หมอลำหมอแคน เป็นการแสดงคู่กัน มีความเป็นมาปลอดจากอำนาจวัฒนธรรมราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงมีเสรีเต็มที่ แล้วมีช่องเปิดกว้างรับแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อปรับเปลี่ยนตัวเองเคลื่อนไหวไปกับวัฒนธรรมป๊อบ ในโลกทุนนิยม ดูวอยซ์ทีวี มีคุยกันเรื่องหมอลำ (ค่ำวันศุกร์ที่ 14 เมษายน 2560) แล้วมีกังวลหลายอย่าง เลยเล่าให้ฟังเพิ่มเติมเพื่อเปิดช่องอภิปรายต่อไปไม่ยุติ หมอลำหมอแคน หมอลำเป็นการแสดงอย่างหนึ่งคู่กับหมอแคนในวัฒนธรรมลาว แพร่หลายในหมู่ผู้คนพูดลาว (หรือปากลาว) ละแวกสองฝั่งโขงบริเวณประเทศลาว และภาคอีสานของไทย หมอลำ หมายถึง ผู้ชำนาญการลำเป็นทำนอง ประกอบด้วย คำลาว 2 คำ คือ หมอ หมายถึง ผู้ชำนาญ, ลำ หมายถึง คำคล้องจองมีทำนองไม่กำหนดความยาวตายตัว คำชุดนี้แพร่หลายบริเวณสองฝั่งโขง ตั้งแต่เวียงจันลงไปรวมอีสานของไทย (ถ้าเหนือเวียงจันขึ้นไปถึงหลวงพระบางและล้านนา เรียกช่างขับ ไม่เรียกหมอลำ) หมอแคน หมายถึง ผู้ชำนาญการเป่าแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของภูมิภาคอุษาคเนย์ ทั้งแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ (ไม่เฉพาะลาว) หมอลำผีฟ้า หลายพันปีมาแล้ว หมอลำหมอแคน มีต้นเค้าเก่าแก่จากหมอขวัญหมอแคนในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของบรรพชนคนทุกชาติพันธุ์อุษาคเนย์ พบหลักฐานเก่าสุดที่เวียดนาม เป็นเครื่องมือสำริด อายุ 2,500 […]
The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : หมอลำโกอินเตอร์ เพราะมีเสรีทางวัฒนธรรม appeared first on มติชนออนไลน์.