กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีประสบการณ์ไม่มากในการแบ่งปันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารวิชาความรู้ทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์โบราณคดีมานุษยวิทยา เลยทำไม่เป็นว่า ประเด็นไหนควรเป็นข่าวใหญ่ลงหน้าแรกทุกฉบับ? อะไรควรแถลงไม่ควรแถลง? อะไรเป็นข่าวไม่เป็นข่าว? ฯลฯ บางทีก็สักแต่ว่าทำๆ แจกๆ ข่าวออกไปให้พ้นๆจึงไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่รู้กันทั่วไปแล้ว แต่แท้จริงเป็นเรื่องสำคัญและสำคัญมากทุกเรื่อง ซึ่งคนทั่วไปไม่รู้ ที่ว่ารู้กันแล้วก็เฉพาะในหมู่ข้าราชการใน วธ. ที่เกี่ยวข้องงานนั้นๆ เท่านั้น ไม่ใช่ชาวบ้านทั่วไปซึ่งยังไม่รู้และอยากรู้ เลยส่งผลกระทบจนเป็นปัญหาการทำข่าวของสื่อบางสำนัก [จะว่ากันไป ที่ว่ารู้ในหมู่ข้าราชการ วธ. ก็ไม่แน่อีกนั่นแหละ] แบ่งปันความรู้ การแบ่งปันความรู้แล้วเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างง่ายๆ ให้กว้างขวาง ต้องทำซ้ำๆ ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วเลิกไปไม่ทำอีก (ดังราชการไทยชอบอ้างว่าเคยทำแล้ว แต่ทำแล้วน่ะเมื่อปีก่อนๆ) นอกจากทำซ้ำต่อเนื่องสม่ำเสมอแล้ว ยังต้องเชื้อเชิญและชักชวนสื่อนานาประเภทร่วมด้วยช่วยกันแบ่งปันเผยแพร่ด้วยแง่มุมต่างๆ อย่างหลากหลายไม่จำกัด เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวด้วยมุมมองต่างกันไปตามประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เพราะความรู้ไม่มีสำเร็จรูปชุดเดียว ถ้าเป็นอย่างนั้นเรียกแช่แข็งความรู้แบบสังคมเผด็จการ ถ้าปิดปากข้าราชการ (ที่ทำงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม) ห้ามให้สัมภาษณ์สื่อ (ที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองแล้วมีคำถาม และไม่รอข่าวแจกของ วธ.) ก็ไม่ต่างจากสังคมเผด็จการฟาสซิสม์คอมมิวนิสต์ที่ไทยเคยประณามอย่างสาหัสยุคสงครามเย็น ข่าวแจก ข่าวแจกสื่อของ วธ. เน้นประชาสัมพันธ์การแสดงตัวของรัฐมนตรี, ปลัดกระทรวง, อธิบดี ส่วนที่เป็นงานเป็นการเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ […]
The post สุจิตต์ วงษ์เทศ : วัฒนธรรมในอดีต ไม่มีอนาคต เพื่อปัจจุบัน appeared first on มติชนออนไลน์.