หยิบเอาเรื่องราวของทาสไปประกอบสร้างหรือเป็นฉากดำเนินเรื่องแสนสนุกคลุกน้ำตา

“มติชน” จึงไปค้นภาพชุดทาสสยาม รวมถึงไพร่ อันเป็นแรงงานสำคัญในระบบเศรษฐกิจในอดีตมาให้ชมกัน เนื่องในวันสำคัญแห่งความเป็นไท 1 เมษายนนี้

หนังสือซื่อขายตนเองเป็นทาส (บน) ขายตัวเองและลูกเต้าเป็นทาสนายเงิน ข้อความตอนนหึ่งว่า "ตูข้าอ้ายเสือผู้ผัว อีแจ้มผู้เมีย อีอั้ว อีจีบ อีพวง อ้ายอิ่ม ผู้ลูก มีความทุกข์ยาก พร้อมใจกันทำหนังสือสารกรมธรรม์ขายตัวเองอยู่กับท่านทองอิน...." (ล่าง) เอกสารขายเมียให้เป็นทาส ข้อความตอนหนึ่งว่า "พ่อแสงผู้ผัว ทำหนังสือสารกรมธรรม์เอาอีศรีเมียมาขายฝากไว้กับท่านภักดีนุชิตผัว อ้นภรรยา ...มอบตัวอีศรีให้ท่านใช้สอยงานต่างกระยาดอกเบี้ย..."
หนังสือซื่อขายตนเองเป็นทาส (บน) ขายตัวเองและลูกเต้าเป็นทาสนายเงิน ข้อความตอนนหึ่งว่า “ตูข้าอ้ายเสือผู้ผัว อีแจ้มผู้เมีย อีอั้ว อีจีบ อีพวง อ้ายอิ่ม ผู้ลูก มีความทุกข์ยาก พร้อมใจกันทำหนังสือสารกรมธรรม์ขายตัวเองอยู่กับท่านทองอิน….” (ล่าง) เอกสารขายเมียให้เป็นทาส ข้อความตอนหนึ่งว่า “พ่อแสงผู้ผัว ทำหนังสือสารกรมธรรม์เอาอีศรีเมียมาขายฝากไว้กับท่านภักดีนุชิตผัว อ้นภรรยา …มอบตัวอีศรีให้ท่านใช้สอยงานต่างกระยาดอกเบี้ย…”

ไพร่ทาส

ไพร่ทาส

ไพร่-ทาส แรงงานสยามในอดีต (ภาพจากเวปไซต์ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน)
ไพร่-ทาส แรงงานสยามในอดีต (ภาพจากเวปไซต์ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน)
นัดโทษสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกนำมาใช้แรงงาน
นักโทษสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกนำมาใช้แรงงาน

 

 

 

 

The post หาดูยาก ! สมุดข่อย ‘ขายทาส’ พร้อมภาพชุด ‘ทาสสยาม’ appeared first on มติชนออนไลน์.


สุจิตต์ วงษ์เทศ : นครศรีธรรมราช รัฐพูดภาษาไทย สำเนียงเหน่อลุ่มน้ำโขง

$
0
0

เมืองนครศรีธรรมราช ก่อน พ.ศ. 1700 มีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น ตามพรลิงค์ ฯลฯ ยังไม่มีชื่อนครศรีธรรมราช และผู้คนส่วนมากพูดภาษาต่างๆ (ที่ไม่ใช่ภาษาไทย) แต่ที่สำคัญน่าจะพูดภาษามลายู เพราะเป็นเมืองการค้าอยู่ริมทะเลสมุทร

หลัง พ.ศ. 1700 เมืองนครศรีธรรมราช เริ่มมีผู้คนพูดภาษาไทย ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหม่ที่โยกย้ายลงไปจากเมืองเพชรบุรี เพราะคนกลุ่มเดิมพูดภาษามลายูถูกโรคระบาดล้มตาย จนเมืองร้าง มีผู้ศึกษาพบว่าเป็นกาฬโรคจากเมืองจีน

ตำนานเล่าว่าพระราชาเมืองเพชรบุรี เคยนับถือพุทธศาสนามหายาน แต่เปลี่ยนเป็นเถรวาท (จากลังกา) พาไพร่พลลงไปฟื้นฟูเมืองนครศรีธรรมราช

ไพร่พลกลุ่มนี้พูดภาษาไทย สำเนียงเหน่อ มีบรรพชนกินข้าวเหนียว เล่นหนังตะลุง และเล่นละครชาตรีเรื่องนางมโนห์รา ฯลฯ

ภาษาไทย เป็นภาษากลางทางการค้าภายในภูมิภาค ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1500 เมื่อเริ่มมีความเคลื่อนไหวของสำเภาจีน

ครั้นหลัง พ.ศ. 1700 สำเภาจีนเคลื่อนไหวกว้างขวาง ส่งผลให้มีการโยกย้ายผู้คนและทรัพยากรบนเส้นทางการค้าภายในข้ามภูมิภาค จากลุ่มน้ำโขง ผ่านลุ่มน้ำ 4 แคว (ปิง-วัง-ยม-น่าน) ลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ฟากตะวันตก) แล้วเกิดรัฐใหม่พูดภาษาไทย เป็นภาษากลางได้แก่ รัฐสุโขทัย, รัฐสุพรรณภูมิ, รัฐเพชรบุรี, รัฐนครศรีธรรมราช ฯลฯ

รัฐใหม่ๆ เหล่านี้ให้ความสำคัญพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งฟักตัวอยู่ดินแดนสุวรรณภูมิ มานานแล้ว (ก่อนมีรัฐนครศรีธรรมราช) ที่เปิดช่องให้พ่อค้า “ผู้มีบุญ” เป็นพระราชา
ความเป็นมาของพระธาตุนครศรีธรรมราชกับเมืองนครศรีธรรมราช เกี่ยวข้องกับการเมืองการค้าภายในและภายนอก กับการโยกย้ายหลักแหล่งแห่งหนของคนพูดภาษาไทย หลัง พ.ศ. 1700 ที่เรียกภายหลังจนปัจจุบันว่าคนไทย

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : นครศรีธรรมราช รัฐพูดภาษาไทย สำเนียงเหน่อลุ่มน้ำโขง appeared first on มติชนออนไลน์.

ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ ขอใช้สิทธิของมนุษยชาติ ‘ทวงคืน’โพธิสัตว์ประโคนชัย

$
0
0

“ไม่มีประติมากรรมสัมฤทธิ์ประโคนชัย ไม่มีราชวงศ์มหิธรปุระ”

นี่คือถ้อยคำที่ออกจากปาก ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระผู้มีบทบาทในการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ “พระโพธิสัตว์” สัมฤทธิ์ อายุกว่า 1,300 ปี ซึ่งถูกระบุว่าเคยประดิษฐานอยู่ ณ ปราสาทปลายบัด 2 บนเขาปลายบัด อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประติมากรรมล้ำค่าอันจุดชนวนการ “ทวงคืน” จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ให้กลับมายังแผ่นดินอันเป็นต้นกำเนิด

จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ เพียงข้อความในเฟซบุ๊กของคนเพียงไม่กี่คน ขยายผลมาสู่กระแสถาโถมในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กของกลุ่มคนที่สนใจในมรดกทางวัฒนธรรม รวมถึงเพจดังของบุรีรัมย์ ล้วนช่วยกันขยันแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากการศึกษาอย่างลุ่มลึกของนักวิชาการผู้นี้ที่ย้ำชัดว่า สนใจเรื่องราวของเขาปลายบัดมานานหลายปี ก่อนที่จะเกิดกระแสการทวงคืนโพธิสัตว์ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับอาณาจักรศรีจนาศะอันลึกลับ มีการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านถึงการลักลอบขุดเมื่อกว่า 50 ปีก่อน

กระทั่งนำข้อมูลทั้งหมดไปมอบให้รองอธิบดีกรมศิลปากร และได้เป็นหนึ่งใน 2 วิทยากรหลักในงานเสวนาให้ความรู้เรื่อง “ประติมากรรมสัมฤทธิ์แบบประโคนชัย” ซึ่งสภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ร่วมกับสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จับมือกันจัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุกลุ่มหนึ่งในที่ราบสูงโคราช เดิมเชื่อว่ามีเฉพาะอำเภอประโคนชัย จึงเรียกว่าประติมากรรมแบบประโคนชัย

ล่าสุด มีชาวบ้านร่วมสวมเสื้อรูปโพธิสัตว์เพื่อแสดงเจตนารมณ์การทวงคืน และติดป้ายตามร้านรวงมีข้อความ “สำนึก สิทธิ หน้าที่ คนบุรีรัมย์ทวงคืนพระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์ ปลายบัด 2 ประโคนชัย” รวมถึงเตรียมติดตั้งป้ายเรียกร้องให้บูรณะปราสาทปลายบัด 2 ซึ่งลงแรงวาดเองกับมือ

นับเป็นปรากฏการณ์ที่ทนงศักดิ์บอกว่า ชวนให้นึกถึงคราวทวงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ แม้จะไม่ครึกโครมเทียบเท่า แต่ก็สะท้อนถึงความรับรู้ในสิทธิทางวัฒนธรรม รวมถึงความตระหนักในคุณค่าของโบราณวัตถุโบราณสถานในบ้านเกิดของตน

จุดเริ่มต้นกระแสทวงคืน

มีน้องที่รู้จักกันคนหนึ่ง ไปค้นในอินเตอร์เน็ตพบว่าบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในต่างประเทศ นำประติมากรรมสัมฤทธิ์ออกมาประมูลขายในราคาหลักล้านโดยระบุว่ามาจากประโคนชัย บุรีรัมย์ เขาเลยเอามาโพสต์ในเฟซบุ๊ก ผมเห็นแล้วชัดเจนว่าเป็นประติมากรรมแบบประโคนชัยจริง ก็มีการพูดคุยกันผ่านเฟซบุ๊กเรื่องข้อมูลเชิงวิชาการ และความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ ส่วนกระแสเรื่องอยากได้คืนเกิดขึ้นทีหลัง เพราะโพสต์ของน้องคนนี้ถูกแชร์ออกไปเรื่อยๆ ต่อมามีคนอื่นๆ ไปค้นเพิ่มเติมอีกว่า มีประติมากรรมแบบนี้อีกหลายองค์ ที่ไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี ก็เอารูปมาเผยแพร่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน ซึ่ง ดร.รังสิมา กุลพัฒน์ นักวิจัยในสหรัฐ กรุณาถ่ายภาพส่งมาให้ดู ถือเป็นองค์ที่งามและสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดใหญ่เท่าๆ คนจริง ทำให้เป็นที่ฮือฮามาก ทำให้หลายคนเกิดความคิดว่าอยากขอคืนมาไว้ในเมืองไทย นอกจากนี้ ยังมีคนอื่นๆ ที่สนใจด้านนี้ เช่น โชติวัฒน์ รุญเจริญ ซึ่งจบจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ สม่ำเสมอผ่านเฟซบุ๊ก คนก็เริ่มสนใจมากขึ้นจนมีกระแสอย่างที่เป็นอยู่

ทำไมบอกว่าปราสาทปลายบัด 2 สำคัญกว่าพนมรุ้งและเมืองต่ำ

เพราะปราสาทหลังนี้ และพื้นที่บริเวณนี้พบประติมากรรมแบบประโคนชัยเป็นจำนวนมาก มีบันทึกว่ามากกว่า 300 องค์ ประติมากรรมกลุ่มนี้ แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีการหล่อสัมฤทธิ์ขั้นสูง โดยหล่อเป็นรูปพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน สะท้อนถึงการเป็นดินแดนที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก และต่อเนื่องมาโดยตลอด กระทั่งเกิดราชวงศ์มหิธรปุระ ซึ่งเป็นราชวงศ์สำคัญที่จะปกครองอาณาจักรเขมรต่อไปในภายหน้า ถ้าไม่มีสัมฤทธิ์กลุ่มนี้ ก็ไม่มีราชวงศ์มหิธรปุระ

นอกจากนี้ ถ้ามองในเชิงศิลปะ นักประวัติศาสตร์ศิลปะคนสำคัญของโลกชาวฝรั่งเศสอย่าง ศาสตราจารย์ฌอง บวซซิลิเยร์ บอกว่า ประติมากรรมชุดนี้จะเรียกว่าศิลปะเขมรก็ไม่ได้ มอญก็ไม่ได้ เพราะเป็นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น มันไม่เหมือนที่ไหนเลย ซึ่งจุดนี้แหละที่สำคัญในการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นในดินแดนแถบนี้

ด้วยเหตุผลข้างต้นเลยคิดว่าไทยควรเสนอให้ปราสาทปลายบัด 2 เป็นมรดกโลกร่วมกับปราสาทหินอื่นๆ ในเส้นทางเดียวกัน

แน่นอน ผมศึกษามานาน ทั้งค้นคว้าเรื่องจารึก ลงพื้นที่คุยกับชาวบ้านตั้งแต่ปี 2554 เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้เสนอให้กรมศิลปากรผนวกปราสาทปลายบัดเป็นมรดกโลกร่วมกับปราสาทหินพิมาย พนมรุ้ง เมืองต่ำ และเส้นทางพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

การที่คนบุรีรัมย์กลุ่มหนึ่งเริ่มเขียนป้ายเรียกร้องให้บูรณะปราสาทปลายบัด 2 เป็นเค้าลางความสำเร็จด้านการเผยแพร่ความรู้

นั่นแสดงว่าเขาเห็นความสำคัญแล้ว และทำอย่างไรให้กรมศิลป์กับชาวบ้านไปในทางเดียวกัน รักและหวงแหนสิ่งที่เป็นสมบัติของชุมชน ผมมองว่าเรื่องนี้เรามีหน้าที่หลักคือให้ความรู้กับชุมชน ให้เขาคิดต่อไปว่า ประติมากรรมสัมฤทธิ์มีความสำคัญ

เทียบกับกรณีทับหลังนารายณ์ ทำไมกระแสยังน้อยกว่ามาก

อาจเพราะความขัดแย้งระหว่างข้อมูลจากกรมศิลป์ กับข้อมูลจากนักวิชาการนอกกรมศิลป์ คือเราเห็นว่าโพธิสัตว์ชุดนี้เจอที่เขาปลายบัด แต่กรมศิลป์บอกไม่มีหลักฐานรูปถ่าย ผมก็งงว่า ยังต้องพิสูจน์อะไรอีก ในเมื่อเอกสารประกอบการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ก็บอกว่ามาจากเขาปลายบัด งานสัมมนาระดับโลก มีเอกสารประกอบเป็นปึ๊ง ว่าเป็นประติมากรรมแบบประโคนชัย มาจากปราสาทปลายบัด 2 ฝรั่งให้ความสำคัญมาก ชาวบ้านก็เล่าเหตุการณ์ตรงกันว่ามีการลักลอบขุด ทุกอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้ต่างจากทับหลังนารายณ์ ซึ่งตอนนั้นทุกคนมีข้อมูลชุดเดียวกันหมด อยากได้คืน อยากเอากลับมาติดปราสาทหินพนมรุ้ง

 

ท้องถิ่นต้องกระตุ้นราชการ ให้รัฐบาลดำเนินเรื่องนี้อย่างจริงจังถึงจะเป็นไปได้ ลำพังกรมศิลป์ ไม่มีทาง อย่างกรณีทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ขนาดคนรู้จักปราสาทหินพนมรุ้งกันเยอะ ราชการทวงมา 10 ปี ไม่สำเร็จ สุดท้ายคนไทยทั้งในและต่างประเทศผนึกกำลังกัน ถึงจะได้คืนมา แต่ก็เสียเงินไปเยอะ ไม่ใช่ได้ฟรีๆ

 

ข้อแนะนำถึงกรมศิลปากรต่อกรณีนี้

กรมศิลป์ควรคิดเรื่องดำเนินการขอคืนเลย ไม่ต้องหาหลักฐานแหล่งที่มาแล้ว เพราะมันชัดเจนมาก สิ่งจำเป็นสุดลำดับแรกคือ ต้องสร้างความเข้าใจกับชุมชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของโบราณสถานโบราณวัตถุในพื้นที่ ผมคิดว่ากรมศิลป์ควรคืนพระพุทธรูปนาคปรกองค์ที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครให้ชุมชน เพราะพระพุทธรูปองค์นั้น เคยขุดเจอที่ปราสาทปลายบัด 2 ยังอยู่ในความทรงจำของชาวบ้านที่เล่าตรงกันหมด เป็นความรู้สึกร่วมของเขา หรืออย่างน้อยที่สุดจำลองมาให้บูชาก็ยังดี ชาวบ้านเขาเรียกร้องอยากเห็นของจริง นั่นจะมีค่าสำหรับการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์

ลำดับต่อมา ควรดำเนินการขั้นต่อไปให้เป็นรูปธรรม คือ คุยกับกระทรวงวัฒนธรรมและรัฐบาล อาจเจรจากันรัฐต่อรัฐ มันถึงจะสำเร็จ ประสานงานกับต่างประเทศ โดยต้องชี้แจงกับชุมชนให้เห็นความตั้งใจในการทวงคืน

ทนงศักดิ์ หาญวงษ์

ทำไมไทยไม่ลงนามในอนุสัญญา The Unesco convention 1970 ที่ว่าด้วยการคืนโบราณวัตถุระหว่างประเทศ

อาจกลัวผลกระทบที่จะตามมา หลายประเทศก็ไม่เซ็น เช่น ญี่ปุ่นกับอเมริกา เพราะว่ามีโบราณวัตถุต่างๆ ที่เขาสะสมไว้ คงไม่อยากวุ่นวายเรื่องการคืนสมบัติของประเทศอื่นๆ ที่ตัวเองได้รับมา ประเทศไทยก็เป็นลักษณะเดียวกัน อาจเกรงว่าเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาจะทวงคืนเยอะ แต่จริงๆ แล้วโบราณวัตถุจากประเทศกัมพูชาแทบไม่มีเลยในพิพิธภัณฑ์ไทย ที่เห็นๆ อยู่คือโบราณวัตถุในวัฒนธรรมขอมที่พบในดินแดนไทยอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีพระโพธิสัตว์ ก็ใช้อนุสัญญานี้ไม่ได้ เพราะเหตุการณ์ลักลอบออกนอกประเทศ เกิดขึ้นก่อนอนุสัญญา ที่ทำได้คือใช้หลักศีลธรรม และการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล แม้อเมริกาจะไม่มีหน่วยงานแบบกรมศิลป์ แต่เชื่อว่าสามารถคุยกับพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นเอกชนที่ดูแลโดยมูลนิธิต่างๆ ได้ โดยอาจตกลงกันว่าเราจะทำของจำลองส่งให้ แล้วคุณคืนของจริงมาได้ไหม เพราะมีการลักลอบนำออกไปโดยมิชอบ หรือให้เราคืนมาแล้วยืมจัดแสดงก็ยังได้

เมื่อไม่นานมานี้ พิพิธภัณฑ์ที่ครอบครองโพธิสัตว์ประโคนชัย เพิ่งคืนรูปสลัก 4 ชิ้น ให้กัมพูชา เขาใช้วิธีไหน

เรื่องมีอยู่ว่า ประติมากรรมจากเมืองเกาะแกร์หายไปจากโบราณสถาน แล้วถูกนำไปประมูล มีนักข่าวอเมริกันขุดคุ้ย เจอขบวนการค้าโบราณวัตถุ มีการนำสืบพบคนที่มีเส้นสายในการค้าและขบวนการส่งออกโดยผ่านทางประเทศไทย นำไปสู่การที่ศาลสั่งให้บริษัทประมูลเปิดเผยข้อมูลการได้มาของโบราณวัตถุ การได้คืนก็เกิดจากการเจรจาระหว่างรัฐบาล

โพธิสัตว์ประโคนชัยก็คาดว่าออกไปอย่างผิดกฎหมายเช่นกัน แสดงว่ามีความเป็นไปได้ในการทวงคืน

สำคัญสุด คือท้องถิ่นต้องกระตุ้นราชการ ให้รัฐบาลดำเนินเรื่องนี้อย่างจริงจังถึงจะเป็นไปได้ ลำพังกรมศิลป์ ไม่มีทาง อย่างกรณีทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ขนาดคนรู้จักปราสาทหินพนมรุ้งกันเยอะ ราชการทวงมา 10 ปี ไม่สำเร็จ สุดท้ายคนไทยทั้งในและต่างประเทศผนึกกำลังกัน ถึงจะได้คืนมา แต่ก็เสียเงินไปเยอะ ไม่ใช่ได้ฟรีๆ

เรื่องค่าใช้จ่ายจะมีผลทำให้ภาครัฐไม่อยากดำเนินการไหม

ของอย่างนี้ขอความร่วมมือกับเอกชนได้ คนมีตังค์ในประเทศนี้ และคนไทยที่อยู่ต่างประเทศก็มี ที่ผ่านมาก็มีกรณีที่เอกชนช่วยซื้อคืนให้กรมศิลป์ เพราะฉะนั้นเรื่องเงินไม่ควรเป็นอุปสรรค

การทวงคืนในลักษณะนี้ถือเป็นการกระตุ้นแนวคิด “ชาตินิยม” หรือไม่

ไม่เลย นี่เป็นการทำหน้าที่ของมนุษยชาติ ซึ่งมีสิทธิทางวัฒนธรรมที่จะกระทำได้ โบราณวัตถุดังกล่าวเป็นของคนในท้องถิ่น และคนในภูมิภาคนี้ ไม่ใช่เรื่องของชาตินิยม

มองอย่างไรต่อความเห็นที่ว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร มีประติมากรรมรูปแบบเดียวกับโพธิสัตว์อยู่แล้ว ไม่ต้องทวงคืนก็ได้

ตลกนะที่เราจะบอกว่าหน้าตาจะเหมือนกัน ทั้งๆ ที่มันไม่เหมือน อีกเหตุผลหนึ่งคือ มันมีค่าทางจิตใจมากน้อยต่างกัน การเผยแพร่ความรู้อย่างเดียว สักพักคนก็ลืม เพราะไม่มีโบราณวัตถุที่ยึดเหนี่ยวให้เรานึกถึงได้ตลอดเวลา

จะตอบอย่างไรในกรณีที่มีผู้ห่วงใยว่า หากกลับมาไทยแล้วจะดูแลได้ดีไม่เท่าต่างประเทศ อีกทั้งคนเข้าชมน้อยกว่า

เรื่องการดูแลไม่ใช่ปัญหาเลย หากมีงบประมาณเพียงพอ การสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างถนนอีก ส่วนเรื่องการอยู่เมืองนอกแล้วมีคนเห็นเยอะกว่า ถามว่า อะไรคือตัวชี้วัดว่านักท่องเที่ยวในฝรั่งจะเห็นเยอะกว่าบ้านเรา ซึ่งสถิตินักท่องเที่ยวก็ไม่น้อย การได้เห็นโบราณวัตถุวัฒนธรรมนั้นๆ ในดินแดนต้นกำเนิด น่าจะกระตุ้นให้อยากจะเรียนรู้ หรือจะเรียกว่า อิน มากกว่าก็ได้

คำถามสุดท้าย ทวงคืนมา ประชาชนได้อะไร

ประโยชน์สำคัญที่สุด น่าจะเป็นเรื่องการกระตุ้นให้คนกลับมาสนใจที่จะรักษาโบราณวัตถุ หรือโบราณสถานที่บอกเล่าเรื่องราวท้องถิ่น อันที่สองก็คือ ทำให้กรมศิลปากรต้องกลับมาคิดให้มากกว่านี้แล้วว่า การที่คุณจะเสนอแหล่งมรดกโลก ควรคิดถึงข้อมูลที่จะได้จากชุมชนให้มากกว่านี้ เพราะปัจจุบันไม่ศึกษาเรื่องชุมชนเลย

นอกจากนี้ ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทเขาปลายบัด 3 จุดนี้เป็นแหล่งที่พัฒนาให้เชื่อมโยงกันได้ โดยเป็นเส้นทางวัฒนธรรมที่จะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่ง

 

ชีวิตวนเวียนของเซียนหนังสือ

ไม่ต้องบอกก็เดาได้ไม่ยากว่าทนงศักดิ์ หาญวงษ์ ผู้รอบรู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเขมร ย่อมเป็นหนอนหนังสืออย่างไม่ต้องสงสัย หรือหากจะกล่าวไปไกลกว่านั้น อาจเทียบชั้นเป็นเซียนก็ว่าได้ เพราะหนังสือแนวไหนที่อยู่ในความสนใจ เป็นอันรู้หมดว่าพิมพ์ที่ไหน ซื้อประเทศใดได้ราคาถูกกว่า พิมพ์มาแล้วกี่ครั้ง ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ แม้กระทั่งการออกทริปต่างประเทศ ก็ยังพาผู้ร่วมเดินทางไปทัวร์ยัง “ร้านหนังสือ” นอกจากนี้ ท่านที่ติดตาม “มติชน” ตลอดมา อาจคุ้นหน้าว่าเป็น “คนในข่าว” กรณีหอสมุดกลาง วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เทกระจาดหนังสือล้ำค่าชั่งกิโลขายให้ร้านรับซื้อของเก่า นักวิชาการท่านนี้ก็เป็นอีกคนที่ห่วงใยติดตามไป “ซื้อคืน” ได้หลายสิบกิโลกรัม ก่อนมอบคืนหอสมุดดังกล่าวที่ออกมาชี้แจงในภายหลังว่าเกิดความผิดพลาดบางประการ

เรียกได้ว่า ชีวิตของทนงศักดิ์วนเวียนอยู่กับการ “ทวงคืน” !

เมื่อถามถึงหนังสือเกี่ยวกับเขมรโบราณตามที่สนใจ ได้คำตอบว่า ในวงวิชาการไทยนั้น ตนเคยไปดูทั้งชั้นในร้านหนังสือแล้วยังไม่มีถูกใจ เพราะสู้ “เมืองพระนคร” ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ที่เขียนไว้นานนมเนไม่ได้สักเล่ม ทั้งที่ควรมีหลักฐานการศึกษาใหม่ได้แล้ว

“หลักฐานใหม่ในประวัติศาสตร์หลายเรื่อง สามารถเอามาประมวลได้แล้ว แต่กรมศิลปากรยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูล จึงมองประวัติศาสตร์เหมือนเดิมตลอด ทำให้ชุดความรู้ที่ใช้ประกอบการให้ความสำคัญในการเสนอแหล่งมรดกโลกไม่ชัดเจน เพราะไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก”

The post ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ ขอใช้สิทธิของมนุษยชาติ ‘ทวงคืน’ โพธิสัตว์ประโคนชัย appeared first on มติชนออนไลน์.

ชิลชิมญี่ปุ่น

$
0
0

งานนี้ถ้าพากย์ “เสียงในฟิลม์” เป็นภาษาญี่ปุ่นได้ คงทำครับ!!

เหตุมาจากเมื่อเดือนที่แล้วเพื่อนญี่ปุ่น “ฮากิซัง” แนะนำให้รู้จักคณะญี่ปุ่นที่มาเมืองไทย และสนใจลงทุนธุรกิจทำ “ขนม” ในร้านกาแฟและมาขอคำปรึกษา ช่วงพบปะกัน รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง จนผมทนไม่ไหว ขอไปดูด้วยตาตัวเองเพื่อให้ชัดว่าสิ่งที่ “ตกหล่น” ระหว่างการแปลภาษา “ไทย” เป็น “ญี่ปุ่น” ผสม “อังกฤษ” มีอะไรบ้าง

การเดินทางไปแดนอาทิตย์อุทัยจึงเกิดขึ้น และเป็นความจริงเมื่อ “คสช.” อนุมัติ พร้อมกำชับว่าให้ “ระวังการเคลื่อนไหวทางการเมือง” โธ่…ผมไปงานนี้กินขนม จิบสาเก อย่างเดียวครับ ไม่เจอคนไทยที่ไหนแน่นอน ไม่ “เคลื่อนไหว” จะมีก็แต่ “เคลื่อนพุง”

ตอนแรกไม่แน่ใจว่าจะไปรู้เรื่อง “ขนม” ถึงที่ญี่ปุ่นได้ง่ายๆ ล่ามไทยญี่ปุ่นไม่มีสักคน ผม “ดุ่ย” ลุย “เดี่ยว” ท่องคาถา “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลิ้นเลีย” ไม่ได้ทะลึ่งนะครับ เอาเป็นว่าสิ่งที่แปลไม่ออก จับยก และหยิบเข้าปากชิม น่าจะทำให้พอเข้าใจได้

สายการบิน Japan Airlines เครื่องออกห้าทุ่มกว่าถึงหกโมงเช้าเวลาญี่ปุ่น (ตีสี่เวลาไทย) แอร์บริการดี ถามด้วยว่าจะให้ปลุกทานอาหารเช้าไหมก่อนเครื่องลง ตั้งใจครับ สั่งชุดอาหารญี่ปุ่นไว้ พอถึงเวลาจริง ไม่ชิมไม่ชิลละ นอนต่อก่อนดีกว่า

เดินผ่าน ตม.คว้ากระเป๋าได้เลย ทั้งหมดใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ไม่ต้องรอสายพานกระเป๋าหมุน “นานเท่านาน” อย่างบางประเทศ ไลน์หาเพื่อนที่จะมารับ แหะๆ เครื่องลงเร็วไป มายังไม่ถึง มื้อแรกผมที่ญี่ปุ่นจึงเป็นกาแฟ “สตาร์บัคส์” ที่สนามบินนั่นเอง!!

เมื่อมาถึงพร้อมขึ้นรถมุ่งสู่ “โอซาก้า” โรงแรมยังเข้า “เช็กอิน” ไม่ได้ เริ่มชิมกันเลยดีกว่า เข้าร้านกาแฟในเมืองชื่อ “Willer Express Cafe” ใกล้สวนสาธารณะและสำนักงานหลายแห่ง อาหารเช้าง่ายๆ โยเกิร์ตใส่ถ้วย ขนมปังชุบไข่ (French Toast) หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ถ้วย ราดน้ำเชื่อม “เมเปิล” ก็พอแล้ว ดูดี ถือสะดวกสำหรับคนทำงาน

สุนันท์ 2 เมย.02

อิ่มแล้วต่อซิครับ พามาชมมาชิม กินกันอิ่มไม่พอ น้ำหนักขึ้นว่ากันทีหลัง ห้างเปิด “โตชิม่าซัง” เพื่อนที่เป็นเจ้าของร้านขนมญี่ปุ่นประเภทที่มี “ถั่วแดง” เป็นพื้น “โดริยากิ” ที่ “โดราเอมอน” กินนั่นละครับ และขนมอื่นๆ อีกมากมาย เช่นเจ้า “ไทยากิ” รูปปลาที่คนไทย “ฮิต” กันอยู่พักหนึ่ง

“โตชิม่าซัง” พาทัวร์ เพิ่งรู้ว่าใต้ห้างไดมารูและห้างฮันชินเขามีร้านอยู่ เดินกันเพลิน เกินอิ่มไปไกล เพื่อนญี่ปุ่นเป็นคนสุภาพ อยากให้ลองทุกอย่าง เราย่อมต้องสุภาพตอบไม่มีปฏิเสธ!!

ที่น่าสนใจคือ การที่ญี่ปุ่นเป็นชาติอุตสาหกรรม จึงมีการคิดค้นเครื่องจักรกลในการช่วย “ผ่อนแรง” อย่างในการทำขนม “เค้กญี่ปุ่น” ก้อนกลมๆ เล็กๆ ไส้ถั่วแดง ร้านของโตชิม่าซังมีเครื่อง “ปั๊ม” ขนม ใช้คนคน เดียวควบคุม ตั้งไว้ทำขนมให้ดู และขายจริง บวกกับความตั้งใจที่จะเรียงใส่กล่อง ห่ออย่างดี ทำให้ขนมมีคุณค่าขึ้นอีกมาก

และโตชิม่าซังยังไม่ทำเพียงขนมดั้งเดิม ยังพร้อมจะทดลองสิ่งใหม่ๆ จับมือกับคนทำขนมรุ่นใหม่ๆ ที่แนวออกขนมฝรั่งอย่าง “เซอิชิโร่ นิชิโซโน่” ซึ่งบวกความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในการ “ผสม” วัตถุดิบให้ได้รสชาติ การจัดการรูปลักษณ์การนำเสนอ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการอบขนม อย่างเตาอบที่นิชิโซโน่ซังใช้นั้น ตั้งโปรแกรมความร้อนและเวลาได้ถึง 12 แบบ ซึ่งเมื่อ “ลงตัว” ว่าเค้กแบบไหน ใช้ “สูตร” ใด ใคร “กดปุ่ม” ก็ทำได้เลย ใช้คนน้อย ประหยัดเวลา

ทริปนี้ได้ไปร้านกาแฟหลายแห่ง คนญี่ปุ่นดื่มกาแฟอย่างละเมียด และมีความรู้ บางร้านมีกาแฟให้เลือกจากหลายประเทศทั่วโลก คั่วเตรียมไว้ มีคำอธิบายที่มาที่ไป จนผู้บริโภคสนใจและสงสัย ชวนให้ลอง

ส่วนการบรรจุหีบห่อของญี่ปุ่นนั้น ศึกษากันได้ไม่รู้จบ รายละเอียดมากมาย อย่างร้านช็อกโกเลต Malebranch หนังสติ๊กที่รัดแกะออกมายังเป็นรูปคนและไดโนเสาร์ ต้องชื่นชมความตั้งใจ

รอบนี้ไปทั้ง “โอซาก้า” และ “เกียวโต” ด้วย ไปกับคนญี่ปุ่น จึงได้ไปหลายร้านที่เป็นร้านท้องถิ่น มีแต่ลูกค้าคนญี่ปุ่น และใช้แต่ภาษาญี่ปุ่น เมนูภาษาอังกฤษอย่าหวัง กินกันอย่างไม่มี “มื้อ” เก็บมาเล่าไม่หมด ดูรูปกันไปให้น้ำลายหกเล่นละกันครับ!!

อาหารญี่ปุ่น

The post ชิลชิมญี่ปุ่น appeared first on มติชนออนไลน์.

คู่มือฉลาดซื้อ”บ้านประชารัฐ”

$
0
0

เพิ่งจะรู้แฮะ ซื้อบ้านประชารัฐยุ่งยากกว่าที่คิด

ดังนั้น วันนี้จึงขออุทิศพื้นที่ข้อมูลให้กับโครงการนี้อีกสักครั้ง เพราะปรากฏว่ามีผู้บริโภคตาดำๆ หลายรายสอบถามเข้ามาแถมบ่นอีกต่างหากว่า ซื้อไม่ได้บ้าง เขาไม่ให้ซื้อบ้าง

คำว่า “เขา” น่ะหมายถึงใคร? คำตอบคือก็ทั้งทางฝั่งธนาคารกับฝั่งเจ้าของโครงการนั่นแหละ

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า เนื่องจากโครงการบ้านประชารัฐทางรัฐบาลเข้ามาช่วยอุดหนุนทั้งผู้ซื้อกับฝั่งผู้พัฒนาโครงการ เพราะอยากให้มีตัวกระตุ้นเศรษฐกิจให้เห็นผลเร็วๆ

ประเด็นอยู่ที่ในเมื่อเป็นโครงการของรัฐบาลก็แปลว่าใช้เงินหลวงมาสนับสนุน ดังนั้น จำเป็นต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสซื้อบ้านหลังแรกในชีวิต ปัญหาอยู่ที่ว่าจะตรวจสอบยังไงดีล่ะเพื่อให้เจอผู้มีรายได้น้อยตัวจริงเสียงจริง และซื้อเป็นบ้านหลังแรก

วิธีการจึงไปสร้างช่องทางไว้กับเจ้าของโครงการ อย่างน้อยที่สุดต้องมาขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ หลังจากนั้น ลูกค้าที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์กับโครงการ เงื่อนไขมีอยู่ว่าทางบริษัทเอกชนต้องออกใบรับรองแนบท้ายหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย สำหรับให้ผู้บริโภคนำไปประกอบเป็นหลักฐานการขอกู้อีกต่อหนึ่ง

ใบรับรองแนบท้ายดังกล่าว จะเรียกว่าเจ้าของโครงการ เซ็นสลักหลังŽ หรือ endorse ให้ก็ว่าได้ (ปกติ การเซ็นสลักหลังจะใช้ในกรณีเซ็นกำกับเอกสาร หรือเซ็นหลังเช็กหรือตั๋วแลกเงินสำหรับนำไปใช้ขึ้นเงินสด) เหตุผลก็เพื่อให้รัฐบาลอุ่นใจว่าผู้ซื้อนั้นซื้อเป็นบ้านหลังแรก อย่างน้อยที่สุดทางผู้ประกอบการก็ช่วยสกรีนหรือช่วยตรวจสอบให้เบื้องต้น

อย่าลืมว่าไฮไลต์ของโครงการบ้านประชารัฐก็คือวงเงินสินเชื่อสุดพิเศษนั่นเอง (ดูกราฟิกประกอบ)

กราฟฟิกประชารัฐ

ตัวอย่างข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ มีกลุ่มลูกค้าอยู่กลุ่มหนึ่งที่จะเรียกว่าเป็นกลุ่มสุญญากาศก็ว่าได้ เพราะมีการไปจองซื้อบ้านในโครงการจัดสรร แต่ดันไปติดต่อจองซื้อไว้เมื่อ 1-2 เดือนที่แล้ว ตอนนั้นโครงการบ้านประชารัฐก็มัวแต่รอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้เป็นมติอนุมัติออกมา แต่ล่าช้าไป 5 สัปดาห์เต็ม เพิ่งจะคลอดเป็นมติ ครม.เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา

พอเป็นมติ ครม.อนุมัติปุ๊บ ผู้บริหาร ธอส. กับ ธ.ออมสินก็ใจดีรีบแถลงข่าวว่าสินเชื่อบ้านประชารัฐมีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมเป็นต้นไป

เรื่องน่าจะจบแต่มันไม่จบ เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารยืนกรานว่า เจ้าของโครงการจะต้องเซ็นสลักหลัง หรือมีหนังสือแนบท้ายว่าที่อยู่อาศัยนั้นอยู่ในโครงการบ้านประชารัฐ ตามเงื่อนไข ครม.เป๊ะ (ทั้งๆ ที่ราคาอสังหาฯ ถ้าไม่เกิน 1.5 ล้านก็น่าจะพิจารณาปล่อยกู้ได้เลย)

เรื่องยุ่งมากขึ้นไปอีกเมื่อทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทไปตีความว่า ออกหนังสือแนบท้ายให้

ไม่ได้เพราะ 1.การจองซื้อก่อนมติ ครม. 22 มีนาคม ถือว่าไม่มีผลย้อนหลัง แปลอีกทีทางบริษัทมองว่าจองซื้อไปแล้วถือว่าเลยตามเลย ถ้าอยากได้สิทธิประโยชน์บ้านประชารัฐจะต้องยกเลิกยอดจองเดิมแล้วมาเลือกซื้อแปลงใหม่ 2.หนักข้อขึ้นไปอีก เมื่อตัวแทนบริษัทไปตีความว่าบ้านประชารัฐจะเป็นยูนิตที่บริษัทกำหนดเท่านั้น ไม่ใช่ทุกยูนิตที่ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท

เรื่องนี้ถ้าพยายามทำความเข้าใจให้ดี บริษัทคงมองว่าการเข้าร่วมโครงการประชารัฐทำให้ตัวเองเข้าไปพัวพันกับเงื่อนไขที่ไปรับปากรัฐบาลไว้ว่าต้องแจกโปรโมชั่นผู้บริโภค 5% ของราคาซื้อขาย (มาจากฟรีค่าส่วนกลาง 1 ปีแรก 1%, ฟรีค่าโอน 1%, ฟรีค่าจดจำนอง 1%, ส่วนลด 2%) เลยตีความว่าบริษัทต้องเป็นคนชี้ว่ายูนิตไหนที่จะ endorse ให้ผู้ซื้อบ้าง

ถ้ามีโครงการไหนงอแงหรือว่าเรื่องเยอะ ให้เดาไว้ก่อนเลยว่าเป็นความเขี้ยวลากดินของทีมเซลหรือฝ่ายขายโครงการ คงจะถือโอกาสผลักดันยอดขายอสังหาฯ แปลงที่ขายยากๆ ก็อีตอนนี้แหละ

เห็นไหมว่าเรื่องไม่น่ายุ่งก็ยังยุ่งเลย เราเป็นผู้บริโภคไม่ต้องไปงงกับเขาหรอกค่ะ เลือกแปลงที่เราอยากได้ จากนั้นก็แค่ยืนยันกับโครงการที่เราจะซื้อว่าช่วยออกใบแนบท้ายให้ด้วยก็แล้วกัน เพราะบ้านหรือคอนโดมิเนียมที่ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาทถือเป็นราคาบ้านประชารัฐทั้งสิ้น

ที่สำคัญขอให้มั่นใจล้านเปอร์เซ็นต์ว่าอำนาจต่อรองอยู่ที่ผู้บริโภค งานนี้เป้าหมายมีไว้พุ่งชน เด้อค่ะ

The post คู่มือฉลาดซื้อ”บ้านประชารัฐ” appeared first on มติชนออนไลน์.

ปรากฏการณ์ ‘แจส’

$
0
0

ยังอึ้งกันไม่เลิก กรณี “แจส โมบาย บรอดแบนด์” ในเครือจัสมิน ตัดสินใจทิ้งใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ยอมให้ยึดเงินค้ำประกัน 644 ล้านบาท

ท่ามกลางความเสียดายของกองเชียร์ทั้งหลาย ที่อยากเห็นผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดบ้านเราบ้าง

“แจส” เป็นน้องใหม่ที่ (เคย) ได้รับฉายา “ม้านอกสายตา” ตั้งแต่เมื่อครั้งประมูลคลื่น 1800 MHz เพราะไม่เพียงเป็นหนึ่งเดียวที่ประกาศตัวเข้าแข่งขัน ท่ามกลางวงล้อมของ 3 ค่ายมือถือเจ้าถิ่นเดิมเท่านั้น แต่ยังเคาะ “ราคา” สู้ยิบตาแบบไม่เกรงกลัวใคร

แม้ในครั้งนั้น “แจส” จะแพ้ประมูล ไม่ได้คลื่นมาครอบครองสมใจ แต่ชนะใจกองเชียร์ทั้งหลายอย่างท่วมท้น

เพราะเมื่อการแข่งขันสิ้นสุด ผลปรากฏว่า ราคาเคาะครั้งสุดท้ายของ “แจส” อยู่ที่ 38,996 ล้านบาท ทิ้งห่างมือวางอันดับสองในตลาดมือถือ ผู้ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นยักษ์ข้ามชาติ นาม “เทเลนอร์” ไกลลิบลับ

(ดีแทค ออกจากการแข่งขันหลังจากเคาะราคาสู้ไปไม่กี่ครั้ง ราคาสุดท้ายอยู่ที่ 17,504 ล้านบาท)

จากม้านอกสายตาจึงกลายเป็น “ตัวเก็ง” ขึ้นมาในทันที เมื่อเข้าสู่รอบการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ในช่วงกลางเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา

การประมูลคลื่น 900 MHz มี 4 บริษัทเดิมลงสนามชิงคลื่น ประกอบด้วย 3 ค่ายมือถือรายเดิม และ 1 น้องใหม่ “แจส โมบาย บรอดแบนด์”

ในครั้งนี้ แม้ไม่มีใครกล้ามองข้าม “แจส” แต่ก็ไม่มีใครคาดคิดว่า 2 ใน 4 ผู้ชนะการประมูลจะไม่มีชื่อ “เอไอเอส” (เชื่อว่าแม้แต่ตัวแทนเอไอเอสที่เข้าประมูลก็ยังไม่เชื่อว่าตนจะแพ้)

พอๆ กับที่ไม่มีใครคิดว่า 1 ใน 2 ผู้ชนะจะเป็นน้องใหม่ “แจส” แม้จะแอบเชียร์ แต่ก็ไม่อยากเชื่อว่าจะสู้จนชนะมาได้ด้วยราคาเท่านี้

ทั้ง 4 บริษัทเคาะราคาสู้กันแบบไม่มีใครยอมใคร ทำให้ทั้ง “ราคา” และระยะเวลาในการประมูลลากไปยาวนานข้ามวันข้ามคืน ถึงขนาดผู้สังเกตการณ์นอกห้องประมูลจากที่

ฮือฮาและตื่นเต้นกับราคาที่วิ่งลิ่วๆ ขึ้นไป กลายมาเป็น “ลุ้น” ว่าเมื่อไรจะจบๆ สักที

ว่ากันว่าที่ราคาพุ่งไปสูงลิบ ไม่ใช่ “ราคา” มูลค่าคลื่น แต่เป็นมูลค่าคลื่นบวกกับการกีดกันรายใหม่ไม่ให้เข้าสู่ตลาด

อยากได้คลื่นความถี่ใหม่ แต่ไม่อยากให้มีรายใหม่ 3 เจ้าสังเวียนเดิมจึงสู้ยิบตา

หลังแข่งกันไป 4 วัน 4 คืน การประมูลก็จบลงด้วยการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ในบ้านเราในหลายแง่มุมด้วยกัน

ไม่ว่าจะเป็นการเคาะราคาสู้กันอย่างยาวนานที่สุดถึง 4 วัน 4 คืน และ “ราคา” ใบอนุญาตทะลุไปไกลถึงใบละกว่า 7 หมื่นล้านบาท (แจส ชนะประมูลด้วยราคา 75,654 ล้านบาท ส่วนทรู ชนะประมูลด้วยราคา 76,298 ล้านบาท)

รวม 2 ใบอนุญาต เป็นเงินมากถึงกว่า 1.6 แสนล้านบาท สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับประเทศชาติ

เหนือสิ่งอื่นใด ชัยชนะของ “แจส” (ยัง) หมายถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดมือถืออีกด้วย เมื่อ “แจส” เบียดมาเป็น 1 ใน 2 ผู้ชนะ

สงครามมือถือเริ่มต้นขึ้นทันที โดยการเปิดเกมของผู้แพ้ (ประมูลคลื่น) อย่าง “เอไอเอส” ซึ่งใช้คลื่น 900 MHz อยู่แต่เดิม และยังมีลูกค้าใช้งานอยู่กว่า 11 ล้านราย จึงต้องเร่งโอนย้ายลูกค้าอย่างเร่งด่วน

ปฏิบัติการระดมแจกเครื่องฟรีจึงเกิดด้วยเหตุนี้ ไม่ใช่แค่ “เอไอเอส” แต่มี “ทรูมูฟ เอช” ร่วมด้วยช่วยกันแจกเครื่องกับเขาด้วย

เป็นการขับเคี่ยวแย่งชิงลูกค้าระหว่างเบอร์หนึ่งและเบอร์สาม

ใครๆ ก็แข่งกันเอาอกเอาใจลูกค้า ถือเป็นเสน่ห์ของการแข่งขันอย่างแท้จริงจากการมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น

การไม่มี “แจส” จึงเป็นเรื่องน่าเสียดาย

การประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ที่ “กสทช.” กำหนดไว้คร่าวๆ ว่าจะมีในเดือน มิ.ย.นี้ จึงน่าคิดว่า มากกว่า “รายได้” จากการประมูลคลื่นแล้ว การส่งเสริมให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม แต่คงไม่มีทางเป็นไปได้ ถ้าตั้งต้นประมูลโดยใช้ราคาที่ “แจส” ชนะมาได้ หรือไม่น้อยกว่า 7 หมื่นล้านบาท

เริ่มต้นที่ “ราคา” เท่านี้ แม้แต่ “เอไอเอส” ซึ่งมีดีกรีเป็นมือวางอันดับหนึ่งในสังเวียนมือถือยังต้องคิดหนัก

The post ปรากฏการณ์ ‘แจส’ appeared first on มติชนออนไลน์.

สะเทือนใจ ! โซเชียลลาวร้อง ขอกฎหมายคุ้มครองสัตว์ เหตุป้ายร้านรับซื้อ-ขายเนื้อหมาสดปลีกส่ง

$
0
0

เมื่อวันที่ 2 เมษายน เกิดกระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์กของกลุ่มคนลาวซึ่งพากันเรียกร้องให้ออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสาเหตุเกิดจากมีการแชร์ภาพป้ายร้านแห่งหนึ่งในสปป.ลาว ระบุข้อความว่า “ที่นี่รับซื้อหมา ขายส่ง และย่อย ชิ้นหมาสด” ด้วยอักษรและภาษาลาว ด้านล่างมีภาษาเวียดนามกำกับ พร้อมภาพสุนัขพันธุ์ต่างประเทศ รวมถึงภาพถ่ายที่คาดว่าเป็นพื้นที่บริเวณร้านดังกล่าว ซึ่งมีสุนัขร่างกายผ่ายผอม 2-3 ตัว ยืนเกาะลูกกรงดูท่าเวทนา

ร้านซื้อหมาสปป.ลาว
เพจดังหลายแห่งของลาว ได้เผยแพร่ภาพดังกล่าวทำให้มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก อาทิ เพจ ໂທລະໂຄ່ງ THOLAKHONG ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 3 แสนราย , เพจ ຢາກຮູ້ yark hou, รวมถึงเฟซบุ๊กของเน็ตไอดอลชื่อดังอย่าง หล้าน้อย พอใจ Larnoy PhorJai ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 160,000 ราย

เพจ ໂທລະໂຄ່ງ THOLAKHONG ระบุว่า ต้องการให้สปป.ลาวมีกฎหมายปกป้องสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุนัข แม้จะเข้าใจว่าบางประเทศรับประทานเนื้อสุนัขเป็นปกติ แต่หากคนในสังคมลาวไม่เห็นด้วยกับธุรกิจการค้าขายเนื้อสุนัข ก็ควรออกกฎหมายดังกล่าว เพราะมีการโขมยสัตว์เลี้ยง ซึ่งคนลาวเหมือนสมาชิกในครอบครัว ข้อความมีดังนี้

“อยากให้ประเทศลาว มีกฎหมายปกป้องสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะแม่นหมา เข้าใจว่าแม่นสิทธิในการกินของบางประเทศ และบางคน แต่ในเมื่อคนในสังคมลาว บ่เห็นดีที่จะให้มีธุรกิจแบบนี้ เพราะเป็นการทำลายสัตว์เลี้ยง มีการลักและเอาสัตว์เลี้ยง (หมา) ที่คนเลี้ยงรักเหมือนสมาชิกในครอบครัว”

 

 พะ้่

ชาวลาวหลายร้อยราย ร่วมแสดงความคิดเห็น ส่วนใหญ่ตำหนิผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวว่ามีความโหดร้าย และการกินเนื้อสุนัขไม่ใช่วัฒนธรรมของลาว แต่ปัจจุบันมีร้าน ‘ปิ้งชิ้นหมา’ เกิดขึ้นหลายแห่ง โดยเข้าใจว่าเป็นของชาวเวียดนามซึ่งรับประทานสุนัขเป็นปกติ บางรายออกมาบอกว่า ให้จับเจ้าของร้าน ‘เข้าคุก’ แต่ได้มีผู้ค้านว่าลาวไม่มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์  จึงมีการเรียกร้องให้มีการออกฎหมายคุ้มครองสัตว์ ซึ่งมีผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เป็นคนไทยเข้าไปแสดงความเห็นเช่นกันว่า ในประเทศไทย แค่เตะสุนัขโดยไม่มีเหตุอันควร ก็เสียค่าปรับเป็นเงินจำนวนมากแล้ว

นอกจากนี้ บางส่วนยังระบุว่า ตนจะเดินทางไป ‘บุก’ ร้านดังกล่าวด้วยตนเองอีกด้วย

 

เป็นหยังบ่มีกฏหมายรักษาเบิ่งแยงสัตว์ ถ้าอยู่อเมริกา ติดคุกแน่นอน
เป็นหยังบ่มีกฏหมายรักษาเบิ่งแยงสัตว์ ถ้าอยู่อเมริกา ติดคุกแน่นอน

 

“เห็นแล้วเจ็บใจว่า กฎหมายบ้านเราบ่มีการควบคุมปัญหาแบบนี้ เพิ่นเบิ่งแล้วคือจะคิดเป็นเรื่องธรรมดา”

“…..เพื่อซื้อหามันก็บ่มีการเบิ่งแยงกวดสอบ หรือมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์เลย ประขาชนเราบ่สามารถเฮ็ดหยังได้เลยหวา ? เราทุกคนต้องร่วมมือช่วยกันแก้ไข”

“กฎหมายอยู่ลาว มันบ่มีแม่นบ่ ? คุ้มครองสัตว์รู้ความแนวนี้”

“ถ้ามีตำรวจปราบปรามคุ้มครองสัตว์เลี้ยงในลาว ข้อยแม่นคน 1 สมัครเด้อ”

กระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์กของกลุ่มคนลาวในครั้งนี้ จะนำไปสู่การพิจารณาประเด็นกฎหมายคุ้มครองสัตว์ได้ในอนาคตหรือไม่ ต้องติดตาม !

 

ซื้อเนื้อหมา สปป.ลาว

 

ความเห็นนี้บอกว่า ใครชอบกินหมา ก็ไม่ควรไปส่งเสริมให้ไปเอาหมาตามหมู่บ้านเพื่อแลกเงิน เพราะเป็นบาปหนัก
ความเห็นนี้บอกว่า ใครชอบกินหมา ก็ไม่ควรไปส่งเสริมให้ไปเอาหมาตามหมู่บ้านเพื่อแลกเงิน เพราะเป็นบาปหนัก

 

ความเห็นนี้สอบถามว่ากระทรวงวัฒนธรรมทำอะไรอยู่ ?
ความเห็นนี้สอบถามว่ากระทรวงวัฒนธรรมทำอะไรอยู่ ?

 

 

 

The post สะเทือนใจ ! โซเชียลลาวร้อง ขอกฎหมายคุ้มครองสัตว์ เหตุป้ายร้านรับซื้อ-ขายเนื้อหมาสดปลีกส่ง appeared first on มติชนออนไลน์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ : พนมรุ้ง แปลว่า ภูเขาใหญ่

$
0
0

พนมรุ้ง แปลว่า ภูเขาใหญ่ เป็นคำมาจากภาษาเขมร มีในศิลาจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง ว่า ภฺนุํรุง กับ วฺนํรุง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระนิพนธ์ในวิทยานิพนธ์ฯ อธิบายว่า

“คำว่าพนมรุ้งนั้นควรจะแปลว่า ‘ภูเขาใหญ่’ ทั้งนี้ โดยศึกษาเปรียบเทียบชื่อของภูเขานี้ที่ปรากฏในจารึกเขมร และที่ปรากฏในจารึกสันสกฤต” (จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2521)

ปราสาทพนมรุ้ง (จ. บุรีรัมย์) สร้างโดยพระราชาทรงพระนามว่า หิรัณยวรรมัน แห่งรัฐมหิธรปุระ [มีเมืองพิมาย (จ. นครราชสีมา) เป็นศูนย์กลาง อยู่ลุ่มน้ำมูลตอนบน] มีมเหสีพระนาม หิรัณยลักษมี
มีโอรส 2 พระองค์ ที่ได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์กัมพูชา ได้แก่ (1.) พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 (พระเชษฐา) เสวยราชย์ พ.ศ. 1633-1651 (2.) พระเจ้าธรณีนทรวรรมันที่ 1 (พระอนุชา) เสวยราชย์ พ.ศ. 1651-1655
มีนัดดา (หลาน) องค์หนึ่งพระนามกษิตีนทราทิตย์ (สมรสกับธิดาของพระราชาหิรัณยวรรมัน) ได้โอรสพระนาม พระเจ้าสุริยวรรมันที่ 2 เสวยราชย์กัมพูชา พ.ศ. 1655- 1695 โปรดให้สร้าง ปราสาทนครวัด
[เท่ากับพระราชาหิรัณยวรรมัน แห่งปราสาทพนมรุ้ง มีปนัดดา (เหลน) พระนาม พระเจ้าสุริยวรรมันที่ 2 แห่งปราสาทนครวัด]
เครือญาติอีก 2 พระองค์ที่ครองกัมพูชา ได้แก่ (1.) พระเจ้าธรณีนทรวรรมันที่ 2 เสวยราชย์ พ.ศ. 1695-1724 (2.) พระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 เสวยราชย์ พ.ศ. 1724-1744 โปรดให้สร้างปราสาทบายน เมืองนครธม

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : พนมรุ้ง แปลว่า ภูเขาใหญ่ appeared first on มติชนออนไลน์.


หนุมาน : เทพแห่งสรรพวิทยา (7)

$
0
0

ผู้ไปเที่ยวเมืองพาราณสีเล่าว่า ที่เมืองพาราณสีมีวิหารใหญ่เป็นที่สถิตของรูปปั้นหนุมาน และภายนอกวิหารเต็มไปด้วยฝูงลิง เสียดายที่ผู้เล่าไม่ได้บอกว่าสถานที่แห่งนั้นมีชื่อว่าอะไร แต่อ่านพบในเอกสารบางแห่งว่า ที่เมืองพาราณสี (Varanasi) อุตตรประเทศ มีวัดชื่อ Sankat Mochan Hanuman Temple ซึ่งโคสวามี ตุลสีทาส (Goswami Tulsidas) ผู้แต่ง “รามจริตมนัส” เป็นผู้สร้าง จึงเข้าใจว่ารูปหนุมานจะอยู่ที่วัดนี้ เพราะ “ตุลสีทาส” นับถือหนุมานมาก

 

Sankat Mochan Hanuman Temple (ภาพจาก http://temple.mountmadonna.org/)
Sankat Mochan Hanuman Temple (ภาพจาก http://temple.mountmadonna.org/)

ในหนังสือเกี่ยวกับความเชื่อของชาวอินเดียเล่มหนึ่งเล่าว่า ครั้งหนึ่งตุลสีทาสได้ตักน้ำรดต้นมะม่วง ซึ่งมีปิศาจสิงอยู่ (ตามคติในความเชื่อของชาวอินเดียโบราณว่า วิญญาณของบรรพบุรุษจะสิงอยู่ตามต้นมะม่วง) ปีศาจตนนั้นมีความพอใจได้บอกให้ตุลสีทาสขอพร ตุลสีทาสมีความจงรักภักดีต่อพระรามอยู่แล้ว จึงตั้งความปรารถนาขอพรว่า ในชีวิตนี้ขอให้ได้เห็นพระรามสักครั้ง ปีศาจตนนั้นได้แนะนำให้ตุลสีทาสไปพบกับหนุมานก่อน คือให้ไปฟังรามายณะที่เทวาลัย ตุลสีทาสทำตามคำแนะนำก็ได้พบกับหนุมาน และต่อมามีโอกาสได้เห็นพระรามลีลาอยู่ที่ภูเขาจิตรกูฏ เรื่องเดิมกล่าวไว้เพียงเท่านี้
ผู้อ่านอาจสงสัยว่า ตุลสีทาสไปพบหนุมานได้อย่างไร เมื่อผู้เขียนอ่านพบครั้งแรกก็นึกสงสัยเช่นเดียวกัน เพราะกาลเวลาระหว่างหนุมานกับตุลสีทาสห่างไกลกันมาก รามายณะเกิดเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ส่วนตุลสีทาสเพิ่งเกิดเมื่อประมาณ 400 ปีมานี้เอง

หลังจากตรวจสอบประวัติหนุมานอยู่นานก็พบคำตอบ คือมีเรื่องปรากฏอยู่ในรามายณะนั้นเอง

ตามเรื่องว่า เมื่อเสร็จศึกลงกาแล้ว พระรามปูนบำเหน็จรางวัลแก่ทหารที่ร่วมทำสงคราม พระรามได้ถามหนุมานว่าต้องการอะไรตอบแทน จะพระราชทานให้ตามที่ขอ เพราะหนุมานได้รับหน้าที่หลายอย่าง ต้องเหน็ดเหนื่อยฝ่าอันตรายมากกว่าใครๆ แต่หนุมานกลับไม่สนใจไยดีกับตำแหน่งหรือแก้วแหวนเงินทองที่จะพระราชทาน

หนุมานผู้บำเพ็ญตบะ มีความมักน้อย เป็นพรหมจารี จึงทูลว่า “ตราบใดที่ยังมีคนอ่านคนฟังรามายณะอยู่ ก็ขอให้มีชีวิตอยู่ตราบนั้น ไม่ประสงค์สิ่งใดอีกแล้วพระเจ้าข้า”

ก็ในปัจจุบันคนอินเดียและคนอีกหลายประเทศในโลก ยังอ่านยังฟังรามายณะกันอยู่ หนุมานจึงยังไม่ตายและอยู่ต่อมาจนได้พบกับตุลสีทาส แล้วหลังจากนั้นได้เกิดอะไรขึ้น ?

The post หนุมาน : เทพแห่งสรรพวิทยา (7) appeared first on มติชนออนไลน์.

ย้อนอดีตกรุ (ง) แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 1

$
0
0

เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ ทุกวันนี้

พระราชวังโบราณ อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง
กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต

ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีกครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมนุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว
เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน”

สุจิตต์ เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือ ขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง

เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ. 2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ จากนั้น ได้หาทางทำอุโมงค์ และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชนยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง

เครื่องทองจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ (ภาพจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
เครื่องทองจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ (ภาพจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

เรื่องราวทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านรายงานฉบับหนึ่งของ นายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากรในยุคนั้น ซึ่ง “มติชน” จะทยอยนำเสนอเป็นตอนๆ ดังเนื้อหาต่อไปนี้

รายงานของนายกฤษณ์ อินทโกศัย
รองอธิบดีกรมศิลปากร

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2500 ได้มีเหตุบังเอิญให้ได้ค้นพบสมบัติโบราณครั้งใหญ่ขึ้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวคือ ได้ค้นพบเครื่องทองคำราชูปโภคและพระพุทธรูปพระสถูปทองคำและพระพิมพ์ที่บรรจุไว้ในคูหาภายในองค์พระปรางค์องค์ใหญ่ในวัดราชบูรณะเป็นอันมาก นอกจากได้พบสมบัติโบราณอันล้ำค่าเหล่านั้นแล้ว ยังมีสิ่งมีค่าทางศิลปะเป็นอย่างยิ่งอีกส่วนหนึ่ง คือที่ผนังคูหาบรรจุเครื่องทองคำราชูปโภคนั้น มีภาพเขียนสีอย่างงดงามไว้เต็มทุกด้าน กรมศิลปากรจึงได้เสนอเรื่องรัฐบาลชุด พลเอก ถนอม กิตติขจร ของบประมาณสร้างอุโมงค์และทำบันไดลงไปสู่ห้องภาพเขียนเพื่อเปิดให้นักศึกษา และประชาชนเข้าชมและศึกษาหาความรู้ต่อไป ซึ่งได้รับความกรุณาจากรัฐบาล โดยอนุมัติงบประมาณให้ตามที่เสนอ

พบพระพิมพ์และสัมฤทธิ์ “แน่นกรุ”

เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรลงไปเก็บของในห้องบรรจุเครื่องทองภายในกรุ ครั้งนั้นได้ตรวจพบลักษณะบางประการส่อแสดงว่า อาจมีกรุเก็บของอยู่รอบนอกของห้องทองห้องนี้อีกอย่างน้อยก็หนึ่งห้อง และมีกรณีอย่างอื่นประกอบให้น่าจะเป็นจริงอย่างคาดหมายไว้ กรมศิลปากรจึงดำเนินการสร้างอุโมงค์และบันไดเสียเอง แทนที่จะเปิดประมูลให้ผู้รับเหมาจัดสร้าง เพราะถ้ามีกรุอยู่ดังคาดหมายก็จะได้นำสิ่งของขึ้นเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ แต่ถ้ามอบให้ผู้รับเหมาสร้างก็ไม่แน่ใจว่าจะได้สิ่งของเหล่านั้น ซึ่งชาติอาจสูญเสียสมบัติมีค่าไป

ความคาดหมายของเจ้าหน้าที่ได้เป็นความจริงขึ้นเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2501 กล่าวคือ ขณะที่คนงานเจาะผนังพระปรางค์ด้านนอกของคูหาที่เคยบรรจุเครื่องทองทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อหล่อเสาผนังได้พบกรุบรรจุพระพิมพ์อยู่มากมาย จึงได้รายงานให้อธิบดีกรมศิลปากรและผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ คณะกรรมการ ซึ่งทางราชการแต่งตั้งไว้เพื่อการสำรวจขุดค้นโบราณวัตถุ อันประกอบด้วยข้าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและข้าราชการกรมศิลปากรร่วมกัน จึงได้เก็บพระพิมพ์เหล่านั้นขึ้นรักษาไว้ กรุนี้คงมีแต่พระพิมพ์ หามีพระหล่อสำริดไม่ เมื่อมีประสบการณ์เช่นนี้ จึงให้ดำเนินการเจาะตรวจที่ผนังด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ดูอีก ก็พบมีกรุบรรจุพระพิมพ์และพระพุทธรูปสำริดเต็มแน่นทั้งกรุ พระพิมพ์บรรจุอยู่ตอนล่าง พระพุทธรูปสำริดวางทับพระเครื่องอยู่ตอนบน

การบรรจุนั้นคงบรรจุพระพิมพ์วางซ้อนกันอย่างมีระเบียบ แต่พระพุทธรูปหล่อวางสลับซับซ้อนกันเท่าที่จะมีช่องว่างสอดบรรจุไว้ได้ ฉะนั้น พระพุทธรูปหล่อสำริดที่ได้จากกรุนี้มีจำนวน 127 องค์ ส่วนพระพิมพ์มีอยู่มากมายเช่นเคย

หาวิธีลงกรุทิศตะวันตก

เมื่อได้พบกรุทางด้านทิศตะวันออกเช่นนี้แล้ว ก็เห็นจำเป็นที่จะลองตรวจทางด้านทิศตะวันตกด้วย แต่การที่จะเจาะตรวจทางทิศตะวันตกเป็นของยากไม่เหมือนทางด้านทิศตะวันออก เพราะทางด้านทิศตะวันออกเปิดโล่งเมื่อทำบันไดลงอุโมงค์ไว้แล้ว แต่ทางทิศตะวันตกเป็นผนังศิลาแลงที่ทึบแน่น จึงต้องใช้เวลาตรวจอย่างละเอียดว่าจะเจาะได้อย่างไรจึงจะไม่เสียหายแก่องค์พระปรางค์และไม่ทำให้เสียความทรงตัวของผนังศิลาแลงและองค์พระปรางค์ด้วย จึงให้เจ้าหน้าที่ขึ้นไปตรวจทางเบื้องบนของกรุที่พบแล้ว เพราะทางเบื้องบนนั้นเป็นห้องกรุเก่า ซึ่งผู้ร้ายได้ขุดเจาะไว้เมื่อคราวลักลอบขนเครื่องทองคำ ความประสงค์ก็เพื่อจะหาทางลงไปสู่มุมทางด้านทิศตะวันตก โดยทางห้องกรุเก่านี้ แต่เมื่อได้ตรวจชั้นบนโดยละเอียด ก็พบลักษณะตามทางวิชาการเข้าอีก ว่าชั้นบนอาจมีกรุไม่น้อยกว่า 3 ห้อง จึงพักการหาวิธีลงไปสู่มุมชั้นล่างด้านทิศตะวันตกไว้ก่อน หันมาสนใจที่จะเปิดกรุห้องชั้นบนนี้ภายหลังที่ได้ตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจแล้วก็เริ่มเจาะศิลาแลงทางมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558

The post ย้อนอดีตกรุ (ง) แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 1 appeared first on มติชนออนไลน์.

งามหลาย! หลวงพระบางลุ้น’นางสังขาน’อุ่นเครื่องสงกรานต์ 2016

$
0
0

ใกล้เข้ามาทุกทีสำหรับประเพณีสงกรานต์ ที่ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย หากแต่ฉลองกันทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ซึ่งรับพุทธศาสนาจากอินเดียมาผนวกกับความเชื่อดั้งเดิมจนกลายเป็นเทศกาลแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ศักราชใหม่ ซึ่งในขณะนี้เพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่าง สปป.ลาว เขาคึกคักอย่างยิ่ง เพราะเริ่มมีการคัดตัวผู้เข้าประกวด “นางสังขาน” หรือนางสงกรานต์ กันไปเรียบร้อยแล้ว โดยจะจัดการประกวดกันที่เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง

เฟซบุ๊ก Luang Prabang Moradok ได้เผยแพร่ภาพความงดงามของสาวๆ ผู้เข้าประกวดให้ได้ยลโฉมกันอย่างเต็มตา ซึ่งก็มีชาวลาวเข้าไปแสดงความคิดเห็นและให้กำลังใจกันอย่างล้นหลาม

ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของสาวงามที่ผ่านเข้ารอบ 30 คนสุดท้าย ชอบใคร เชียรใคร ส่งกำลังใจไปหลวงพระบางโลด !!!!

 

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

นางสังขาน

ขอบคุณเฟซบุ๊ก Luang Prabang Moradok

 

 

The post งามหลาย! หลวงพระบางลุ้น’นางสังขาน’ อุ่นเครื่องสงกรานต์ 2016 appeared first on มติชนออนไลน์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ : รัฐเอกราชในอีสาน นับถือศาสนาผี, พราหมณ์, พุทธ

$
0
0

อีสานยุคดั้งเดิม ไม่ได้มีการเมืองการปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเป็นอาณาจักรเดียวกัน แต่มีลักษณะเป็นรัฐเอกราชหลายรัฐที่เกี่ยวดองเป็นเครือญาติ ซึ่งวิชาการสมัยใหม่เรียก มัณฑละ ดังนี้

1. บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูล มีมัณฑละศรีจนาศะ ตั้งแต่นครราชสีมาถึงบุรีรัมย์ นับถือพุทธมหายาน [เกี่ยวกับมัณฑละศรีจนาศะ มีคำอธิบายอย่างละเอียดอยู่ในวารสารเมืองโบราณ (ปีที่ 42 ฉบับที่ 1) มกราคม-มีนาคม 2559]
2. บริเวณตอนปลายแม่น้ำมูล หรือจุดรวมโขง-ชี-มูล มีรัฐเจนละ ตั้งแต่อุบลราชธานีและปริมณฑล ได้แก่ สุรินทร์, ศรีสะเกษ, ยโสธร ฯลฯ
3. บริเวณลุ่มน้ำชี ตั้งแต่ชัยภูมิ, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์ ฯลฯ นับถือพุทธเถรวาท
4. บริเวณสองฝั่งโขงอีสานเหนือ มีรัฐศรีโคตรบูร มีเวียงจันเป็นศูนย์กลาง นับถือพุทธเถรวาท

บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูล เริ่มตั้งแต่ลำตะคอง (นครราชาสีมา) ถึงลำปลายมาศ (บุรีรัมย์) รวมพื้นที่แถบทิวเขาพนมดงรัก ได้แก่ ภูพนมรุ้ง, ภูอังคาร, ภูปลายบัด
ล้วนนับถือศาสนาผีกับศาสนาพุทธแบบผสมผสานระหว่างมหายานกับเถรวาท (หีนยาน) ในวัฒนธรรมทวารวดี แบบเดียวกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1000
ต่อไปข้างหน้า ราวหลัง พ.ศ. 1500 บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูลจะมีศูนย์กลางสำคัญ นับถือมหายานอยู่ที่เมืองพิมาย [เป็นต้นแบบให้พระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 สร้างปราสาทบายน ที่นครธม เนื่องในพุทธศาสนามหายาน] ขณะเดียวกันมีเมืองพนมรุ้งนับถือศาสนาพราหมณ์

ปราสาทพิมายกับปราสาทพนมรุ้ง จะเป็นต้นแบบให้พระปรางค์ในรัฐละโว้, รัฐ อโยธยา, และรัฐอยุธยา ซึ่งเป็นเครือญาติ เช่น พระปรางค์วัดมหาธาตุ อยุธยา กับ พระปรางค์อื่นๆ จนท้ายสุด คือพระปรางค์วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ

ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา
ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา

 

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : รัฐเอกราชในอีสาน นับถือศาสนาผี, พราหมณ์, พุทธ appeared first on มติชนออนไลน์.

ย้อนอดีตกรุ (ง) แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 2

$
0
0

เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ ทุกวันนี้

พระราชโบราณ อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง
กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต

ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีกครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมนุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว

IMG_2748

เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน”
สุจิตต์ เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือ ขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง

เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ. 2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ จากนั้น ได้หาทางทำอุโมงค์ และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชนยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง

 

(ซ้าย) ปกหนังสือ ขุนเดช โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ (ขวา) โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่องขุนเดช ฉายเมื่อ พ.ศ.2523 (ภาพจากมูลนิธิหนังไทย)
(ซ้าย) ปกหนังสือ ขุนเดช โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ (ขวา) โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่องขุนเดช ฉายเมื่อ พ.ศ.2523 (ภาพจากมูลนิธิหนังไทย)

เรื่องราวทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านรายงานฉบับหนึ่งของ นายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากรในยุคนั้น ซึ่ง “มติชน” จะทยอยทำเสนอเป็นตอนๆ
ดังเนื้อหาต่อไปนี้

รายงานของนายกฤษณ์ อินทโกศัย
รองอธิบดีกรมศิลปากร (ต่อจากตอนที่แล้ว)

หลงทาง

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2501 เจาะลงไป 3 ชั่วโมงก็รู้ว่าผิดทางเสียแล้ว จึงย้ายที่เจาะใหม่มาทางทิศตะวันตกห่างจากที่เจาะเดิมประมาณ 20 เซนติเมตร จุดที่เจาะเข้าไปนี้ลึกประมาณ 80 เซนติเมตร ทะลุตรงห้องกรุพอดี ห้องกรุกว้าง 0.70 เมตร ยาว 1.36 เมตร สูง 2.00 เมตร บรรจุพระพิมพ์และพระพุทธรูปสำริดไว้เต็มแน่น และที่ผนังด้านทิศตะวันตกเขียนภาพสีไว้เต็มผนัง ส่วนด้านอื่นไม่มีภาพคงโบกปูนไว้อย่างธรรมดา เมื่อขนของออกจากห้องนี้หมดแล้ว ก็เจาะทางด้านทิศใต้

อุโมงค์ที่กรมศิลปากรเจาะลงสู่กรุชั้นล่างของพระปรางค์วัดราชบูรณะ
อุโมงค์ที่กรมศิลปากรเจาะลงสู่กรุชั้นล่างของพระปรางค์วัดราชบูรณะ

พบพระพิมพ์มหาศาล

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2501 เจาะลึกประมาณ 80 เซนติเมตร ก็พบกรุมีพระพิมพ์และพระพุทธรูปเต็มแน่น แล้วเจาะทางด้านทิศเหนืออีก พบกรุมีพระพิมพ์และพระพุทธรูปหล่อเต็มแน่นเช่นเดียวกัน การเจาะทางด้านทิศใต้และทิศเหนือ ไม่พลาดเหมือนเจาะห้องทางด้านทิศตะวันตก เจาะได้ตรงห้องพอดี เพราะได้แบบฉบับจากห้องทางด้านทิศตะวันตกเป็นหลักไว้แล้ว และห้องทิศใต้และเหนือมีภาพเขียนเหมือนห้องทิศตะวันตก ขนาดกว้างยาวและสูงเหมือนห้องที่ 1

รวมสิ่งของที่ได้จากกรุทั้ง 5 ห้อง เป็นพระพุทธรูปและมีเทวรูปรวม 618 องค์ พระพิมพ์นับด้วยแสนดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ได้พักการหาลู่ทางที่จะเจาะลงหามุมห้องบรรจุเครื่องทางด้านทิศตะวันตกไว้ก่อน เพราะไปพบกรุที่พื้นชั้นบนเข้า ดังนั้นเมื่อขนสิ่งของออกจากกรุชั้นบนทั้ง 3 ห้องแล้ว ก็เริ่มคลำทางที่จะลงไปสู่มุมทางด้านทิศตะวันตกตามความตั้งใจเดิมเห็นว่าระยะทางที่จะลงได้ใกล้ที่สุด และไม่เป็นอันตรายแก่ความทรงตัวขององค์ปรางค์นั้น ควรจะเจาะเปิดพื้นกรุชั้นบนด้านทิศใต้และทิศเหนือลงไป จึงลงมือเปิดพื้นห้องกรุชั้นบนด้านทิศใต้ก่อน

พระพิมพ์แบบต่างๆ พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะจำนวนมหาศาล
พระพิมพ์แบบต่างๆ พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะจำนวนมหาศาล

“พระใบขนุน” ในกรุเงินกรุทอง

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2501 เจาะศิลาแลงเข้าไปสองแผ่นก็ทะลุ มองเห็นกรุมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่เบื้องล่างอย่างถนัดชัดเจนมีพระบรรจุอยู่ค่อนห้อง ไม่เต็มแน่นเหมือนมุมอื่น จัดการขนขึ้นและเปิดพื้นห้องกรุชั้นบนด้านทิศเหนือ
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2501 เจาะเข้าไปชั่วศิลาแลงสองแผ่นก็ทะลุ มองเห็นกรุมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บรรจุพระไว้ค่อนห้องเช่นเดียวกัน กรุนี้ควรจะเรียกว่ากรุเงินกรุทอง เพราะบรรจุพระพิมพ์แผ่นปางลีลา ลักษณะคล้ายกลีบขนุนขององค์พระปรางค์ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระใบขนุน” ล้วนๆ พระใบขนุนนี้เองที่ประชาชนพากันเบียดเสียดกันเข้าบริจาคเงินสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อจะขอรับพระนี้เป็นของสมนาคุณ พระใบขนุนช่วยให้ได้เงินสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานหลายแสนบาท กรุนี้เป็นกรุที่ 7 ที่กรมศิลปากรเปิด ในกรุนอกจากพระใบขนุนแล้ว ก็มีพระพิมพ์อย่างอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อยและมีพระพุทธรูปสำริดขนาดย่อมอยู่ด้วย 20 กว่าองค์
การเปิดกรุทั้ง 7 ของกรมศิลปากร ก็ยุติลง เพื่อทำการคัดเลือกพระที่ขนขึ้นมาแล้วจะได้สำรวจต่อไปอีกว่าจะยังมีกรุอยู่อีกหรือไม่ ซึ่งถ้ามี ก็จะเสนอรายงานให้ทราบกันอีกในโอกาสต่อไป

พระพุทธรูปทองคำ พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธรูปทองคำ พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

กฤษณ์ อินทโกสัย รองอธิบดีกรมศิลปากร ถือพระแสงขรรค์ชัยศรี ภาพจากหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย เมื่อ พ.ศ. 2500 ครั้ง "กรุแตก" (ภาพถ่ายจากนิทรรศการพิเศษ "เครื่องทองอยุธยา มรดกโลก มรดกของแผ่นดิน" จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ถึง 5 ธันวาคม 2559
กฤษณ์ อินทโกสัย รองอธิบดีกรมศิลปากร ถือพระแสงขรรค์ชัยศรี ภาพจากหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย เมื่อ พ.ศ. 2500 ครั้ง “กรุแตก” (ภาพถ่ายจากนิทรรศการพิเศษ “เครื่องทองอยุธยา มรดกโลก มรดกของแผ่นดิน” จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ถึง 5 ธันวาคม 2559

ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558

ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

 

The post ย้อนอดีตกรุ (ง) แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 2 appeared first on มติชนออนไลน์.

Viewing all 1000 articles
Browse latest View live