พระเจ้าอู่ทอง (ในตำนานสร้างอยุธยา) หมายถึงผู้นำกลุ่มชนชาวสยาม บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตก มีความสัมพันธ์เกี่ยวดองเป็นเครือญาติทางวัฒนธรรมกับกลุ่มชนลุ่มน้ำโขง [มีหลักฐานหลายอย่าง เช่น ตำนาน, พงศาวดาร, วรรณกรรม, โดยเฉพาะสำเนียงภาษา เช่น สำเนียงเหน่อแบบหลวงพระบาง ฯลฯ ผมเคยอธิบายรายละเอียดพร้อมหลักฐานต่างๆ อยู่ในหนังสือ สุพรรณบุรีมาจากไหน? (กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2557 หน้า 92-202)] อู่ทอง เป็นชื่อวีรบุรุษในตำนาน ไม่มีตัวตนจริง แต่นักปราชญ์สมัยก่อนๆ และนักวิชาการสมัยหลังๆ พยายามตีความแล้วอธิบายสืบกันต่อมาว่าอู่ทองหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้นั้นโน้น ชาวสยาม หมายถึงคนหลายชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาต่างๆ แต่สื่อสารกันด้วยภาษากลาง ได้แก่ ตระกูลภาษาไต-ไท (เรียกภายหลังว่าภาษาไทย) หลักฐานเก่าสุดกล่าวถึงชาวสยาม เป็นจารึกอักษรเขมร ว่า เสียมกุก (แปลว่า สยามก๊ก หรือ ก๊กสยาม) บนภาพสลักขบวนแห่ที่ระเบียงปราสาทนครวัด ราว พ.ศ. 1650 ภาษาและวัฒนธรรมไต-ไท มีฐานกำลังอยู่ตอนบนของภูมิภาค หรือทางจีนตอนใต้ ต่อมาตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1600 ได้ขยายอำนาจทางการเมืองของภาษาและวัฒนธรรมไต-ไท ออกไปในอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล […]
The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : เวียงเหล็ก วัดพุทไธศวรรย์ (3) ชุมชนชาวสยาม สำเนียงเหน่อ ร่วมสร้างอยุธยา appeared first on มติชนออนไลน์.