เหรียญที่ระลึก ตามความหมายสากล หมายถึง เหรียญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก หรืออนุสรณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองในเวลานั้นๆ ในประเทศไทย มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ ปี 2399 เริ่มจากการผลิตด้วยมือตามกรรมวิธีที่ใช้ในประเทศอังกฤษสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 2 ด้วยการตีโลหะเงินเป็นแผ่นแบนๆ แล้วตัดชิ้นทรงกลมให้ได้ขนาดแฃะน้ำหนักตามต้องการ จากนั้นตีตราประทับ ส่วนเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของไทย เริ่มผลิตในรัชกาลที่ 4 เช่นกัน เมื่อ พ.ศ.2407 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “เหรียญแต้เท้งทงป้อ” อันหมายถึง เงินตราของแต้เม้งที่เป็นพระปรมาภิไธยของพระองค์ โดยได้แบบอย่างมาจากเหรียญญวนของพระเจ้ามินทาง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการผลิตเหรียญที่ระลึกอย่างงดงามในหลายโอกาส รวมถึงการผลิตเหรียญที่ระลึกในงานพระศพเจ้านายเป็นครั้งแรก โดยมีรูปลักษณ์เป็นเงินพดด้วง เพื่อเป็นที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระองค์เจ้าหญิงกมลสุขสวัสดิ์ ในเจ้าจอมมารดาห่วง ณ เมรุวัดสระเกศ เมื่อวันที่ 15 ก.พ. พ.ศ.2419 หลังจากนั้นมีการสร้างเหรียญที่ระลึกในงานพระเมรุท้องสนามหลวงอีกหลายครั้ง จนกระทั่งเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ.2453 รัชกาลที่ 6 จึงทรงมีพระราชดำริให้นำเหรียญเงิน 1 บาท […]
The post เผยภาพตลับเงินเหรียญงานพระบรมศพ ร.5 พร้อมประวัติการสร้างเหรียญที่ระลึกในสยาม appeared first on มติชนออนไลน์.