Quantcast
Channel: moddum –มติชนออนไลน์
Viewing all 1000 articles
Browse latest View live

เปิดตัว “Slow Success ยิ่งใหญ่ได้โดยก้าวเล็กๆ”งานเขียนสร้างแรงบันดาลใจ คนประสบความสำเร็จ แบบฉบับ “ญี่ปุ่น”

$
0
0

เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บรรยากาศการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 44 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 14 (Bangkok International Book Fair 2016) ยังคงมีประชาชนทยอยเดินทางมาร่วมงานอย่างต่อเนื่องจนแน่นเต็มพื้นที่เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ สำหรับบูธสำนักพิมพ์มติชน โซนพลาซา ยังคงมีประชาชนเข้ามาซื้อหนังสือต่าง ๆ อย่างเนืองแน่น ขณะที่กิจกรรมที่น่าสนใจของสำนักพิมพ์ มีงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “Slow Success ยิ่งใหญ่ได้โดยก้าวเล็กๆ” โดยผู้เขียนคือ “เกตุวดี Marumura”และ “วสุ Marumura” 2 คอลัมนิสต์ Marumura ซึ่งเป็นเว็บไซต์ชื่อดังในหมู่คนรักญี่ปุ่น หนังสือเล่มดังกล่าว เป็นงานเขียนที่ออกมาจึงสะท้อนภาพความรักและผูกพันอย่างละมุนละไม พูดถึงบุคคลต้นแบบการดำเนินชีวิตและทำงาน ทั้งหมด 30 คน ไล่ตั้งแต่นักเขียน นักธุรกิจ จิตรกร แม่บ้านไปจนถึงพนักงานโรงแรม ที่เลือกเดินในเส้นทางของตัวเอง ไม่ยึดติดตามแบบสังคม จนประสบความสำเร็จ

เกตุวดี กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ทุกท่านในหนังสือประสบความสำเร็จ จะต้องมีสองอย่างหลักๆ คือ
1.passion หรือแรงบันดาลใจ
2.การพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง การปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ไม่คิดว่าตัวเองดีพอแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เห็นจาก 15 คนที่เขียนถึง

ด้าน วสุ กล่าวว่า เรื่อง passion หรือแรงบันดาลใจ อยากขอยกตัวอย่างคุณมิยาโมโตะ ชิเกรุ คนที่สร้างตัวละครมาริโอ้ขึ้นมา ทุกคนคงรู้ว่ามาริโอ้นั้นมีหนวด แต่มีเหตุผลว่าทำไมถึงมีหนวด คือสมัยก่อนกราฟฟิคมันไม่ละเอียด จะเห็นเป็นดอทดอท คุณมิยาโมโตะ ชิเกรุ จึงอยากสร้างคาแรคเตอร์ขึ้นมา เลยลากสีดำให้เป็นหนวด ให้คนจดจำได้ และที่ต้องใส่หมวก เพราะเวลาตัวละครมันวิ่ง กราฟฟิคที่ไม่ละเอียดจะทำให้ไม่เห็นผมที่ปลิว เขาจึงสร้างให้มาริโอ้ใส่หมวก เหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจที่เกิด และการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง

 

Slow Success ยิ่งใหญ่ได้โดยก้าวเล็กๆ

Slow Success ยิ่งใหญ่ได้โดยก้าวเล็กๆ

Slow Success ยิ่งใหญ่ได้โดยก้าวเล็กๆ

Slow Success ยิ่งใหญ่ได้โดยก้าวเล็กๆ

The post เปิดตัว “Slow Success ยิ่งใหญ่ได้โดยก้าวเล็กๆ” งานเขียนสร้างแรงบันดาลใจ คนประสบความสำเร็จ แบบฉบับ “ญี่ปุ่น” appeared first on มติชนออนไลน์.


ทีม ‘ทวงคืน’ เฮ ! อธิบดีกรมศิลป์สำรวจ ‘ปลายบัด 2’ สถานที่พบ ‘โพธิสัตว์ประโคนชัย’

$
0
0

เมื่อวันที่ 6-7 เมษายน มีการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาและคณะทำงานศึกษาเอกสารและหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทหินพนมรุ้ง โดยมี นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธาน ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ศึกษาสภาพข้อเท็จจริงและหลักฐานทางโบราณคดี ในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง,ปราสาทหินเขาปลายบัด1 รวมถึงปราสาทหินเขาปลายบัด 2 จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่พบประติมากรรมสัมฤทธิ์แบบประโคนชัย อายุกว่า 1,300 ปีซึ่งเกิดกระแสทวงคืนจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะผู้ร่วมเดินทาง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิ นายจารึก วิไลแก้ว ผอ.สำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา, นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง, นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ อดีต ผอ.สำนักโบราณคดี , นางอมรา ศรีสุชาติ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ, นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ (ภาษา เอกสาร และหนังสือ), นางมยุรี วีระประเสริฐ อดีตอาจารย์คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร, นายพุฒ วีระประเสริฐ อดีตอธิการบดี ม.ศิลปากร, นายปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ อดีตนักโบราณคดี กรมศิลปากร เป็นต้น

ด้านนายทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระ ผู้มีบทบาทเคลื่อนไหวทวงคืนพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า เมื่อทราบว่านายอนันต์ ชูโชติ และคณะทำงานชุดนี้ สละเวลาขึ้นไปดูเขาปลายบัด อันเป็นที่ตั้งของปราสาทเขาปลายบัด 1 และปราสาทเขาปลายบัด 2ตนรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ โดยหวังว่าจะทำให้เห็นหลักฐานทางโบราณคดีชัดเจนมากขึ้นกว่าข้อมูลในหนังสือที่กรมศิลปากรเคยตีพิมพ์เกี่ยวกับโบราณสถานดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2504 และ พ.ศ.2532 ซึ่งมีความผิดพลาด หากมีการแก้ไขข้อมูลเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมจะเป็นเรื่องที่ดีมาก

“การศึกษาที่ผ่านมาในอดีตของกรมศิลปากรมีข้อผิดพลาด ให้คำบรรยายไม่ตรงกับสภาพปราสาท หลักฐานจากปราสาทเขาปลายบัด 2 สำคัญกว่าปราสาทเขาปลายบัด 1 แน่นอน แต่ครั้งนี้สภาพปราสาทเห็นได้ชัดจากความแห้งแล้ง หลักฐานที่ได้จากการเก็บข้อมูลที่เคยนำไปมอบให้ อธิบดีกรมศิลปากร ผ่านรองอธิบดี ที่ท่านตั้งเป็นประธานกรณีประติมากรรมสำริดที่หายไปจากปราสาทปลายบัด 2 นั้น คงอธิบายสิ่งที่คณะทำงานเห็นได้เป็นอย่างดี ความรู้ใหม่ที่ได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเปลี่ยนแปลงแนวคิดเดิมได้เสมอ เรื่องนี้เข้าใจดีและไม่อาจตำหนิได้ หากมีการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม” นายทนงศักดิ์กล่าว

ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ก Nakornchaiburin Silpakorn

 

ทางขึ้นปราสาทเขาปลายบัด 2 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ทางขึ้นปราสาทเขาปลายบัด 2 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เดินนำนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ขึ้นสู่ปราสาทเขาปลายบัด 2
นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เดินนำนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ขึ้นสู่ปราสาทเขาปลายบัด 2
(จากซ้าย) นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง , นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ที่ปราสาทเขาปลายบัด 2 พร้อมด้วยนายวสันต์ เทพสุริยานนท์ (สวมหมวกแก๊ป) หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
บริเวณกำแพงปราสาทเขาปลายบัด 2 ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง
บริเวณกำแพงปราสาทเขาปลายบัด 2 ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง
ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาปลายบัด 2 ที่ตกอยู่บนผิวดิน
ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาปลายบัด 2 ที่ตกอยู่บนผิวดิน

ปลายบัด 2

ปลายบัด 2

ร่องรอยการลักลอบขุดเมื่อราว 50 ปีมาแล้ว

ปลายบัด2

 

 

 

 

 

The post ทีม ‘ทวงคืน’ เฮ ! อธิบดีกรมศิลป์สำรวจ ‘ปลายบัด 2’ สถานที่พบ ‘โพธิสัตว์ประโคนชัย’ appeared first on มติชนออนไลน์.

รู้ทัน-เอาตัวรอด ในโลก’สมัยใหม่’สงครามลับ ก่อการร้าย และความตื่นกลัว

$
0
0

คล้ายกับว่าไม่มีสถานที่แห่งไหนบนโลกใบนี้ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยได้อีกแล้ว เพราะนับแต่เหตุการณ์ “9/11” ไล่เรียงมาจนถึงเหตุการณ์ระเบิดที่เมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ล่าสุดก็ได้ทำให้โลกทั้งใบตกอยู่ในความตื่นกลัวการก่อการร้าย หรือสงครามลับที่ไม่มีใครล่วงรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด

ในฐานะผู้ให้ข่าวสาร ความรู้ และมุมมองแง่คิดกับสังคมเรื่อยมา “สำนักพิมพ์มติชน” มีผลงานที่เกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ตีพิมพ์อยู่หลายเล่ม และล่าสุด 3 ผลงานที่จะช่วยฉายภาพให้เห็นถึงเรื่องราวเหล่านี้ทั้งหมด ได้แก่ THOU SHALL FEAR : เจ้าจงตื่นกลัว การก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ, ISIS : เจาะลึกกองกำลังรัฐอิสลาม และ The Way Of the Knife เจาะลึกสงครามลับซีไอเอ

ทั้งหมดได้มีการเปิดตัวในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 44 ณ ห้องมีตติ้งรูม 4 ที่ใช้เป็นสถานที่พูดคุยในวันดังกล่าว มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมฟังการเสวนาจนเนืองแน่น

โดยมีวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ จรัญ มะลูลีม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านตะวันออกกลางศึกษา, กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช นักวิชาการอิสระด้านการก่อการร้าย ผู้เขียนหนังสือ THOU SHALL FEAR : เจ้าจงตื่นกลัว การก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ และ ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศหนังสือพิมพ์มติชน ผู้แปลหนังสือ ISIS : เจาะลึกกองกำลังรัฐอิสลาม

กับคำถามแรกที่เอ่ยขึ้น “การก่อการร้ายคืออะไร?”

นิยามคำว่า “ก่อการร้าย”

กับเป้าหมายทำไมต้องเป็น “ยุโรป”?

“สำหรับคำถามนี้ ต้องบอกก่อนว่านิยามของคำว่าการก่อการร้ายเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน”

“อย่างไรก็ตาม ในที่สุดก็ได้มีคำนิยามเกี่ยวกับการก่อการร้ายที่ครอบคลุมมากที่สุด โดย อเล็กซ์ ชมิด นักวิชาการด้านการก่อการร้าย ว่า เป็นการก่อความรุนแรงทางการเมืองชนิดหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์หลักในการส่งเสียงแสดงออกของตัวเองหรือข้อเรียกร้องถึงตัวรัฐ”

นี่คือสิ่งที่กฤดิกรเริ่มต้น ก่อนที่เขาจะอธิบายต่อว่า ส่วนเหยื่อของการก่อการร้ายนั้นจะเป็นการเลือกมาแบบสุ่ม ไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นใคร และไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร

ขณะที่สมัยก่อนเมื่อมีสงคราม เราก็มักจะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในพื้นที่สงคราม แต่การก่อการร้ายเป็นรูปแบบของการก่อความรุนแรงที่แทบจะไม่มีโอกาสในการป้องกันได้

“อย่างไรก็ตามนิยามของชมิดยังคงมีข้อบกพร่องคือนิยามของคำว่าความรุนแรงของคนเราที่ไม่เท่ากัน อย่างการรัฐประหารปี 49 บางคนก็มองว่าไม่รุนแรง ขณะที่อีกฝ่ายมองว่าเป็นความรุนแรง ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถามว่าขนาดใดถึงเรียกว่าความรุนแรง แต่ถึงอย่างไรก็เป็นคำนิยามที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกในเวลานี้ ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่าการก่อการร้ายเป็นการสมาทานความคิดก่อนโลกสมัยใหม่เข้ามาในโลกสมัยใหม่” นายกฤดิกรกล่าว

เมื่อถามว่าผู้ก่อการร้ายพยายามส่งสารไปถึงใคร กฤดิกรบอกว่า “การก่อเหตุที่ยุโรปไม่ได้มีเป้าหมายในการส่งสารไปถึงคนยุโรป แต่เป็นคนในพื้นที่ของเขาเองมากกว่า”

“จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทำให้ผู้คนพยายามอพยพหนีไปยังยุโรป ซึ่งเปรียบเสมือนกับความหวังของพวกเขาในการเริ่มต้นชีวิตใหม่”

“ดังนั้นกลุ่มผู้ก่อการร้ายจึงไปก่อเหตุที่นั่นเพื่อที่จะบอกว่าความหวังของคนเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง ไม่ว่าจะหนีไปไหนพวกเขาก็ตามไปได้ อีกทั้งยังเป็นการทำให้คนในยุโรปกลัวผู้อพยพอีกด้วย”

“การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเป้าประสงค์ในการทำลายยุโรป เพราะการก่อการร้ายเพียงครั้งสองครั้ง ไม่สามารถที่จะล้มประเทศในยุโรปได้”

“แต่เป็นการส่งสารแก่คนในพื้นที่ที่กำลังจะอพยพว่าเลิกล้มที่จะหนีและมาเข้าร่วมกับเราดีกว่า”

จากซ้าย จรัญ มะลูลีม, กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
จากซ้าย จรัญ มะลูลีม, กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์

“อิสลาม” หาใช่ความรุนแรง

และหากไร้ซึ่ง “มุสลิม” การก่อการร้ายก็ยังคงอยู่

ปัจจุบันมีความพยายามทำให้การก่อร้ายถูกมองว่าเชื่อมโยงกับศาสนาอิสลาม?

จรัญ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรง ได้กล่าวว่า แท้จริงแล้วคำว่าอิสลามนั้นหมายถึงสันติภาพ ซึ่งเป็นชื่อของศาสนา รวมถึงคำสอนยังต่อต้านการใช้ความรุนแรง

“ดังนั้นผู้ที่นิยมความรุนแรงนั้นเป็นผู้ที่กระทำการขัดกับหลักทางศาสนา อีกทั้งศาสนาอิสลามยังต่อต้านวัตถุนิยมสุดโต่ง และจิตนิยมสุดโต่ง พร้อมให้ดำเนินทางในทางสายกลางอีกด้วย ที่ไม่ตึงในทั้งด้านวัตถุและจิตจนเกินไป”

อย่างไรก็ตาม จรัญได้เสริมว่า ทั้งนี้มีสองสิ่งที่เป็นสิ่งที่เลวร้ายแต่สามารถให้กระทำได้ในศาสนาอิสลาม หนึ่งคือ การหย่าร้าง และสองคือ สงคราม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สุดท้ายที่พึงกระทำได้เมื่อไม่สามารถใช้วิธีการอื่น

“แต่สงครามในที่นี้เป็นสงครามเชิงป้องกันมากกว่ารุกราน ขณะที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นการตีความที่สุดโต่งและไม่อยู่ในหลักศาสนาอิสลาม”

“ในอีกมุมหนึ่งสิ่งที่น่าคิดคือ ทำไมเด็กเยาวชนในประเทศยุโรปจึงให้ความสนใจกับแนวคิดของไอซิสและเดินทางไปเข้าร่วม ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องมีการหาคำตอบต่อไป”

จรัญกล่าวอีกว่า อีกกรณีหนึ่งเรามีความเข้าใจผิดว่าการระเบิดพลีชีพมีจุดเริ่มต้นที่ตะวันออกกลาง แต่ความจริงแล้วมีจุดเริ่มต้นในประเทศศรีลังกา และจึงค่อยมีการแพร่กระจายออกไป

“ทั้งนี้ การระเบิดพลีชีพถือเป็นการฆ่าตัวตายซึ่งถือเป็นความผิดบาปในศาสนา และเป็นสิ่งที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ”

“ขณะที่ผู้ที่นิยมความรุนแรงและตีความไปทางความรุนแรงเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น การที่จะเหมารวมว่าอิสลามทั้งหมดเป็นผู้นิยมความรุนแรงจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง”

“หากได้มีโอกาสศึกษาจะเห็นว่าหลักการอิสลามไม่ได้เป็นแรงบันดาลใจของความรุนแรง มีเพียงแต่การสละชีพเพื่อศาสนาในทางที่ปกป้องศาสนาจากการถูกรุกราน ไม่ใช่เป็นการไปรุกรานผู้อื่น”

“ที่สำคัญคือ หากโลกนี้ไม่มีศาสนาอิสลาม ไม่มีมุสลิม จริงๆ ส่วนตัวก็เชื่อว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ก็จะไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด” จรัญทิ้งท้าย

ที่มาของ “ไอเอส”

การรุกรานอย่างขาดความเข้าใจ

ปิดท้ายด้วย ไพรัตน์ ผู้แปลหนังสือ ISIS : เจาะลึกกองกำลังรัฐอิสลาม ซึ่งได้เริ่มต้นว่า จากทั้งหมดเราสามารถมองเห็นภาพได้ว่าไอเอสเกิดขึ้นมาจาก 3 ส่วน

“1.มาจากองค์ความคิดรวมที่ว่า จะใช้วิธีใดในการต่อสู้กับฝ่ายตะวันตกที่มีอำนาจมีอาวุธเหนือกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ไอเอสได้รับความคิดมาจากโอซามา บินลาเดน ซึ่งได้รับแนวคิดมาจากทางสหรัฐ ผ่านทางซีไอเอที่เข้ามาช่วยฝึกเป็นกองกำลังในการต่อต้านการเข้ามายึดครองอัฟกานิสถานของโซเวียตอีกทีหนึ่ง”

“2.ไอเอสจะไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้หากไม่มีการบุกและเข้าไปยึดครองอิรัก ซึ่งสหรัฐในตอนนั้นมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือเข้าไปก่อนเพื่อโค่นซัดดัม แต่ไม่ได้มองเห็นความซับซ้อนของสังคมอิรักเลยแม้แต่น้อย”

“เห็นได้ชัดว่าเมื่อโค่นล้ม ซัดดัม ฮุสเซน ที่นับถือนิกายสุหนี่ สหรัฐก็นำอำนาจไปให้กับนิกายชีอะห์โดยทันที โดยไม่ทำความเข้าใจสังคมอิรัก อันเป็นการผลักให้ผู้ที่นับถือนิกายสุหนี่หลายกลุ่มต้องไปเข้าร่วมกับการก่อการร้าย”

“3.ตัวซัดดัมเอง ที่ก่อนถูกโค่นล้มได้พยายามสร้างระบอบที่ใช้ในการกุมอำนาจต่อเนื่องขึ้นมา อันเป็นระบอบที่อิงอยู่กับอำนาจของเครือข่ายสืบราชการลับ ทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบ โดยให้สิทธิคนที่อยู่ในอำนาจทำทุกอย่างได้ตั้งแต่ค้าของเถื่อนไปจนถึงฆ่าคน”

“แต่เมื่อซัดดัมถูกโค่นล้ม ถามว่าคนพวกนี้หายไปไหน คำตอบคือมาเข้ากับคนที่เคยมีแนวคิดในการก่อการร้าย อันเป็นองค์ประกอบส่วนที่สามที่ทำให้เกิดไอเอส”

ไพรัตน์กล่าวอีกว่า ส่วนคำถามที่ว่าศาสนาอิสลามหรือมุสลิมเป็นที่มาของขบวนการก่อการร้ายนั้น ส่วนตัวมองว่าขบวนการก่อการร้ายเป็นขบวนการทางการเมือง เป็นขบวนการเพื่อแสวงหาอำนาจทางการปกครอง แสวงหาความเป็นรัฐ โดยใช้ศาสนาเป็นเพียงเครื่องมือมากกว่า

ขณะคำถามที่ว่าทำไมจึงมีคนไปเข้าร่วม ไพรัตน์กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าคนที่เดินทางไปเข้าร่วมมักจะถูกจูงใจด้วยการตีความทางศาสนา ถูกจูงใจด้วยชุดความคิดที่มองว่าสิ่งเหล่านี้ดีกว่า หรือมีค่ากว่าชีวิตของตนเอง

“ขณะที่อีกส่วนไปเข้าร่วมเพราะเป็นกลุ่มผู้อพยพที่ถูกกดขี่และถูกบีบด้วยสภาพทางสังคม มองว่าตัวเองไม่มีราก ไม่มีบ้าน ถูกคนในยุโรปมองว่าเป็นคนนอก แต่เมื่อกลับไปที่บ้านเกิดก็ถูกมองว่าเป็นคนเบลเยียม ฝรั่งเศส”

“การไม่ถูกยอมรับ ไม่มีจุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิต จึงถูกโน้มน้าวชักจูงให้เข้าร่วมโดยกลุ่มไอเอสได้” ไพรัตน์กล่าว

ทั้งหมดทั้งมวลเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานเสวนาเท่านั้น

ซึ่งสามารถติดตามย้อนหลังได้ในเพจ Matichon TV และอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือทั้ง 3 เล่ม

เพื่อที่จะเข้าใจคำว่า “ก่อการร้าย” กันมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ในปัจจุบัน

 

The post รู้ทัน-เอาตัวรอด ในโลก’สมัยใหม่’ สงครามลับ ก่อการร้าย และความตื่นกลัว appeared first on มติชนออนไลน์.

‘ภูเก็ต’ไม่ได้มีแต่การท่องเที่ยว รู้จัก’ศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ด’สร้างรายได้

$
0
0

หมู เห็ด เป็ด ไก่ คือวลีติดปากคนไทยเวลาพูดถึงวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

แต่ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่สินค้าราคาแพงมหาโหดไม่เว้นแม้แต่สินค้าของกิน ผู้ที่สามารถผลิตเองได้ดูเหมือนจะมีภาษีที่ดีกว่า

จ.ภูเก็ต เมื่อเอ่ยชื่อแล้ว หลายคนอาจนึกภาพความเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศ หาดทรายและท้องทะเล ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนในแต่ละปีเป็นปริมาณล้นหลาม

อาหารที่นักท่องเที่ยวนิยมกินมากที่สุดคงหนีไม่พ้น “ต้มยำกุ้ง” ที่นอกจากกุ้งแล้ว วัตถุดิบที่สำคัญอีกอย่างที่ต้องมีนั่นก็คือ “เห็ด”

ภูเก็ตเองถือว่าเป็นจังหวัดที่ใช้เห็ดประกอบอาหารเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ทว่า จ.ภูเก็ต กลับต้องนำเข้า “เห็ด” จากที่อื่นกว่า 60% ของความต้องการใช้เลยก็ว่าได้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในจังหวัดภูเก็ตนิยมประกอบธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากกว่าการทำการเกษตรที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้กำไร ประกอบกับไม่มีพื้นที่รองรับในการทำการเกษตรที่เพียงพอในจังหวัด

แต่มีกลุ่มคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่สวนกระแสการทำธุรกิจท่องเที่ยวแล้วหันมาทำการเกษตรเพาะเห็ดขาย

โดยการรวมกลุ่มกันจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่” ตั้งอยู่หมู่ 8 ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด อาทิ น้ำเห้ด และแหนมเห็ด เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด อาทิ น้ำเห้ด และแหนมเห็ด เป็นต้น

“ติ่ง” อรรถพล ข้อติโก้ รองประธานศูนย์การเรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ เล่าว่า เดิมทีมีการเพาะปลูกเห็ดกันเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ก็ไม่มาก จนมีการรวมกันจัดตั้งกลุ่มเห็ดอินทรีย์ จากนั้นก็ต่อยอดเพิ่มขึ้นอีก มีการเพิ่มกิจกรรม จุดเรียนรู้การผลิตก้อนเชื้อเห็ดเพื่อจัดจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดให้กับชาวบ้าน ที่ต้องการเพาะเห็ดเอง ซึ่งการทำกิจกรรมเหล่านี้ส่งผลให้ปี 2554 หมู่บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับอยู่ดีกินดี

“พอได้รางวัลเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จึงมาคิดต่อกันว่าจะทำอะไรต่อดี แนวคิดของเราคือแนวคิดที่ค่อนข้างสวนทางกับคนใน จ.ภูเก็ต ที่นิยมประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว แต่กลุ่มของเรากลับเลือกทำการเกษตร อย่างการเพาะเห็ด ซึ่งเราตระหนักถึงความสำคัญ และเห็นความต้องการของตลาดเห็ดในจังหวัด ที่ในหนึ่งวันภูเก็ตใช้เห็ดในการประกอบอาหารกว่า 3-5 ตัน แต่กลับผลิตได้เพียง 40% ของความต้องการใช้”

ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ มีสมาชิกทั้งหมด 29 คน ซึ่งทางศูนย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาศักยภาพของการทำงานเพาะเห็ดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด มีการร่วมระดมความคิดเห็น สรุปความต้องการของชุมชน ทั้งการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเห็ดแบบครบวงจร การผลิตหัวเชื้อที่มีคุณภาพ การทำเชื้อและเพาะเห็ดเศรษฐกิจ

กิจกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์ที่นับว่าเป็นเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์ขึ้นมา เลยก็ว่าได้นั้นคือ 1.การผลิตเห็ดจำหน่ายตลาดใกล้เคียง, 2.แปรรูปเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น แหนมเห็ด น้ำเห็ด เห็ดสวรรค์ ส่งขายทั่วไทย, 3.ผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า, 4.เป็นจุดการเรียนรู้ของชุมชน, 5.เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน, 6 ส่งเสริมให้คนในชุมชนเพาะเห็ดทานเอง, 7.ทำกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับนักเรียนโรงเรียนต่างๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่

ชาวบ้านร่วมสาธิตการทำก้อนเชื้อเห็ดร่วมกับทีมเมืองไทยประกันชีวิต
ชาวบ้านร่วมสาธิตการทำก้อนเชื้อเห็ดร่วมกับทีมเมืองไทยประกันชีวิต

ปี 2557 หมู่บ้านผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ ถูกแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งแรกใน จ.ภูเก็ต

เป็นผลมาจากการร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนในชุมชนที่ช่วยกันขับเคลื่อนการทำงาน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยหมู่บ้านได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านทางคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

แน่นอนว่าการจะเป็น ศูนย์การเรียนรู้ที่ครบวงจร สถานที่ในการจัดตั้งก็เป็นปัจจัยสำคัญ เช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ปรับปรุงสถานที่ให้มีประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การติดฝ้าเพดานห้องผลิตน้ำเห็ด ห้องอุปกรณ์ ปูพื้นกระเบื้อง ปรับปรุงจุดเพาะเห็ดนางฟ้า ฯลฯ ซึ่งได้มีพิธีมอบอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาโดย สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นประธานส่งมอบ

แม้ว่าศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ แห่งนี้จะเป็นเพียงศูนย์เล็กๆ ในจังหวัดภูเก็ต แต่ผลการตอบรับจากภายนอกค่อนข้างเป็นไปในทางที่ดี

คนในชุมชนและนอกชุมชน รวมถึงนักเรียนต่างให้ความสนใจในการทำการเกษตรมากขึ้น จนเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจน

ใกล้ความจริงในการจัดตั้งศูนย์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนเพื่อความยั่งยืนของสังคมเข้ามาทุกที

เมืองไทยประกันชีวิตสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ผลิตเห็ดอินทรีย์
เมืองไทยประกันชีวิตสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ผลิตเห็ดอินทรีย์

The post ‘ภูเก็ต’ไม่ได้มีแต่การท่องเที่ยว รู้จัก’ศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ด’สร้างรายได้ appeared first on มติชนออนไลน์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ : ย่านการค้านานาชาติ แต่ขาดแบ่งปันความรู้ ที่อยุธยา

$
0
0

ย่านการค้านานาชาติ ตลาดบก ตลาดน้ำ บริเวณป้อมเพชร อยุธยา น่าสนุก แต่ไม่สนุก เพราะขาดแบ่งปันความรู้สู่คนทั่วไป (ที่ไม่เป็นนักโบราณคดี)

ป้อมเพชร มีชื่อในเอกสารจากหอหลวง ว่าเป็นป้อมใหญ่ของพระนครศรีอยุธยา ที่ก่อด้วยศิลาแลงมั่นคงแข็งแรง สูงราว 7 เมตร (3 วา 2 ศอก) สูงกว่ากำแพงเมือง 1 เมตร (2 ศอก)

มีชานชาลารอบป้อม มีกำแพงแก้วล้อมรอบชานป้อม มีประตูซ้าย-ขวาเปิดให้เดินเข้าออกตามชานชาลาได้รอบป้อม มีปืนแทรกตามช่อง 8 กระบอก ชั้นล่างมีปืนใหญ่รางเกวียนบรรจุทุกช่อง 16 กระบอก

ป้อมเพชรอยู่ตรงแม่น้ำสามแยกมีน้ำวนเชี่ยว เพราะเป็นบริเวณแม่น้ำป่าสักชนกับแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วไหลลงทางใต้ออกอ่าวไทย

สามแยกแม่น้ำหน้าป้อมเพชรเป็นตลาดน้ำ เรียก ตลาดน้ำวนบางกะจะ เอกสารจากหอหลวงพรรณนาไว้โดยสรุปย่อๆ ดังนี้

มีเรือปากกว้างมากกว่า 7 เมตร พวกพ่อค้าจีนและแขกจามทอดสมอขายน้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด สาคูเม็ดใหญ่เม็ดเล็ก กำมะถัน จันทน์แดง หวายตะค้า กระแชง เคย และสินค้าต่างๆ จากชายฝั่งทะเล

มีแพลอยของพวกลูกค้าไทย จีน แขกเทศ แขกจาม นั่งร้านแพ ขายสรรพสิ่งของต่างๆ กันทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่ท้ายปากคลองวัดสุวรรณดาราราม ตลอดแม่น้ำไปจนหน้าพระราชวังหลัง

นอกจากนั้นทางฝั่งตรงข้ามป้อมเพชร มีแพจอดตั้งแต่ท้ายวัดพนัญเชิงตลอดไปจนท้ายวัดพุทไธศวรรย์ และเลยไปจอดเป็นระยะจนหน้าวัดไชยวัฒนาราม

ตรงฝั่งตะวันออก ตั้งแต่ท้ายเกาะเรียน มีแพจอดเรี่ยรายขึ้นมาจนถึงท่าเสือข้าม มีแพชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดพนัญเชิง

อ่านแล้วน่าสนุกตามข้อความเอกสารจากหอหลวง

ถ้ามีโมเดลย้อนยุคเมื่อยังสมบูรณ์ หรือหุ่นจำลองป้อมเพชร (เหมือน ปตท.สผ. ให้ทุนทำไว้ในวังโบราณและวัดสำคัญ) โดยมีคำอธิบายง่ายๆ ย่อๆ กำกับด้วย แล้วสร้างกิจกรรมแบ่งปันเผยแพร่ความรู้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะมีคุณูปการสูงยิ่ง

แต่ทุกวันนี้ไม่สนุก เพราะไปถึงสถานที่จริงแล้วไม่มีบอกอะไรเลย

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : ย่านการค้านานาชาติ แต่ขาดแบ่งปันความรู้ ที่อยุธยา appeared first on มติชนออนไลน์.

บทเห่เรือนั่นของชาวเยว่ แต่ชู้รักนั้นของใคร? (Song of the Yue Boatman) ตอนที่ 1

$
0
0

ผู้เขียนพึ่งได้รับความรู้ใหม่จากผู้คนที่นิยมชมชอบในเรื่องราวความเป็นมาของไท-ไต ลากย้อนผูกสัมพันธ์ขึ้นไปถึงพวกเยว่ (Yue) ซึ่งตั้งถิ่นฐานมาแต่ครั้งโบราณหลายพันปีแถบชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของแผ่นดินจีน มีผู้นำคนสำคัญในยุคไม่ห่างพุทธกาลคือ โกวเจี้ยน และถือกันว่าเป็นพวกที่มีความเชี่ยวชาญทางน้ำมากกว่าพวกอื่นๆ จนปรากฏบทเพลงเห่เรือเชิงชู้รักอันโด่งดังขับขาน “Song of the Yue Boatman” ซึ่งอาจารย์ Zhengzhang Shangfang ได้ทำการถอดรหัสลับไว้ใน “Decipherment of Yue-Ren-Ge” ตั้งแต่ปี 1991 อธิบายว่า ผู้ฟังพวกฉู่ได้แปลงเสียงร้องมาเป็นสำเนียงจีนในแบบคาราโอเกะ รวมถึงใส่ความหมายด้วยถ้อยคำกวีในแบบฉบับ Old Chinese คัดมาเฉพาะที่ถอดความหมายเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

“Oh ! what night is tonight, we are rowing on the river.

Oh ! What day is today, I get to share a boat with a prince.

The prince’s kindness makes me shy, I take no notice of the people’s
mocking cries.

Ignorant, but not uncared for, I make acquaintance with a prince.

There are trees in the mountains and there are branches on the trees,
I adore you, oh ! you do not know.”

ความหมายตามบทกวีออกทำนองของชู้รัก ระหว่างชายสามัญผู้แอบหลงรักเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ในโอกาสที่ได้ร่วมล่องเรือกับเจ้าชาย จนลืมกลางวันและกลางคืน

แต่ถ้อยความหมายเหล่านี้ ก็มิใช่การแปลความแบบคำต่อคำ จึงทิ้งปริศนาเนื้อร้องเพลงเห่นี้ค้างคามาเป็นพันๆ ปี

จนเมื่อปี 1981 ศาสตราจารย์ Wei Qing-wen ได้ทดลองเอาคำของพวกไท-ไตสายจ้วงเข้าเทียบเคียง เพราะเชื่อว่าพวกเยว่นั้นเป็นพวกพูดภาษาไท-ไต และอาจารย์ Zhengzhang Shangfang ใช้เป็นต้นแบบในการแปลความหมายต่อมาในปี 1991 โดยเทียบกับคำของพวกไทย (สยาม) เป็นหลัก
คำแปลความหมายครั้งใหม่ เป็นดังนี้ (คำเยว่ในสำเนียงจีนบรรทัดบนและคำไทยบรรทัดล่าง)

โคลงที่หนึ่ง :

ɦgraams, ɦee, brons, tshuuʔ, ɦgraams
คล้ำ แฮ เพลิน เจอเจอะ คล้ำ

โคลงที่สอง :

la, thjang< khljang, gaah, draag, la, thjang, tju< klju
รา ช่าง กระ ดาก รา ช่าง แจว

โคลงที่สาม :

tju, khaamʔ, tju, jen, ɦaa, dzin, sa
แจว ข้าม แจว เยิ่น ฮา ชื่น สะสา

โคลงที่สี่:

moons, la, ɦaa, tjau<kljau, daans, dzin, lo
มอม รา ฮา เจ้า ท่าน ชิน รู้

โคลงที่ห้า:

srɯms, djeʔ<gljeʔ, sɦloi, gaai, gaa
ซุ่ม ใจ เรื่อย ใคร่ คะ

บทร้องตามการแปลความหมายใหม่

“Oh, the fine night, we meet in happiness tonight !

I am so shy, ah ! I am good at rowing.

Rowing slowly across the river, ah ! I am so pleased !

Dirty though I am, ah ! I made acquaintance with your highness the
Prince.
Hidden forever in my heart, ah ! is my adoration and longing.”
จะเห็นว่ามีความหมายใกล้เคียงทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ ยกเว้นในท่อนท้ายของแบบเก่าได้ใส่ถ้อยคำเพิ่มเข้ามา ซึ่งอาจารย์กล่าวว่าเป็นธรรมดาของภาษากวี

อย่างไรก็ตาม เมื่ออ่านบทความของอาจารย์ Zhengzhang Shangfang แล้ว พบว่คำในบทกวีจำนวนหลายคำเป็นคำควบกล้ำ ซึ่งคล้ายกับคำเดิมของพวกไท-ไตไปจนถึงอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีข้อสังเกตในตอนต่อไป

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

สพัฒน์ เจริญสรรพพืช เกิดที่จันทบุรี เมื่อ พ.ศ.2512 จบการศึกษาจากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปสำรวจเหมืองถ่านหินในป่าฝนดิบชื้นแห่งหมู่เกาะทะเลใต้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลาหลายปี มีความสนใจพิเศษในด้านภาษาศาสตร์ จึงค้นคว้ารวบรวมข้อมูล พร้อมเสนอแนวคิดใหม่ผ่านบทความในชุด ‘สืบสานจากภาษา เชื่อมมหาสมุทร ขุดรากเหง้า คนไทยอยู่ที่นี่’ เผยแพร่ครั้งแรกใน ‘มติชนออนไลน์’

สพัฒน์ เจริญสรรพพืช เกิดที่จันทบุรี เมื่อ พ.ศ.2512 จบการศึกษาจากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปสำรวจเหมืองถ่านหินในป่าฝนดิบชื้นแห่งหมู่เกาะทะเลใต้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลาหลายปี มีความสนใจพิเศษในด้านภาษาศาสตร์ จึงค้นคว้ารวบรวมข้อมูล พร้อมเสนอแนวคิดใหม่ผ่านบทความในชุด ‘สืบสานจากภาษา เชื่อมมหาสมุทร ขุดรากเหง้า คนไทยอยู่ที่นี่’ เผยแพร่ครั้งแรกใน ‘มติชนออนไลน์’

The post บทเห่เรือนั่นของชาวเยว่ แต่ชู้รักนั้นของใคร? (Song of the Yue Boatman) ตอนที่ 1 appeared first on มติชนออนไลน์.

สุดสัปดาห์กับหนังสือ

$
0
0

สุดสัปดาห์กับสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เดินทางสะดวก อาจไม่ค่อยสบายเนื่องจากผู้โดยสารที่ไปศูนย์การประชุมมากกว่าปกติ โดยเฉพาะห้วงสุดท้ายของงาน วันนี้และเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่ก่อนสิบโมงเช้าถึงสามทุ่ม ทั้งช่วงกลางวันตั้งแต่ก่อนเที่ยงถึงก่อนทุ่ม

หมายถึงเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่วนใครที่ไปด้วยรถส่วนตัว ที่จอดรถอาจมีไม่พอ แม้ที่จอดจะกว้างขวาง และมีที่จอดรถด้านหลังตลาดหลักทรัพย์ ขากลับตรงนี้มีของขายหลายอย่าง ทั้งอาหารการกินและอื่นๆ

หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่น้องหนู และใครจะพลาดไม่ได้ ยังไม่อ่านวันนี้ เก็บไว้อ่านวันอื่นยังได้ รับรองไม่มีวันตกยุคตกสมัย เป็น “บันทึกการเดินทางของ อ็องรี มูโอต์ ในสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่นๆ” ทั้งเพื่ออ่านตะวันออกจากคำบอกฝรั่ง เชื่อมต่อความคิดในดินแดนอินโดจีน ที่บรรดาไกด์นำเที่ยวเมืองเว้ ไซง่อน ลาว กัมพูชา ต้องอ้างอิง

ผู้แปลคือ กรรณิกา จรรย์แสง คำนำเสนอโดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ น้องหนูรู้จักแล้วทั้งสองคนใช่ไหม ส่วนคำนิยม แน่นอนมาจาก M. Tkierry เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ด้วยเหตุที่ “มูโอต์” เป็นชาวฝรั่งเศส

ผู้แปลปรารภไว้ว่า “…ในฐานะคนอ่าน ที่ชวนประทับใจผู้แปลที่สุดในบันทึกคนเดินทาง เห็นจะเป็นวิธีการบรรยายและวาด “ภาพเมื่อแรกเห็น” ตรงหน้า ด้วยตัวหนังสือและภาพสเกตช์ ใครเล่าจะปฏิเสธได้ว่าภาพบ้านเรือนและผู้คน ชีวิตกับสายน้ำและป่าเขา ปราสาทนครวัดและซากปรักหักพัง โบราณสถานในอดีต และอื่นๆ ไม่ใช่หลักฐานเชิงประจักษ์ ที่มีเสน่ห์อย่างยิ่ง ตัวหนังสือเล่าเรื่องบอกกล่าวความรู้สึกนึกคิด เช่นเดียวกับภาพวาดลายเส้นแสดงฝีมือทางศิลปะอันปลอดจากการแทรกแซงด้วยเทคโนโลยีใดๆ”

หนังสือปกแข็งเพื่อความคงทนถาวร ราคา 370 บาท

มูโอต์

หากน้องหนูยังเป็นเด็กเล็กอยู่ ย่อมต้องการหนังสือนิทาน หนังสือการ์ตูน สำนักพิมพ์ทองเกษม ในเครือนานมีบุ๊กส์ นำเสนอ “ปีเตอร์แพน ผจญภัยแดนมหัศจรรย์” นิทาน 3 ภาษา ไทย จีน อังกฤษ จากเรื่องที่กองบรรณาธิการบรรจงแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย แล้วกลับไปเป็นภาษาจีน ไม่เพียงแต่สนุกเท่านั้น ยังได้เรียนรู้ภาษาจากไทยไปเป็นจีนและอังกฤษด้วยราคาเพียง 95 บาท

นอกจากนั้น ยังมีหนังสือนิทานภาพ 3 ภาษาอีกหลายเล่ม อาทิสองพี่น้องผจญภัยบ้านขนมปัง เรื่องของพี่น้องที่เกิดภาวะอาหารขาดแคลน ถูกนำไปปล่อยไว้กลางป่าและหลงทาง กระทั่งไปพบบ้านขนมปังที่ประดับประดาไปด้วยลูกกวาดและขนมหวานมากมายของแม่มดชรา

ด้วยความหิวทั้งสองพี่น้องจึงกัดกินอย่างอร่อย และถูกแม่มดลวงเข้าบ้าน ทั้งสองจะทำอย่างไรจึงหนีเอาตัวรอดจากแม่มด (ภาษาไทย อ่านและเขียนว่า “แม่มด” ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร แล้วภาษาจีนเล่า น้องหนูไม่อยากรู้หรือ)

อีกเล่มชื่อ “พ่อมดออช” อ่านเรื่อง “แม่มด” แล้วต้องอ่านเรื่อง “พ่อมด” เป็นเรื่องสาวน้อยอยู่กับญาติผู้ใหญ่และสุนัข ถูกพายุปริศนาพัดพาเธอไปยังดินแดนแห่งเวทมนตร์ พบแม่มดที่แนะนำให้ไปพบพ่อมดเพื่อกลับบ้าน ระหว่างทางยังพบหุ่นไล่กา หุ่นกระป๋อง และสิงโต การผจญภัยในเมืองมรกตจึงเริ่มต้นขึ้น

สองวันสุดท้าย หนังสือสองเล่มแห่งยุคสมัยนายกรัฐมนตรีที่มาจากการยึดอำนาจอีกคนหนึ่ง ชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ประกาศว่า เล็กๆ ทำ ใหญ่ๆ ก็ทำ อยากรู้เรื่อง “บิ๊กตู่” ต้องอ่าน

เส้นทางพยัคฆ์ ประยุทธ์ จันทร์โอชา จาก “ทหารเสือ” สู่ “หลังเสือ” และอีกเล่ม “บิ๊กตู่” นายกฯ โหด มัน ฮา โดยผู้เขียนคนเดียวกันที่ช่ำชองคลุกอยู่ในแวดวงสีเขียวลายพรางมานาน-วาสนา นาน่วม

เล่มหลัง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เขียนคำนิยมให้ด้วยตัวเอง

เล่มแรก ราคา 295 บาท เล่มหลัง ราคา 170 บาท แล้วพบกันในงานครับ

The post สุดสัปดาห์กับหนังสือ appeared first on มติชนออนไลน์.

ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 6 ‘ตามรอยโจร’ (ต่อ)

$
0
0

เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ.2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯทุกวันนี้

พระราชโบราณสถาน อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง
กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต

ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีก ครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว

 

ข่าวครึกโครมในหน้า 1 หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย พ.ศ.2499
การลักลอบขุดตั้งแต่ พ.ศ.2499 เป็นข่าวครึกโครมในหน้า 1 หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย เดือนตุลาคม พ.ศ.2500

 

เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน”

สุจิตต์เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง

เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ จากนั้นได้หาทางทำอุโมงค์และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชน ยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านบทความของนักวิชาการด้านโบราณคดีที่รวมสรรพกำลังทางวิชาความรู้มาร่วม กันวิเคราะห์ตีความวัตถุล้ำค่ามากมาย โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว ซึ่ง “มติชน” จะทยอยทำเสนอเป็นตอนๆ ดังเนื้อหาต่อไปนี้

รายงานการเปิดกรุในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ (ต่อจากตอนที่แล้ว)

โดย นายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากร

ตอนเช้าวันที่ 29 กันยายน 2500 เวลา 9.00 น. ผมพร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจไปดำเนินการที่กรุต่อไปในวันนี้ทำงานจนถึง 16.00 น.เศษ เก็บของขึ้นมาจนหมด มีแหวน กำไลข้อมือเศษทองรูปพรรณต่างๆ พลอย และทับทิม เป็นจำนวนมาก และได้กวาดฝุ่นทรายก้นกรุทั้งหมดขึ้นมาใส่กระสอบเพื่อร่อนหาของด้วย เพราะมีเศษทองและพลอยต่างๆ คลุกเคล้าอยู่กับฝุ่นทรายเหล่านั้นอีกมาก ของที่นำขึ้นมาทั้งหมดเอาไปเก็บใส่กรงเหล็กไว้ที่สถานีตำรวจตามเดิม คืนวันนั้นได้วางกำลังเจ้าหน้าที่รักษากรุไว้ ผมเดินทางกลับกรุงเทพฯ เพราะเสื้อผ้าที่เตรียมไปใช้หมดแล้วไม่มีผลัดเปลี่ยน
วันที่ 30 กันยายน 2500 ผมมาที่กรมฯ เพื่อรายงานกิจการด้วยวาจาให้อธิบดีทราบและพักอยู่ในกรุงเทพฯ คืนหนึ่ง

วันที่ 1 ตุลาคม 2500 เวลา 7.00 น. เดินทางกลับไปอยุธยาสมทบกับผู้กำกับการตำรวจลงไปตรวจกรุอีกครั้งหนึ่ง เพราะสงสัยว่าจะมีกรุห้องที่ 3 ต่อลงไปข้างล่างอีก เนื่องจากมีช่องลมเย็นขึ้นมาจากเบื้องล่าง ผมให้เจ้าหน้าที่งัดหินพื้นห้องขึ้น ก็พบว่ามีอีกห้องหนึ่งจริงเป็นห้องที่ 3 กว้างประมาณ 1.40 เมตร สี่เหลี่ยม สูงประมาณ 1.20 เมตร ภายในห้องนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนในก่อปูนเป็นห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ กว้างประมาณ 0.80 เมตร สี่เหลี่ยม บรรจุพระเจดีย์ทองคำ 1 เจดีย์ มีครอบเป็นรูปคล้ายครอบแก้วพระพุทธรูปที่มีขายในปัจจุบันครอบไว้ 4 ชั้น คือ ชั้นต้นเป็นเหล็กบุชิน ชั้นที่ 2 เป็นทองเหลือง ชั้นที่ 3 เป็นทองเหลือง ชั้นที่ 4 เป็นเงิน แล้วก็ถึงเจดีย์ทองคำเปิดได้ ภายในบรรจุพระพุทธรูปทองคำ พระเจดีย์แก้วผนึก พระพุทธรูปแก้วผลึก กับเครื่องทองกระจุกกระจิกอื่นๆ และมีแผ่นใบลานทองคำจารึกอักษรขอมม้วนกลมบรรจุอยู่ด้วย บริเวณรอบๆ เจดีย์ทองคำ มีพระพุทธรูปทองคำและเงิน รูปสัตว์ต่างๆ ทำด้วยทองคำและเงิน พิมพ์เป็นแผ่นบรรจุเรียงรายอยู่โดยรอบ

แถวบน พระเจดีย์ทองคำ พร้อมด้วยเจดีย์แก้วผลึกและพระพุทธรูปทองคำในกรุ 3 แถวกลาง ครอบพระเจดีย์ 4 ชั้น ทีเหล็กบุชิน ทองเหลือง และเงิน ในกรุ 3 เช่นกัน แถวล่าง โต๊ะสัมฤทธิ์ ที่ตั้งสิงของในกรุ 2
แถวบน พระเจดีย์ทองคำ พร้อมด้วยเจดีย์แก้วผลึกและพระพุทธรูปทองคำในกรุ 3 แถวกลาง ครอบพระเจดีย์ 4 ชั้น ทีเหล็กบุชิน ทองเหลือง และเงิน ในกรุ 3 เช่นกัน แถวล่าง โต๊ะสัมฤทธิ์ ที่ตั้งสิงของในกรุ 2

วันที่ 2 และวันที่ 3 ตุลาคม 2500 ตรวจเก็บของที่ส่วนนอกของห้องที่ 3 ซึ่งกว้างประมาณ 0.40 เมตร มีพระพุทธรูปสำริด พระพิมพ์ทำด้วยชิน  กระปุกเคลือบ เครื่องใช้ทำด้วย เงิน สำริด และทองเหลือง บรรจุอยู่โดยรอบได้จัดการขนของในกรุนี้ขึ้นเสร็จในวันที่ 3 ตุลาคม นำไปเก็บรักษาที่สถานีตำรวจพร้อมทั้งกวาดดินทรายก้นกรุขึ้นมาบรรจุกระสอบเอาไว้ร่อนหาของด้วย เย็นวันที่ 3 นั้นกลับพักผ่อนที่กรุงเทพฯ

วันที่ 4 ตุลาคม 2500 เวลา 7.00 น. กลับไปอยุธยา และพร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจไปตรวจกรุอีกว่าจะมีห้องต่อลงไปอีกหรือไม่ ได้ให้เจ้าหน้าที่เปิดห้องที่ 3 ขึ้น พบว่ามีแผ่นอิฐก่อรองรับเต็มทั้งพื้นห้องดิ่งลงไปข้างล่าง ได้รื้ออิฐลงไปประมาณ 1.00 เมตร ก็ยังไม่หมดอิฐก่อ ผมเห็นว่าควรยุติการตรวจค้นได้แล้ว จึงสั่งเลิกให้จัดการถมปราบภายใต้พื้นห้องที่ 3 ที่ขุดตรวจลงไป เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2500 เป็นอันยุติการตรวจกรุเพียงเท่านี้ ในขั้นต่อไปจะได้จัดการถมกลบเกลี่ยพื้นห้องพระปรางค์ที่ผู้ร้ายขุดตามวิธีการต่อไป

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ครอบพระเจดีย์ 4 ชั้น ปัจจุบันจัดแสดงในนิทรรสการพิเศษ เรื่อง 'เครื่องทองอยุธยา มรดกของโลก มรดกของแผ่นดิน' ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
ครอบพระเจดีย์ 4 ชั้น ปัจจุบันจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ เรื่อง ‘เครื่องทองอยุธยา มรดกของโลก มรดกของแผ่นดิน’ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

 

พระพุทธรูปทองคำพบในกรุ 3 ตามรายงานของนายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากรในยุคนั้น ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
พระพุทธรูปทองคำพบในกรุ 3 ตามรายงานของนายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากรในยุคนั้น ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

 

ส่วนหนึ่งของพระพิมพ์ทองคำพบที่กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
ส่วนหนึ่งของพระพิมพ์ทองคำพบที่กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

 

พระปรางค์วัดราชบูรณะในปัจจุบันอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์
พระปรางค์วัดราชบูรณะในปัจจุบันอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์

 

ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ 2 โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558

ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

The post ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 6 ‘ตามรอยโจร’ (ต่อ) appeared first on มติชนออนไลน์.


สุจิตต์ วงษ์เทศ : ข้าวแช่ อาหารคลายร้อนของคนเมืองร้อนแบบอาเซียน

$
0
0

ข้าวแช่ หมายถึงอาหารปรุงจากข้าวเจ้าหุงสุกเป็นตัวๆ สวยๆ แล้วแช่น้ำเย็นๆ กินพร้อมเครื่องกับข้าวที่ต้องการ
เข้าใจกันทั่วไปว่าข้าวแช่เป็นของมอญ หรือมีต้นตำรับจากชาวมอญ แล้วไทยได้แบบอย่างจากมอญมากินตาม

อันที่จริง ข้าวสวยแช่น้ำเย็นกินในหน้าร้อน เป็นวิธีกินของคนทั่วไปในอาเซียนที่กินข้าวเจ้า มีหลักแหล่งเมืองร้อน เช่น ลุ่มน้ำตอนล่างๆ ใกล้ทะเล

สามัญชนทั่วไปตามบ้านนอกคอกนามีเครื่องกับข้าวแค่ปลาแห้ง หรือน้ำตาลงบเป็นก้อนๆ เทือกนี้ก็วิเศษแล้ว
แต่คนชั้นสูงหรือชาววังสมัยก่อนมีเครื่องกับข้าวดีกว่า แล้ววิธีปรุงลึกซึ้งซับซ้อนกว่าของสามัญชน ดังที่พบเห็นข้าวแช่ทุกวันนี้ เช่น ลูกกะปิ, พริกหยวกสอดไส้, ผักกาดเค็มผัดหวาน, ปลาแห้ง, เครื่องผัดหวานต่างๆ ฯลฯ ที่ถูกนำมาปรุงขายในตลาดทั่วไปไม่นานมานี้

ข้าวเจ้า (ที่ใช้หุงสวยเป็นข้าวแช่) เป็นข้าวเมล็ดเรียว (ตรงข้ามกับข้าวเหนียวเป็นข้าวเมล็ดป้อม) มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์จากอินเดีย
นักวิชาการวิจัยพบว่าข้าวเจ้าพันธุ์อินเดียแพร่หลายในยุคหลังๆ สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่หลายเข้ามาถึงอุษาคเนย์พร้อมกับศาสนาจากอินเดีย แล้วเป็นที่นิยมกินในหมู่คนชั้นสูงของบ้านเมืองและรัฐอยู่ใกล้ทะเลซึ่งพูดตระกูลภาษามอญ-เขมร และชวา-มลายู ฯลฯ
สมัยหลังๆ จึงแพร่หลายสู่คนทั่วไปที่เคยกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักมาก่อน
บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อเปลี่ยนกินข้าวเจ้าเป็นส่วนใหญ่แล้ว กับข้าวที่เคยกินกับข้าวเหนียวก็เปลี่ยนไป โดยรับจากจีนและอินเดียกินกับข้าวเจ้า

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : ข้าวแช่ อาหารคลายร้อนของคนเมืองร้อนแบบอาเซียน appeared first on มติชนออนไลน์.

“นางลอย”เหาะมาเอง ! จากขวดน้ำอบดัง สู่ชุดสุดปังอวยพรสงกรานต์

$
0
0

สีสันสงกรานต์ปีนี้ เริ่มมีให้เห็นเป็นระยะๆ หนึ่งในกระแสที่แชร์กันถล่มทลายในโลกโซเชียล คือ ภาพชุดสุดอลังการสุดคุ้นตา เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากนางฟ้าบนขวดน้ำอบเจ้าเก่าแก่แห่งบางกอก อย่าง “น้ำอบนางลอย”

อย่างไรก็ตาม ผู้จัดทำชุดดังกล่าว ไม่ใช่เจ้าของผลิตภัณฑ์ แต่เป็นนักศึกษารายหนึ่งของสถาบันการออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ ชื่อว่า “นินม” ที่สร้างสรรค์ชุดดังกล่าวขึ้นเพื่อสวมใส่ในงานสงกรานต์ของสถาบันซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ เก็ทไอเดียจากชุด “ตุ๊กตุ๊กไทยแลนด์” ที่ไปคว้ารางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดนางงามระดับโลก

“นินม” เจ้าของไอเดีย และผู้สวมใส่ชุดดังกล่าวที่ปรากฏในภาพ บอกกับเจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำอบนางลอยหลังได้รับการติดต่อเพื่อขอบคุณที่นึกถึงผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า

เมื่อตนนึกถึงสงกรานต์ ก็นึกถึงน้ำอบ เลยตัดสินใจทำชุด (ขวด) น้ำอบขึ้น โดยนั่งวินมอเตอร์ไซค์ไปซื้อผ้าจากพาหุรัดมาตัดเย็บเอง เมื่อผ่านแถวสะพานผ่านฟ้า ได้ขอให้พี่วินแวะซื้อน้ำอบที่ร้านบริเวณตรงข้ามวัดราชนัดดาราม แต่เสียดายพี่วินบอกแวะไม่ทัน แต่ถึงกระนั้น “นินม” ก็สร้างสรรค์ออกมาได้โดนใจชาวโซเชียล

“ในใจคิด เค้าจะรู้มั๊ยหนอ เอาชุดเค้ามาเล่น เค้าจะว่ามั๊ย” นินมบอกแอดมินเพจ “น้ำอบนางลอย” หลังได้รับการติดต่อ เมื่อกลายเป็นกระแสชื่นชมล้นหลาม

และนี่คือภาพอันงดงามอลังการของชุดน้ำอบนางลอยสุดครีเอท ที่สร้างรอยยิ้มชื่นใจในยามแล้งของสงกรานต์ปีนี้ 

น้ำอบนางลอย

นางลอย

น้ำอบนางลอย

น้ำอบนางลอย

น่ำอบนางลอย

 

ภาพและข้อมูลจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ สถาบันการออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ Chanapatana International Design และเฟซบุ๊กแฟนเพจ “น้ำอบนางลอย”

 

 

The post “นางลอย” เหาะมาเอง ! จากขวดน้ำอบดัง สู่ชุดสุดปังอวยพรสงกรานต์ appeared first on มติชนออนไลน์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ : ชุดไทยลายดอกเล่นสงกรานต์ ประเพณีใหม่เพื่อการท่องเที่ยว

$
0
0

ชุดไทยหรือเสื้อคอกลมลายดอกที่ทางการกำหนดให้ต้องแต่งในสงกรานต์ แบบแผนนี้ไม่เคยพบอยู่ในสังคมชาวไทยสยามยุคก่อนๆ เช่น ยุคอยุธยา

จึงเป็นแบบแผนใหม่ล่าสุดของทางการที่ต้องการแสดงตนเป็นไทยแท้, ไทยทั้งแท่ง, ไทยทั้งดุ้น, ไทยเดิมตั้งโด่ ฯลฯ เพื่อการตลาดของการท่องเที่ยว

สงกรานต์สมัยก่อนพวกไพร่แต่งตัวตามมีตามเกิด หรือที่คิดว่างามของยุคนั้นๆ มีร่องรอยอยู่ในนิราศเดือน ของเสมียนมี (กวีสมัย ร.3) สะท้อนรสนิยมเล่นสงกรานต์ของคนในยุคต้นกรุงเทพฯ ว่าแต่งตัวตามสะดวกสบาย และตามลักษณะชนชั้น เช่น

“ล้วนแต่งตัวทั่วกันวันสงกรานต์ ดูสะคราญเพริศพริ้งทั้งหญิงชาย”, “ล้วนแต่งตัวเต็มงามทรามสวาท ใส่สีฉาดฟุ้งเฟื่องด้วยเครื่องหอม”, “มีเท่าไรใส่เท่านั้นฉันผู้หญิง ดูเพริศพริ้งเพราเอกเหมือนเมขลา”, “ประดับพร้อมแหวนเพชรเม็ดมุกดา” ฯลฯ

ไม่มีตรงไหนเลยที่จะกำหนดให้แต่งชุดไทยเสื้อคอกลมลายดอกเหมือนทางการยุคนี้มีระเบียบออกมา

เสื้อ หมายถึง เครื่องสวมใส่กายท่อนบนของคนพื้นเมืองอุษาคเนย์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน

ถ้าจะมีก็เริ่มหลังรับอารยธรรมอินเดียและจีน พบร่องรอยในนิทานกำเนิดรัฐฟูนัน เมื่อพราหมณ์จากอินเดียทำพิธีนุ่งผ้าให้นางใบมะพร้าวหัวหน้าเผ่าพื้นเมืองเป็นหญิง ซึ่งนุ่งเตี่ยวหุ้มอวัยวะเพศเท่านั้น (เหมือนจีสตริงทุกวันนี้)

เสื้อคอกลม ไม่ใช่ประเพณีพื้นเมืองอุษาคเนย์ และไม่ใช่ไทย แต่รับจากที่อื่น เช่น อินเดีย, จีน

ลายดอก ที่แพร่หลายทุกวันนี้ มีต้นแบบจากประเพณีตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้ เช่น เสื้อฮาวายจากสหรัฐ ฯลฯ

 

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : ชุดไทยลายดอกเล่นสงกรานต์ ประเพณีใหม่เพื่อการท่องเที่ยว appeared first on มติชนออนไลน์.

ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 7 ‘ตามรอยโจร’ (ต่อ)

$
0
0

เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ.2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯทุกวันนี้

พระราชวังโบราณสถาน อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง
กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต

ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีก ครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว
เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน”

สุจิตต์เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง
เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ จากนั้นได้หาทางทำอุโมงค์และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชน ยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านบทความของนักวิชาการด้านโบราณคดีที่รวมสรรพกำลังทางวิชาความรู้มาร่วม กันวิเคราะห์ตีความวัตถุล้ำค่ามากมาย โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว ซึ่ง “มติชน” จะทยอยทำเสนอเป็นตอนๆ ดังเนื้อหาต่อไปนี้

ส่วนหนึ่งของเครื่องทองจากกรุวัดราชบูรณะ
ส่วนหนึ่งของเครื่องทองจากกรุวัดราชบูรณะ

รายงานการเปิดกรุในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ (ต่อจากตอนที่แล้ว)

โดย นายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากร

วันที่ 6 ตุลาคม 2500 พร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจควบคุมให้เจ้าหน้าที่ร่อนดินและทรายที่ขนขึ้นมาจากกรุ ได้เศษทองคำหนัก 60 บาท พลอยหัวแหวนและทับทิมหนัก 1,800 กรัม แก้วผนึกชนิดต่างๆ หนัก 1,050 กรัม และลูกปัดเงินกับทับทิมปมกันหนัก 250 กรัม เย็นเดินทางกลับกรุงเทพฯ

วันที่ 7 ตุลาคม 2500 ได้มาดูการซ่อมตู้ของกรมศิลปากรที่จะนำไปใส่เครื่องทองคำ ทั้งที่จับได้จากผู้ร้ายและที่กรมศิลปากรเก็บขึ้นได้เอง ณ กรมศิลปากร

วันที่ 8 ตุลาคม 2500 เวลา 11.00 น. นำตู้ที่ซ่อมเสร็จแล้วไปจังหวัดอยุธยา ตู้ไปถึงสถานีตำรวจอยุธยาเวลา 14.00 น. เศษได้ให้ช่างไม้ที่นำไปจากกรุงเทพฯ ด้วย 3 คน ปรับซ่อมลูกกรงเหล็กของสถานีตำรวจซึ่งเดิมเป็นห้องขังผู้ต้องหา เพื่อนำตู้เข้าไปไว้ในลูกกรงเหล็กนั้น และจะได้จัดตั้งของทั้งหมดไว้ที่สถานีตำรวจอยุธยาจนกว่าจะเสร็จคดี ได้ซ่อมลูกกรงอยู่จนถึงเวลา 1.00 น. ของวันที่ 9 ตุลาคม 2500 ก็ยังไม่เสร็จ พักงานชั่วคราว

เช้าวันที่ 9 ตุลาคม 2500 ซ่อมลูกกรงเหล็กต่อไปจนถึง 22.00 น. การซ่อมลูกกรงจึงเสร็จ

กฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้เขียนรายงานฉบับนี้
กฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้เขียนรายงานฉบับนี้ (ภาพข่าวการพบกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะและสมบัติที่มีผู้ลักลอบขุด จากหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย จันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2500

ในวันที่ 8 ตุลาคม ตอนบ่าย ขณะไปถึงสถานีตำรวจ พบผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ที่นั่นด้วย ผมจึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดล้างดินทราบสิ่งของที่กรมศิลปากรเก็บและขุดได้เอง เพื่อทำบัญชีและชั่งน้ำหนักแล้วส่งมอบกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ให้สมาชิกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมฝ่ายหญิงของจังหวัดนั้น มีภริยาผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ช่วยกันชำระล้างสิ่งของแล้วจัดทำบัญชีและชั่งน้ำหนักเมื่อเวลา 20.00 น. เสร็จ 22.00 น. แต่ในระหว่างที่กำลังทำบัญชีอยู่นั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดมีกิจธุระจะต้องเก็บของกลางที่จับได้จากผู้ร้ายจากในลูกกรงเหล็กลงหีบเพื่อนำตู้เข้าลูกกรงไม่สามารถอยู่ทำบัญชีตรวจรับมอบในคืนวันนั้นได้ คงให้แต่ภริยาและผู้กำกับการตำรวจเป็นผู้แทนอยู่ และนัดมอบของในวันรุ่งขึ้น

ดังนั้นเมื่อจัดทำบัญชีและชั่งน้ำหนักของเสร็จแล้ว จึงต้องบรรจุลงหีบเหล็กใส่กุญแจตีตรา มอบให้ผู้กำกับการตำรวจเป็นผู้รักษาของไว้ โดยผมรักษากุญแจ ผู้กำกับการตำรวจรักษาหีบของและตรา

เช้าวันที่ 9 ตุลาคม 2500 เวลา 9.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดให้วัฒนธรรมจังหวัด เป็นผู้แทนมารับมอบของล่วงหน้าก่อน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะตามมาภายหลัง ผมเห็นว่าการทำบัญชีสิ่งของเมื่อวานนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมิได้อยู่ด้วยโดยตลอด คงมีแต่ภริยาผู้ว่าราชการจังหวัดกับกู้กำกับการตำรวจร่วมทำอยู่เท่านั้น ฉะนั้นในตอนที่วัฒนธรรมจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดจะมารับมอบของในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ ควรจะได้รู้เห็นบัญชีและน้ำหนักสิ่งของอีกครั้ง จึงขอให้วัฒนธรรมจังหวัดไปหาเจ้าของร้านขายทองพร้อมทั้งเครื่องชังมาสอบบัญชีอีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้เจ้าของร้านทองและเครื่องชั่งมาแล้ว ก็ได้ตรวจสอบบัญชีและชั่งน้ำหนักใหม่อีกหนนึ่งต่อหน้าผู้ว่าฯ ราชการจังหวัดและผู้กำกับการตำรวจ เสร็จแล้วก็ลงนามผมเป็นผู้ส่งของและวัฒนธรรมจังหวัดเป็นผู้รับของ ในบัญชียึดถือกันไว้คนละฉบับ สิ่งของที่ทำบัญชีในวันนี้มีเครื่องทองคำ เครื่องเงิน เครื่องถ้วยชามและพระพุทธรูปทั้งหมด คงเหลือแต่พระพิมพ์ทำด้วยชินยังทำบัญชีไม่ทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดรับเอาของที่ทำบัญชีแล้วไปเก็บรักษาไว้ทั้งหมด ส่วนพระชินที่ยังไม่ได้ทำบัญชี ฝากผู้กำกับการตำรวจรักษาไว้ก่อน

ทางลงกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
ทางลงกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

เช้าวันที่ 10 ตุลาคม 2500 จึงได้จัดทำบัญชีพระชินมอบให้วัฒนธรรมจังหวัดเซ็นรับเอาไปและในตอนเช้าวันที่ 10 ตุลาคม นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำสิ่งของที่กรมศิลปากรขุดได้เข้าเก็บตั้งไว้ในตู้ภายในลูกกรงเหล็ก เสร็จเวลา 12.00 น. ตอนบ่ายผู้ว่าราชการจังหวัดจะนำของกลางที่จับได้จากผู้ร้ายเข้าตู้อีกครั้งหนึ่ง สิ่งของที่จับได้จากผู้ร้ายนั้นได้จัดทำบัญชีไว้พร้อมแล้ว แต่ทราบจากเจ้าพนักงานสอบสวนปากคำผู้ร้าย ปรากฏว่ายังมีของที่ผู้ร้ายนำไปซุ่มซ่อมหรือจำหน่ายต่อไปแล้ว นอกจากที่มีในบัญชีนั้นอีกมาก คงตามจับได้ของคืนมาประมาณสัก 50-60% ผมเห็นว่าของที่ได้จากผู้ร้ายยังเป็นของกลางที่เกี่ยวข้องกับตำรวจและบ้านเมืองอยู่ จึงมอบให้นายอุ้ย นุตาณัติ หัวหน้าพนักงานศิลปากรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ดูจัดของเข้าตู้แทน แล้วกลับที่พักและเดินทางกลับกรุงเทพฯ เมื่อเวลา 14.00 น.

เฉพาะสิ่งของที่ทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรเก็บขึ้นได้ รวมทั้งหมด 2,121 ชิ้น เฉพาะของที่ทำด้วยทอง เงิน นาก และเพชรนิลจินดา ชั่งน้ำหนักทั้งหมดได้ 10,918 1/2 กรัม ของเหล่านี้ยังไม่ได้ตีราคา และนอกนั้นเป็นพระพุทธรูปสำริด พระพิมพ์ชิน เครื่องใช้โลหะและหิน เครื่องสังคโลกและเครื่องใช้ดินเผา มิได้รวมชั่งน้ำหนักไว้ในจำนวนนี้ ส่วนสิ่งของที่จับได้จากผู้ร้าย เจ้าของและผู้จัดการร้ายขายทองเบ๊ลี่แซ สะพานหัน พระนครได้ช่วยพิจารณา ตีราคาเฉพาะทองรูปพรรณและค่ากำเหน็จอย่างปานกลางไว้เป็นเงิน 1,185,270 บาท

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ

เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ

 

ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ 2 โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558

ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

The post ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 7 ‘ตามรอยโจร’ (ต่อ) appeared first on มติชนออนไลน์.

09.00 INDEX “คำถามพ่วง”กลายเป็น “พิษ”ระหว่าง “กรธ.”กับเหล่าสนช.

$
0
0

ทั้งๆที่การเสนอ “คำถามพ่วง”อันมาจาก “สปท.” และส่งมอบผ่าน “สนช.” ต้องการช่วย “คสช.”
แต่พลันที่ “นำเสนอ” ขึ้นมาก็กลาย “เป็นเรื่อง”
ที่คิดและประเมินว่าจะเป็นองค์ประกอบในการพยุงและสร้างความหมายให้กับ “ร่าง”รัฐธรรมนูญ
ทำท่าว่า อาจไม่เป็นเช่นนั้น

หากตัดความหงุดหงิดอันมาจาก นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารจัดการการเลือกตั้ง-ออกไป
หากตัดความไม่พอใจอันมาจาก นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ และรวมทั้ง นายวิรัช ร่มเย็น แห่งพรรคประชาธิปัตย์-ออกไป
พอมาฟัง นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ก็ต้อง “นะจังงัง”

“ประเด็นคำถามพ่วงให้เป็นหน้าที่สนช.ไปชี้แจงกับประชาชนเองเพราะรู้เหตุผลว่าเหตุใดถึงเสนอคำถามแบบนั้น ส่วนกรธ.ไม่รู้เหตุผลจึงชี้แจงเฉพาะร่างรัฐธรรมนูญ” อันเท่ากับว่า “เวที”ใคร “เวที” มัน
การเคลื่อนไหวก่อน “ประชามติ” ในวันที่ 7 สิงหาคม จึงมิได้มีแต่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่จะออกไปพบ “ประชาชน”
หาก “สนช.” ก็ต้อง “เดินสาย”ด้วย

แม้การเดินสายของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในการชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนเป็นเรื่องที่เข้าใจและเห็นด้วย
เพราะเป็น “ภาระธุระ” ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
แต่ยิ่งฟัง นายอมร วาณิชวิวัฒน์ แถลงในฐานะโฆษกละเอียดและรอบด้านมากยิ่งขึ้นก็เริ่มเกิดความเป็นห่วง
เอาตั้งแต่เรื่อง “ดีเบต”
“เวทีดีเบต กรธ.คิดว่าคงไม่ไปเพราะไม่สะดวก งานกรธ.มีมากอยู่แล้วแค่เดินสายชี้แจงประชาชนงานก็ล้นมืออยู่แล้ว และการไปตีเบตอาจทำให้เกิดปัญหาโต้เถียงกันทำให้เกิดความขัดแย้ง
“ไม่เห็นด้วยที่จะให้คนอื่นที่ไม่ใช่กรธ.มาดีเบตกัน
“เพราะคนที่เข้าใจดีที่สุดคือกรธ. หากคนอื่นมาดีเบตอาจเกิดปัญหาทำให้ประชาชนสับสนได้เพราะเขาไม่เข้าใจเจตนารมณ์อย่างแท้จริง หรืออาจบิดเบือนทำให้ประชาชนเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง”
แล้ว “การเดินสาย” จะดำเนินไปอย่างไร
“เมื่อถึงเวลาลงพื้นที่คิดว่ากรธ.ต้องขอความร่วมมือจากทหารและตำรวจเท่าที่จำเป็นไว้ดูแลพื้นที่ที่เราไปเพื่อให้เกิดความเรียบร้อย”
แถลงของ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ นี้เข้าใจได้

เข้าใจได้จากสถานการณ์ที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประสบมาแล้วเมื่อเดินสายไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เมื่อ “น้องเพนกวิน”กับเพื่อนมาพร้อมกับ “โปสเตอร์”
เมื่อ “จ่านิว” กับเพื่อนใน”ขบวนการประชาธิปไตยใหม่” คึกคักมากับ “โปสเตอร์”
เท่ากับมองเห็นภาพของ “กรธ.”เมื่อ”เดินสาย”ได้

จากเดือนเมษายน ไปยังเดือนพฤษภาคม ไปยังเดือนกรกฎาคม กระทั่งวันที่ 7 สิงหาคม จึงพอมองเห็น “ภาพ” ได้
ภาพของ”กรธ.” ภาพของ”สนช.”
ไม่ว่าจะไปเปิดเวทีในการเดินสายไปยังพื้นที่ใด ก็จะต้องแวดล้อมด้วยกองกำลังทหาร ตำรวจและฝ่ายปกครอง
สะพรึบพรั่ง พร้อมหน้าพร้อมตา
ประชาชนก็จะเข้าแถวนั่งฟังด้วยความพับเพียบ เรียบร้อย ไม่มีปฏิกิริยา ไม่มีการต่อต้าน
หนทาง”ประชามติ”ฉลุยไปจนถึง”7 สิงหาคม”

The post 09.00 INDEX “คำถามพ่วง” กลายเป็น “พิษ” ระหว่าง “กรธ.” กับเหล่าสนช. appeared first on มติชนออนไลน์.

สาวๆยังอาย ! เมื่อคุณยายเข้าประกวด “นางสาวงามบุนพะเหวด”ไชยะบุรี อายุรวมกันแค่เฉียดๆพันปี

$
0
0

แชร์กันสนั่นโซเชียลของเพื่อนบ้านฝั่งโขงอย่าง สปป.ลาว สำหรับภาพชุด “นางสาวงามบุนพะเหวด” ที่ประกวดจบลงไปเมื่อไม่นานมานี้ แต่ความงดงามอ่อนหวานของบรรดา “แม่ตู้” หรือ คุณยาย ผู้เข้าประกวด ยังตราตรึงใจชาวเน็ตจนแชร์ต่อกันไม่หยุด

การประกวด “นางสาวงามบุนพะเหวด” นี้ จัดขึ้นที่บ้านป่ง เมืองไชยะบุรี แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว โดยมีผู้เข้าประกวดรุ่นคุณยายเป็นสีสัน มีการเดินโชว์ความงามบนเวที การชิงมงกุฎ สายสะพาย ไม่ต่างจากประกวดนางงามทั่วไป นับเป็นกิจกรรมสนุกๆที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพราะฝ่ายลูกหลานก็มาชมมาเชียร์ ฝ่ายสาวงามอาวุโสก็ได้ยิ้มหวานอย่างเปี่ยมสุข

สำหรับ บุนพะเหวด นี้ ชาวไทยในภาคอีสาน เรียกว่า  บุญผะเหวด หรือบุญพระเวสส์ (มาจาก พระเวสสันดร) เป็นส่วนหนึ่งของงานบุญใน ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ในวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ในภาคกลางก็คือ การเทศน์มหาชาตินั่นเอง

ภาพจากเฟซบุ๊ก ປະກາດ Pakaad

บรรยากาศการประกวดนางงามบุนพะเหวดยามค่ำคืนอันแสนคึกคัก
บรรยากาศการประกวดนางงามบุนพะเหวดยามค่ำคืนอันแสนคึกคัก

 

คุณยายยิ้มอ่อนด้วยความเขินกับตำแหน่งผู้ชนะเลิศในการช่วงชิงมงกุฎ
คณยายยิ้มอ่อนด้วยความเขินกับตำแหน่งผู้ชนะเลิศในการช่วงชิงมงกุฎ
ถึงแม้ได้แค่รองชนะเลิศ แต่ก็สวยไม่เป็นรองใคร ได้ดอกไม้ด้วยนะ
ถึงแม้ได้แค่รองชนะเลิศ แต่ก็สวยไม่เป็นรองใคร ได้ดอกไม้ด้วยนะ
ไม่ได้มง ฯ ไม่มีดอกไม้ แต่สายสะพาย ยายก็มี !
ไม่ได้มง ฯ ไม่มีดอกไม้ แต่สายสะพาย ยายก็มี !
วินาทีรับตำแหน่ง
วินาทีรับตำแหน่ง ดอกไม้มาเป็นพาน
ภาพคู่หนุ่ม
ภาพคู่หนุ่ม

 

The post สาวๆยังอาย ! เมื่อคุณยายเข้าประกวด “นางสาวงามบุนพะเหวด” ไชยะบุรี อายุรวมกันแค่เฉียดๆพันปี appeared first on มติชนออนไลน์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ : ชุดประจำชาติที่เพิ่งสร้างใหม่

$
0
0

ไทยเป็นอาณานิคมทางอ้อม ความทันสมัยของไทยจึงเป็นไปตามแบบของประเทศในอาณานิคม
ชุดไทยดั้งเดิมไม่เคยมี เพิ่งมีสมัยหลังๆ เมื่อปลุกสำนึกชาตินิยมหลังเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยาม เป็นไทย สมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม ราว พ.ศ. 2482
มีผู้รู้ตั้งข้อสังเกตว่าชุดไทยมีขึ้นเลียนแบบชุดประจำชาติของประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น เมื่อประกาศอิสรภาพแล้วต่างแสวงหาอัตลักษณ์เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวร่วมกัน ซึ่งง่ายที่สุดและเร็วที่สุดคือสร้างชุดประจำชาติ

ไทยอวดอ้างว่าไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นชาติตะวันตก แต่มีปมอย่างเดียวกับพวกตกเป็นเมืองขึ้น เลยต้องสร้างชุดไทยไว้ยึดเหนี่ยวด้วย
ขณะเดียวกันก็ขายได้ในตลาดการท่องเที่ยว ซึ่งเท่ากับเล่นละครย้อนยุคเพื่อการตลาด

ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย เน้นว่า สยาม คือ ไทย
ถ้าจริงตามนี้ เครื่องแต่งกายเก่าสุดของไทยก็นุ่งถุงหรือโสร่งทั้งหญิงและชาย โดยมีดอกไม้และใบไม้เป็นอุบะประดับบนหัว พบในภาพสลักเสียมกุกที่ปราสาทนครวัด ราว พ.ศ. 1650 (ก่อนมีรัฐสุโขทัยเกือบร้อยปี)

แต่หลักฐานวิชาการรอบด้าน ยืนยันสอดคล้องกันว่าชาวสยามประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ร้อยพ่อพันแม่ ไม่ใช่ไทยพวกเดียว แต่มีภาษากลางใช้สื่อสารกันด้วยภาษาไทย (หรือไท-กะได, ไทย-ลาว)
เครื่องแต่งตัวของคนทุกชาติพันธุ์ เป็นไปตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มที่มีต่างกัน ตั้งแต่ต่างกันเล็กน้อย จนถึงต่างกันมาก

ทั้งหมดไม่ใช่ชุดประจำชาติ เพราะยุคนั้นไม่มีสำนึกรัฐชาติ

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : ชุดประจำชาติที่เพิ่งสร้างใหม่ appeared first on มติชนออนไลน์.


ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 8 ‘ค้นพบจิตรกรรม’

$
0
0

เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ.2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯทุกวันนี้

พระราชวังโบราณ อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง
กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต

ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีก ครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว

เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน”

สุจิตต์เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง
เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ รวมถึงภาพจิตรกรรมล้ำค่า จากนั้นได้หาทางทำอุโมงค์และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชน ยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านบทความของนักวิชาการด้านโบราณคดีที่รวมสรรพกำลังทางวิชาความรู้มาร่วม กันวิเคราะห์ตีความวัตถุล้ำค่ามากมาย โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว ซึ่ง “มติชน” จะทยอยทำเสนอเป็นตอนๆ ดังเนื้อหาต่อไปนี้

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

การค้นพบจิตรกรรมไทยครั้งใหม่

โดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
คณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

หลายเดือนมาแล้ว ข้าพเจ้าได้เขียนคำนำ ลงในหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธรูปสมัยต่างๆของไทย ชื่อ “THAI MONUMENTAL BRONZES” แต่งโดย หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี และนายเขียน ยิ้มศิริ ข้าพเจ้าจึงขอหยิบยกข้อความตอนหนึ่งจากคำนำในหนังือนั้นมากล่าวไว้ ฯ ที่นี้ว่า ความรู้ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์นั้น อาจเปลี่ยนแปรแก้ไขได้ โดยขึ้นอยู่แก่การค้นคว้าและการค้นพบหลักฐานใหม่ ๆ คำกล่าวนี้ ย่อมจะยืนยันได้ด้วยการค้นพบภาพจิตรกรรมฝาผนังและพระพุทธรูปโบราณ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นไว้ เมื่อ ปีพุทธศักราช 1967 (ค.ศ.1424)

การค้นพบครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือมาแต่ก่อนเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยสมัยโบราณ และเกี่ยวกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาอันถือกันว่าเป็น “แบบฉบับแห่งชาติ” (National Style) ที่ได้ทำกันขึ้นในอยุธยานั้น มีอายุถอยหลังไปจากเดิมอีกประมาณ 150 ปี

คำที่เคยกล่าวมาแต่ก่อนว่า จิตรกรรมเขียนฝาผนังของไทยเพิ่งเริ่มต้นและเจริญรุ่งเรืองขึ้นในอยุธยา

ในเวลาที่งานประติมากรรมอยู่ในขั้นเสื่อมแล้วนั้น ย่อมเป็นที่ยืนยันได้จากงานศิลปกรรมที่ได้พบครั้งใหม่นี้ โดยอาศัยวัตถุที่เราค้นพบกัน (ในเวลานั้น) เราจึงกำหนดกันไว้ (แต่ก่อน) ว่าบรรดาภาพเขียนฝาผนังของไทยที่แสดงเรื่องพุทธประวัติและเรื่องชาดกต่างๆ นั้น เพิ่งมีอายุเริ่มแรกเพียงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16) เท่านั้น

จิตรกรรมในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

ครั้นเมื่อได้พบหลักฐานใหม่เป็นการตรงกันข้ามกับที่เราได้เชื่อถือกันมาแต่ก่อน ด้วยว่าการเขียนภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น ได้กระทำกันมาแล้วแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ดังนั้น จึงจำต้องกำหนดอายุเริ่มต้นงานจิตรกรรมของไทย ที่มีองค์ประกอบเป็นภาพรูปคนถอยหลังไปอีกจากเวลาที่เรากำหนดกันไว้แต่เดิมประมาณ 120 ปี

ภาพเขีนนฝาผนังที่น่าชมภายในกรุของพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ เขียนขึ้นเพื่อตกแต่งตัวกรุ 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็ก กว้าง 1.40 เมตร และสูง 2.75 เมตร อยู่ต่ำลงไปจากห้องภายในขององค์พระปรางค์ 3.40 เมตร เหนือพื้นดิน 1.50 เมตร

ส่วนล่างสุดของผนังกรุมีซุ้มคูหาทั้ง 4 ด้าน ในซุ้มคูหานี้ สันนิษฐานว่าสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป 4 องค์
พื้นผนังและซุ้มคูหาตลอดจนพื้นผนงด้านข้างของคูหา มีภาพเขียนรูปคน รูปสัตว์ และลวดลายดอกไม้เต็มไปหมด
เพดานกรุตกแต่งด้วยลายเขียนรูปวงกลมใหญ่ประดับประดาด้วยลายดอกไม้รูปทรงกลมคล้ายดอกมะลิบาน ล้อมรอบด้วยรูปวงกลมปิดทองซึ่งบางวงมีพระพุทธรูปนั่งองค์เล็กๆ เขียนด้วยเส้นสีแดงอยู่ภายในวงกลมปิดทองนั้น

ลวดลายซึ่งช่วยเสริมรูปวงกลมปิดทองให้เด่นนั้น คล้ายเป็นแบบจีนหรือเปอร์เซีย แต่ก็อาจเป็นการบังเอิญมาพ้องกันเข้าก็ได้ เพราะลวดลายแบบนี้เนศิลปะที่นิยมทำกันทั่วไปสำหรับชาวตะวันออก
(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ 2 โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558

ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สภาพภายในพระปรางค์วัดราชบูรณะ ซึ่งมีคนร้ายลักลอบขุดกรุได้สมบัติมหาศาล เมื่อ พ.ศ. 2499
สภาพภายในพระปรางค์วัดราชบูรณะ ซึ่งมีคนร้ายลักลอบขุดกรุได้สมบัติมหาศาล เมื่อ พ.ศ. 2499

 

The post ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 8 ‘ค้นพบจิตรกรรม’ appeared first on มติชนออนไลน์.

ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 9 ‘ค้นพบจิตรกรรม’ (ต่อ)

$
0
0

เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ.2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯทุกวันนี้

พระราชวังโบราณ อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง
กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต

ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีก ครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว

เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน”

พระปรางค์วัดราชบูรณะ
พระปรางค์วัดราชบูรณะ

สุจิตต์เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง
เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ รวมถึงภาพจิตรกรรมล้ำค่า จากนั้นได้หาทางทำอุโมงค์และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชน ยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านบทความของนักวิชาการด้านโบราณคดีที่รวมสรรพกำลังทางวิชาความรู้มาร่วม กันวิเคราะห์ตีความวัตถุล้ำค่ามากมาย โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว ซึ่ง “มติชน” จะทยอยทำเสนอเป็นตอนๆ ดังเนื้อหาต่อไปนี้

การค้นพบจิตรกรรมไทยครั้งใหม่ (ต่อจากตอนที่แล้ว)

โดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
คณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

โครงการระบายสี (Colour scheme) ของภาพจิตรกรรมเป็นสีแดงเสน (Vermllion) พื้นหลังของภาพเป้นสีแดงเสนอ่อน สลับด้วยสีเดียวกันซึ่งเป็นสีแดงแก่เพื่อหนุนให้ภาพเด่นชัดด้วยน้ำหนักอ่อนแก่ของสี สีขาว สีดำ และทอง ช่วยทำให้สีของภาพชดขึ้น แม้ประสิทธิภาพของสีจะมีมาก แต่โครงการระบายสีก็ยังดูเป็นน้ำหนักของสีเอกรงค์ (Monochrome) อันเป็นสัญลักษณ์อย่างเดียวกับภาพเขียน (อีกแห่งหนึ่ง) ในวัดเดียวนี้ และที่วัดมหาธาตุอันตั้งอยู่ใกล้ๆ ซึ่งนายเฟื้อ หริพิทักษณ์ ทำการคัดลอกอย่างประณีตรักษาแบบของเดิมที่สุด เมื่อหกปีมาแล้ว หลังจากนั้น ภาพจิตรกรรมในพระเจดีย์องค์เล็กในวัดราชบูรณะก็สูญไป เพราะองค์เจดีย์พังทลายลงเสียแล้ว

กรุที่ค้นพบใหม่นี้ บรรจุเครื่องทองไว้มากมายหลายอย่างด้วยกัน บรรดาของเหล่านี้ต้องเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ทรงอุทิศถวายไว้เป็นอนุสรณ์ในการสร้าววัดนี้อย่างไม่ต้องสงสัย

นิทรรศการพิเศษ "เครื่องทองอยุธยา มรดกของโลก มรดกของแผ่นดิน" ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ ถึง 5 ธันวาคม 2559
นิทรรศการพิเศษ “เครื่องทองอยุธยา มรดกของโลก มรดกของแผ่นดิน” ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ ถึง 5 ธันวาคม 2559

ลองสร้างมโนภาพดูว่า ภาพเขียนบนฝาผนังกรุ ซึ่งมีโครงการระบายสีเป็นสีแดงเสนสดนั้น ช่วยขับเครื่องทองอันมีประกายกล้าอยู่แล้ว ให้ดูสดใสขึ้นอย่างมหัศจรรย์เพียงใด

ลองสร้างมโนภาพดูว่า ภาพเขียนบนฝาผนังกรุ ซึ่งมีโครงการระบายสีเป็นสีแดงเสนสดนั้น ช่วยขับเครื่องทองอันมีประกายกล้าอยู่แล้ว ให้ดูสดใสขึ้นอย่างมหัศจรรย์เพียงใด แม้จะไม่มีใครมีโอกาสได้เข้าไปเห็นสิ่งอันน่าคลั่งไคล้ไหลหลงนี้ด้วยตาตนเอง เพราะกรุซึ่งสร้างด้วยแลงนี้อยู่ลึกลงไป (จากระดับบน) ถึง 3.40 เมตรก็ตาม
ข้อนี้ชี้ให้เห็นอีกด้วยว่าศิลปินไทยครั้งโบราณนั้น ถึงจะเขียนภาพไว้ในสถานที่ซึ่งไม่มีผู้ใดมีโอกาสได้เห็นหรือชมเชยผลงานของท่านเลย ก็คงทำงานของท่านเพื่ออุทิศถวายและเชิดชูพระกิตติคุณของพระบรมศาสดาเท่านั้น

ฝาผนังกรุแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน คือ ตอนล่าง แบ่ง 4 ชั้น หรือ 4 แถว ตอนบนแบ่งส่วนเกือบจะเท่าๆกัน เป็น 4 ชั้นหรือ 4 แถว แถวบนสุดเป็นรูปพระพุทธนั่งเรียงกันไปมีศาสนิกชนนั่งไหว้คั่นอยู่ข้างๆ จะเห็นว่ารูปวงพระรัศมีของพระพุทธรูปนั้นมนรีเป็นแบบอินเดีย (ส่วน) วงพระรัศมีที่คลี่คลายมาจนเป็นแบบสมบูรณ์ของไทยนั้นมีทรงเป็นรูปกลีบบัว
รูปพระพุทธในกรุนี้ซึ่งนั่งเรียงแถวซ้ำแบบกัน เวียนรอบไปตลอดด้านของผนังกรุตอนบนนั้น ก็เป็นแบบเดียวกันกับภาพจิตรกรรมในองค์พระเจดีย์วัดราชบูรณะและวัดมหาธาตุที่กล่าวแล้วข้างต้น แถวกลางสองแถวของตอนบน แบ่งออกเป็นช่องๆ หลายช่องด้วยภาพเขียนเป็นลวดลายดอกไม้และโครงสร้างซึ่งลวดลายองค์ประกอบในช่องนั้นๆ เขียนเป็นภาพแสดงเรื่องพุทธประวัติ จัดเป็นส่วนเอกเทศ กล่าวคือ มิได้เขียนขึ้นโดยสมส่วนของปริมาตรและความเสมอภาคกันของขนาดรูป

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ 2 โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558

ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

วัดราชบูรณะ

 

กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

จิตรกรรมวัดราชบูรณะ

 

 

The post ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 9 ‘ค้นพบจิตรกรรม’ (ต่อ) appeared first on มติชนออนไลน์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ : รดน้ำ, สาดน้ำ สงกรานต์ วัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์

$
0
0

สาดน้ำสงกรานต์ ไม่มีในอินเดีย และไม่เกี่ยวกับประเพณีโฮลีสาดสีของอินเดีย
แต่เป็นพฤติกรรมสร้างใหม่จากรดน้ำขอขมาประเพณีพื้นเมือง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์
พฤติกรรมสาดน้ำอย่างก้าวร้าวรุนแรง มีผู้รู้อธิบายว่าน่าจะเริ่มขึ้นก่อนจากพม่าเพื่อต่อรองทางการเมืองกับอังกฤษเจ้าอาณานิคม
แล้วแพร่หลายไปที่ต่างๆ โดยรอบ จนมาถึงไทยบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเมื่อไม่นานมานี้
แต่น่าจะมีต้นเค้าจากประเพณีอื่นอีก ที่ควรสืบค้นต่อไปให้กว้างกว่านี้

รดน้ำขอขมา เป็นประเพณีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ของสุวรรณภูมิในอาเซียน (ก่อนรับสงกรานต์ของแขกพราหมณ์จากอินเดีย)
รดน้ำ หมายถึงตักน้ำรดราดขอขมากันอย่างนอบน้อมในระบบเครือญาติ ให้ชุ่มฉ่ำร่มเย็นหลังฤดูเก็บเกี่ยว เป็นประเพณีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ของอุษาคเนย์ มีอยู่ก่อนรับคติสงกรานต์จากพิธีพราหมณ์อินเดีย หลังจากนั้นถึงผนวกรดน้ำตามประเพณีพื้นเมืองเป็นส่วนหนึ่งของสงกรานต์
ประเพณีรดน้ำ บางท้องถิ่นเรียกรดน้ำดำหัว เป็นอย่างเดียวกับอาบน้ำผู้เฒ่าผู้แก่ ถ้าทำกับพระพุทธรูปเรียกสรงน้ำพระ ครั้นทำกับพระสงฆ์เรียกรดสงฆ์ หรือรดสรง (ทางลาวเรียกฮดสง)

น้ำเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต จึงเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ระดับสากล ดังนั้นคนทั้งโลกใช้น้ำในพิธีกรรม

The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : รดน้ำ, สาดน้ำ สงกรานต์ วัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์ appeared first on มติชนออนไลน์.

เลอค่า ! ตัดสินแล้ว “นางสังขาน” หลวงพระบาง ผู้บ่าวโอด เบอร์ 13 ตัวเก็ง พลาด (ชมภาพชุด)

$
0
0

คึกคักอย่างยิ่งสำหรับการประกวด “นางสังขาน” หรือนางสงกรานต์ ที่เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง ที่มีการคัดเลือกผู้เข้าประกวดจนเหลือ 30 คนสุดท้าย ก่อนจะขึ้นเวทีใหญ่ถึง 2 วัน คือ วันที่ 10 เมษายน ซึ่งเป็นการเปิดตัวเดินให้กรรมการชมโฉมในชุดประจำชาติด้วยผ้าไหมอันงดงามล้ำค่า

จากนั้นในคืนวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา จึงเข้าสู่รอบ 7 คนสุดท้าย ซึ่งเป็นจำนวนของธิดาท้าวกบิลพรหม ตามตำนานมหาสงกรานต์นั่นเอง โดยในรอบนี้สาวงามผู้ผ่านเข้ารอบต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการอีกด้วย โดยผู้คว้าตำแหน่งนางสังขานหลวงพระบาง พ.ศ.2559 ได้แก่ นางสาวมุกทิดา สิลิวง หมายเลข 25 ซึ่งอาจนับเป็นม้ามืดก็ว่าได้

ส่วนหมายเลข 13 ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวเก็งที่มีผู้บ่าวชาวลาวเชียร์ล้นหลาม พลาดตำแหน่งไป บางรายวิเคราะห์ว่า อาจเพราะยังดูเหมือนเด็กน้อยที่ยังไม่โตเป็นสาวสะพรั่งอย่างเต็มที่ แม้หน้าตาจะน่ารักสะดุดใจ แต่ยังไม่เหมาะกับการเป็นนางสังขานในปีนี้

สำหรับผู้ที่เข้ารอบทั้ง 7 ราย จะได้เป็นธิดาท้าวกบิลพรหมหรือที่เรียกต่อมาว่านางสงกรานต์ หรือนางสังขาน ร่วมในขบวนพิธีที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 14 เมษายนนี้

การประกวดดังกล่าว คนลาวให้ความสนใจกันมาก การประกวดจัดอย่างยิ่งใหญ่ มีการแสดงทางวัฒนธรรมหลายชุด เช่น ฟ้อน “พระลักพระลาม” ซึ่งเป็นวรรณกรรมชิ้นสำคัญของลาว ที่ได้รับอิทธิพลจากเรื่องรามเกียรติ์

นอกจากนี้ก่อนค่ำคืนตัดสิน ยังมีการเชิญชวนให้ร่วมทายผล ชิงรางวัลถึง 1 ล้านกีบอีกด้วย

ภาพถ่ายจากเฟซบุ๊ก Luang Prabang Moradok, ປະກາດ Pakaad 

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

นางสังขาน หลวงพระบาง

 

The post เลอค่า ! ตัดสินแล้ว “นางสังขาน” หลวงพระบาง ผู้บ่าวโอด เบอร์ 13 ตัวเก็ง พลาด (ชมภาพชุด) appeared first on มติชนออนไลน์.

เริ่มแล้ว ! สงกรานต์เพื่อนบ้าน พม่า กัมพูชา ลาว ฉลองปีใหม่ ‘อุษาคเนย์’คึกคัก (ประมวลภาพ)

$
0
0

วันที่ 12 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเทศกาลสงกรานต์ในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา ว่าเริ่มมีการเล่นสาดน้ำกันในบางพื้นที่ เช่น “บ้านกวาง” เชียงตุง ในรัฐฉาน ประเทศพม่า ซึ่งประกอบด้วยชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ส่วนใหญ่เป็น ชาวไทเขิน หรือไทขึน ชาวบ้านได้นำน้ำใส่ภาชนะมาดักรอสาดผู้สัญจรไปมาบริเวณริมถนนในหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่ภาพโปสเตอร์ภาษาไทเขิน ซึ่งมีรูปแบบคล้ายคลึงอักษรธรรมล้านนาทางภาคเหนือของไทย มีภาพการ์ตูนแต่งกายในชุดพื้นเมือง และข้อความเช่น

“สุขบานหวานใจ ปีใหม่แก้ว พญาวันมา” และ “ปีใหม่สงกรานต์ ชื่นบานหัวใจ ประเวณีไทขึน” เป็นต้น

การเล่นน้ำสงกรานต์ที่บ้านกวาง เชียงตุง รัฐฉาน พม่า (ภาพจาก เฟซบุ๊ก kengtung)
การเล่นน้ำสงกรานต์ที่บ้านกวาง เชียงตุง รัฐฉาน พม่า (ภาพจาก เฟซบุ๊ก kengtung)
โปสเตอร์สงกรานต์ของชาวไทเขินหรือไทขึนที่เชียงตุง รัฐฉาน พม่า
โปสเตอร์สงกรานต์ของชาวไทเขินหรือไทขึนที่เชียงตุง รัฐฉาน พม่า

ในขณะที่ ประเทศกัมพูชา มีการประดับซุ้มประตูพร้อมข้อความต้อนรับ “ฉนำ (ปี) วอก” พร้อมไฟหลากสีในบริเวณวงเวียนบนถนนสายใหญ่ที่ใช้ในการสัญจร สร้างบรรยากาศความสวยงามในเวลากลางคืน รวมถึงซุ้มประตูในจุดอื่นๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ โดยมีข้อความอักษรเขมรว่า “อังกอร์สงกรานต์” โดยมีผู้สวมใส่ชุดแมสคอตลิง สัญลักษณ์ของปีวอก 2 ตัว ลักษณะคล้ายหนุมาน เชิญชวนฉลองสงกรานต์อย่างมีวัฒนธรรม อีกทั้งมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นสงกรานต์อย่างเหมาะสมผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์กในหมู่ชาวกัมพูชาผ่าน เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Angkor Sangkranta’ อีกด้วย

มาสคอตลิงประจำ "ฉนำ(ปี)วอก"ของกัมพูชา
แมสคอตลิงประจำ “ฉนำ(ปี)วอก” ของกัมพูชา

ส่วนใน สปป.ลาว มีการเตรียมพร้อมตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีการจัดการประกวด “นางสังขาน หลวงพระบาง” ซึ่งเป็นงานใหญ่ของเมืองมรดกโลกดังกล่าว เพื่อคัดเลือกสาวงาม 7 คน เท่ากับจำนวนธิดาท้าวกบิลพรหมในตำนานมหาสงกรานต์ ร่วมขบวนพิธีที่จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 14 เมษายนนี้ โดยเพิ่งมีการตัดสินและมอบตำแหน่งไปเมื่อคืนวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา

นอกจากหลวงพระบางแล้ว ในจังหวัดอื่นๆ ของ สปป.ลาว ก็มีการจัดการประกวดเช่นกัน เช่น ในแขวงบอลิคำไซ ซึ่งนอกจากประกวดนางสังขานแล้ว ยังมีการประกวดท้าวธัมมะบานกุมมาน (ธรรมบาลกุมาร) อีกด้วย ถือเป็นการสร้างสีสันให้เทศกาลสงกรานต์ในปีนี้

การประกวด "ท้าวธัมมะบาลกุมมาน" ที่แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว คู่กับการประกวดนางสังขาน
การประกวด “ท้าวธัมมะบานกุมมาน” ที่แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว คู่กับการประกวดนางสังขาน

ด้านบรรยากาศทั่วไป มีการนำอุปกรณ์สำหรับเล่นน้ำออกจำหน่ายตั้งแต่ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น ปืนฉีดน้ำรูปแบบต่างๆ รวมถึงเสื้อผ้าสีสันสดใส และหน้ากาก ซึ่งวัยรุ่นนิยมสวมใส่ระหว่างเล่นสงกรานต์ที่มีการเปิดเพลงเต้นอย่างสนุกสนาน อีกหนึ่งสินค้าขายดี คือซองพลาสติกกันน้ำสำหรับใส่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งบริษัทเอกชนบางแห่งใน สปป.ลาวมีการเชิญชวนให้เล่นเกมเพื่อรับแจกซองดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ “เมาบ่ขับ” ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยนำภาพอุบัติเหตุในช่วงสงกรานต์มาเผยแพร่พร้อมข้อความว่า “สะหลอง (ฉลอง) ปีใหม่อย่างมีสติ อย่าให้ความมึนเมาเอาชีวิตท่านไป มีสติทุกครั้งก่อนขับขี่ เมาบ่ขับ”

เฟซบุ๊กในสปป.ลาว รณรงค์ "เมาบ่ขับ"
เฟซบุ๊กใน สปป.ลาว รณรงค์ “เมาบ่ขับ”

ประมวลภาพบรรยากาศที่ “เชียงตุง” รัฐฉาน พม่า

สงกรานต์เชียงตุง

สงกรานต์เชียงตุง

สงกรานต์เชียงตุง

โปสเตอร์สงกรานต์ไทขึนที่เชียงตุง
โปสเตอร์สงกรานต์ไทขึนที่เชียงตุง เขียนว่า “ปีใหม่สงกรานต์ ชื่นบานหวานใจ ประเวณีไทขึน”

กัมพูชา

ภาพจากสำนักข่าวkampucheathmey Daily ของกัมพูชา
ภาพจากสำนักข่าว Kampucheathmey Daily ของกัมพูชา

สงกรานต์กัมพูชา

มาสคอต "อังกอร์ สงกรานต์" ของกัมพูชา
แมสคอต “อังกอร์ สงกรานต์” ของกัมพูชา ภาพจากเฟซบุ๊ก “Angkor Sangkranta”

มาสคอตกัมพูชา

มาสคอตลิง

ลาว

การประกวดนางสังขานที่แขวงบอลิคำไซ
การประกวดนางสังขานที่แขวงบอลิคำไซ (ภาพจากเฟซบุ๊ก Pakaad)

 

นางสังขาน บอลิคำไซ

นางสังขานบอลิคำไซ

ขวัญใจช่างภาพ ในการประกวดนางสังขานที่แขวงบอลิคำไซ
ขวัญใจช่างภาพ ในการประกวดนางสังขานที่แขวงบอลิคำไซ

 

ผู้คว้าตำแหน่ง "นางสังขานหลวงพระบาง" 2016 เมื่อคืนวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา
ผู้คว้าตำแหน่ง “นางสังขานหลวงพระบาง” 2016 เมื่อคืนวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา (ภาพจากเฟซบุ๊ก Luang Prabang Moradok และ ปะกาด)

 

 

 

 

The post เริ่มแล้ว ! สงกรานต์เพื่อนบ้าน พม่า กัมพูชา ลาว ฉลองปีใหม่ ‘อุษาคเนย์’ คึกคัก (ประมวลภาพ) appeared first on มติชนออนไลน์.

Viewing all 1000 articles
Browse latest View live